-->
ในยุคผู้เขียนยังเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว รองเท้าผ้าใบ ‘นันยาง’ เป็นรองเท้ายอดฮิตของนักเรียนสมัยนั้น ที่ปัจจุบันผันตัวมาเปลี่ยนผู้ปกครองกันแล้ว แต่ทุกวันนี้ รองเท้าผ้าใบนันยางก็ยังเป็นผู้นำตลาดอยู่เช่นเดิม โดยข้อมูลจาก Brand Inside ระบุว่า นันยางมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 43-44% โดยในปี 2022 นันยางมีรายได้รวมทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 1,317 ล้านบาท หากนับเป็นตัวเลข ก็ราวๆ 10 ล้านคู่ต่อปี นั่นหมายถึงแต่ละปีมีเด็กนักเรียนหลักล้านคนที่ยังซื้อรองเท้าแบรนด์นี้คู่ใหม่ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ภาพของแบรนด์รองเท้านันยางผูกติดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Targeting) กลุ่มหลักคือ นักเรียน แม้ว่าจะมีภาพของนักกีฬาตะกร้อหรือในหมู่ช่างที่นิยมหาใช้ผ้าใบแบรนด์นี้อยู่บ้าง แต่สัดส่วนลูกค้าก็ยังอยู่ที่กลุ่มนักเรียนมากที่สุด แต่ทราบหรือไม่ว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มลูกค้าหลักของนันยางนั้นไม่ใช่นักเรียน ...
หลายคนอาจยังไม่รู้จักบัญชี GPPPA มากนัก บทความนี้ของ Future Trends สรุปข้อควรรู้เบื้องต้นมาให้ทราบ
สรุปเนื้อหา ดร.ศิริกุล บรรยายในงาน ‘Where is the Future Food’ ร่วมหาคำตอบว่า อนาคตของอาหารและอาหารอนาคต จะเป็นอย่างไร?
เป็นกระแสฮือฮาถล่มโลกออนไลน์อีกครั้ง หลังจาก ‘Threads’ แพลตฟอร์มน้องใหม่จาก Meta เปิดให้ใช้งานกันแล้ววันนี้ แน่นอนว่าสิ่งที่แบรนด์ให้ความสนใจคงหนีไม่พ้นการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียใหม่ ในการส่งเสริมธุรกิจ ปัจจุบันการทำการตลาด หรือการสร้างแบรนด์ ให้มีตัวตนในสายตาผู้