เสวนาภายในงาน Good Society Day ‘Connect The Good Dots: งานรวมพลคนสร้างสังคมดี’ ที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม ‘GOOD Society Thailand’ ระหว่างวันที่ 22 ถึง 23 มีนาคม 2567 ภายในงานมีคนทำงานภาคสังคมมาร่วมแชร์ประสบการณ์กันอย่างเข้มข้น หลักใหญ่ใจความที่ทุกคนคิดเห็นตรงกัน คือปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกคนสามารถขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันได้แม้ไม่ใช่ภายใต้หมวกใบเดียวกัน เพื่อให้จุดเล็กๆ เหล่านี้ กลายเป็น ‘The Good Dots’ ที่ใหญ่ขึ้น ทำอะไรได้มากขึ้นกว่าที่เคย
MFEC ผู้ให้บริการด้านไอทีชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลเครือข่ายและธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมเดินหน้าสู่ความท้าทายใหม่ ด้วยการผสานจุดแข็งแต่ละแผนกภายในองค์กร พร้อมจับมือบริษัทในเครือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมากตฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยี ภายใต้คอนเซปต์ ‘Synergy Blending differences to Grow.’ โดยตั้งเป้าตั้งเป้าฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี
ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ทุกๆ คน คงจะได้ยินคำศัพท์ยอดฮิตอย่าง ‘Soft Power’ ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘สัปเหร่อ’ กำลังได้รับความนิยม มีบางคนกล่าวว่า สัปเหร่อ คือ Soft Power ถึงแม้ว่าผู้กำกับจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร? เพื่อไขข้อสงสัยของใครหลายๆ คนกับศัพท์คำนี้ มันมีความหมายจริงๆ หรือ เป็นเพียงแค่ Buzzword ไว้พูดเกร๋ๆ กันแน่ [ ‘Soft Power’ อำนาจอ่อน ] คำว่า Soft Power เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1990 โดย Joseph ...
สำหรับผู้ที่ติดตามแอนิเมชั่นเรื่อง ‘Attack On Titan’ ก็เดินทางมาถึงจุดจบของเรื่องราวกันแล้ว นอกจากความบันเทิง การ์ตูนเรื่องนี้มอบบทเรียนอะไรให้พวกเรากันบ้างนะ [ 10 บทเรียนชีวิตจาก Attack On Titan ] 1.อย่ายอมแพ้ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก “อย่ายอมแพ้ในความยากลำบาก” เป็นคติประจำใจของมังงะโชเน็นหลายๆ เรื่อง แต่ในมุมมองของ Attack On Titan เป็นสิ่งที่สอนพวกเราผ่านเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี ครั้งหนึ่ง เอเรน เคยกล่าวไว้ “ถ้าไม่สู้ จะไม่มีวันชนะ” คนที่ยอมแพ้ทั้งๆ ที่ไม่เคยลองสู้เลยไม่มีทางเข้าใจแม้แต่เศษเสี้ยวของคำว่า ‘ชนะ’ ถึงแม้ว่าความยากลำบากภายในเนื้อเรื่องจะหลุดโลกไปหน่อย แต่มันก็เป็นบทเรียนที่สอนไม่ให้เรายอมแพ้ได้เป็นอย่างดี 2.ไม่มีผู้ชนะในสงคราม “เมื่อเกิดสงครามทุกคนล้วนเป็นฝ่ายแพ้” ...
กลยุทธ์ ‘Market Basket Analysis’ หรือที่ผู้อ่านบางคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ ‘Association Rules กฎแห่งความสัมพันธ์’ มันคือกลยุทธ์หลังบ้านยอดนิยมของซูเปอร์มาร์เก็ต ที่จะทำให้คุณซื้อสินค้าบางชิ้น ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ต้องการมันเลยก็ตาม [ กลยุทธ์ ‘Market Basket Analysis’ คุณไม่ต้องการเราก็จะขาย ] อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ กลยุทธ์วิเคราะห์ตะกร้าสินค้า เป็นกระบวนการเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านค้า ข้อมูลที่ทำการเก็บจะอยู่ในรูปแบบของสินค้าที่ลูกค้าหยิบใส่ตะกร้าและจ่ายเงิน นำมาวิเคราะห์ หรือ คาดเดาว่าสินค้าที่ขายออกไปนั้นสามารถสนับสนุนสินค้าชิ้นอื่นได้อย่างไรบ้าง เกิดเป็นกลยุทธ์วิเคราะห์ตะกร้าสินค้าด้วยการคาดเดา ผู้อ่านลองนึกภาพว่ากำลังเดินอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง “อยากได้ขนมปังสักหนึ่งก้อน ในความคิดคือต้องเดินไปหยิบที่แผนกเบเกอรี่ ในขณะที่เดินนั้นเองก็เจอขนมปังวางอยู่ที่แผนกผลิตภัณฑ์จากนม” กรณีแบบนี้คือการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดเดาการซื้อสินค้าของลูกค้า ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ลูกค้าเจอสินค้าที่ต้องการและเห็นสินค้าประเภทอื่นที่สอดคล้องกันคือผลิตภัณฑ์จากนม ทำให้เกิดความคิดที่ว่า “ซื้อนมไปด้วยเลยดีไหม” ...
บริษัทขนาดเล็กในสหรัฐอมเริกาหลายแห่ง ออกแบบนโยบายที่พนักงานผู้เป็นพ่อหรือแม่ สามารถนำลูกมาเลี้ยงที่ออฟฟิศได้ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างพี่เลี้ยง และลดอัตราการสูญเสียพนักงานจากการมีครอบครัว บริษัทขายตั๋วการแสดงต่างๆ แห่งหนึ่งในเมือง Gainesville, Florida เป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานอยู่ประมาณ 21 คน โดยบริษัทแห่งนี้มีนโยบายเกื้อหนุนผู้เป็นพ่อหรือแม่ให้สามารถนำลูกมาเลี้ยงในระหว่างทำงานได้ CEO ของบริษัท Adam Young กล่าวว่า “นโยบายนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างพื้นที่ทำงานให้เหมาะสมกับทุกคน และต้องการจะให้พนักงานได้รับความรู้สึกว่าเป็นเพื่อนกับบริษัท ทำให้เห็นว่าบริษัทมีทางเลือกให้พวกเขามากกว่าการลาออกไปเลี้ยงดูลูก” Young ได้กล่าวเสริมถึงการออกแบบนโยบายนี้อีกด้วยว่า “นโยบายนี้ไม่เป็นการรบกวนการทำงานของพนักงานคนอื่นแต่อย่างใด เพราะเราเข้าใจว่าพนักงานที่เป็นพ่อหรือแม่มีความต้องการที่แตกต่างจากพนักงานคนอื่นๆ เราใช้งานพื้นที่ในส่วนห้องประชุมในช่วงเวลาที่ไม่มีใครใช้ ให้เด็กๆ อยู่กัน ดังนั้นมันไม่มีปัญหาด้านพื้นที่เลย นอกจากนี้นโยบายยังแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของบริษัทอีกด้วย” เป็นนโยบายที่ค่อนข้างน่าสนใจจริงๆ กับการให้ความสำคัญกับคุณพ่อหรือคุณแม่ ผู้ปกครองที่กำลังสร้างครอบครัว นโยบายเหล่านี้ไม่เป็นการผลักไสไล่ส่งพวกเขาให้ออกจากระบบการทำงาน แต่ช่วยสร้างความยืนหยุ่น ...
ปลาทองในบริบทของประเทศไทย มักจะใช้เรียกผู้คนที่มีภาวะความจำสั้น เพราะมีความเชื่อที่ว่าปลาทองมีอายุความทรงจำที่สั้น เนื่องจากมันจำไม่ค่อยได้ว่าตัวเองกินข้าวไปแล้วหรือยัง ทุกครั้งที่คนให้อาหารมันก็จะกินอยู่เสมอ เป็นที่มาของการเรียกคนไทยที่มีความจำสั้นว่า ‘ปลาทอง’ แต่ในบริบทของต่างประเทศเขามองว่าปลาทองเป็นสัตว์ที่มีลักษณะนิสัยแห่งความเต็มที่ เวลามันจะกระโดดสักครั้งหนึ่งมันต้องเตรียมพร้อมกับพละกำลังเพื่อกระโดดอย่างสุดแรง [ บทเรียนที่ 1 ] จงศรัทธาในการกระโดดครั้งใหญ่ คุณไม่รู้หรอกว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร มันอาจจะคุ้มค่า และเปลี่ยนชีวิตคุณได้ เช่นเดียวกับปลาทอง คุณต้องมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง พวกมันรู้ดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าติดอยู่ในโหลเดียวกัน ดังนั้น มันจึงมุ่งมั่นที่จะกระโดดสุดแรงเพื่อที่จะออกไปจากโหลแห่งความสิ้นหวังนี้ ถึงแม้การกระโดดจะไม่การันตีว่าผลลัพธ์จะสำเร็จหรือไม่ แต่มันก็ดีกว่าการอยู่ในโหลที่เดิม [ บทเรียนที่ 2 ] ทุ่มเท 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม ดังที่ภควัทคีตากล่าวไว้ว่า “คนฉลาดจะปล่อยวาง ไม่ว่าผลลัพธ์จะดีหรือไม่ดี ...
เมื่อกลางดึกของวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์บทแพลตฟอร์ม ‘X’ ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับ ‘การปลอมเป็นคนอื่น’ ต้นเรื่องมาจากที่ผู้ใช้งานบัญชีหนึ่งออกมาโพสข้อความและรูปภาพการยอมรับผิด จากการนำรูปภาพและเรื่องราวของคนอื่นมาเป็นของตนเอง เป็นเวลากว่า 5 ปี ที่ใช้ชีวิตให้รู้สึกว่าเป็นคนอื่น อีกทั้งยังสร้างบัญชีขึ้นมากว่า 18 บัญชีเพื่อพูดคุยกับตัวเอง ทางต้นเรื่องได้ออกมาเปิดเผยเหตุผลของการกระทำเพียงเพราะ “อยากจะมีชีวิตที่ได้เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยดัง อยากมีเพื่อนและสังคมที่ดี” ทำให้ผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม X หลายคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็น และตระหนักถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุผลนี้ทาง Future Trends อยากจะมาแนะนำภัยร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอินเตอร์เน็ตโดยที่พวกเราไม่ทันสังเกตหรือไม่รู้ตัวเลย มันมีชื่อเรียกว่า ‘Identity Theft’ หรือ ‘การโจรกรรมตัวตน’ [ ‘Identity Theft’ ...
เป็นเวลากี่ปีแล้วนะที่ ‘FRIENDS’ คนสำคัญของพวกเราได้ทำหน้าที่ในการมอบเสียงหัวเราะและความสุขให้ เชื่อว่าซิทคอมเรื่อง Friends เป็นซิทคอมในดวงใจของใครหลายๆ คน มันเป็นองค์ประกอบที่ลงตัวระหว่างเรื่องราว และความสัมพันธ์แบบเพื่อน ที่สร้างความนิยมให้ตัวละครและลากยาวออกไปกว่า 10 ฤดูกาล เนื่องในโอกาสการจากไปของหนึ่งในนักแสดงนำ ‘Matthew Perry’ หรือ ‘Chandler Bing’ ตัวละครสายฮาขวัญใจของใครหลายๆ คน Future Trends ขอใช้โอกาสนี้ในการแบ่งปันบทเรียนชีวิตที่ได้จาก ‘เพื่อน’ คนสำคัญ [ 10 บทเรียนชีวิตจากซิทคอมเรื่อง ‘FRIENDS’ ] บทเรียนที่ 1 ในตอนแรกของซิทคอมเราได้ทำความรู้จักกับตัวละครต่างๆ รอสส์โผล่มาพร้อมกับข่าวการหย่าร้าง เรเชลหนีออกจากงานแต่งงานของตัวเอง ...
Timeline การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง ‘ทวิตเตอร์’ ในยุคสมัยของผู้นำอย่าง ‘อีลอน มัสก์’ ซึ่งเป็นระยะเวลาร่วมปีแล้ว ตั้งแต่ที่มีข่าวการเข้าซื้อกิจการ ทาง Future Trends จะพาไปย้อนดู Timeline การเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้นกฟ้าต้องหายไปตลอดกาล [ จาก ‘Twitter’ สู่ ‘X’ ] เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงเมื่อ ปี 2022 เดือนเมษายน มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญจาก อีลอน มัสก์ คือการยื่นข้อเสนอเพื่อซื้อกิจการแพลตฟอร์มนกฟ้า 14 เมษายน 2022 มัสก์เสนอราคาที่ 44 พันล้านดอลลาร์สำหรับ ...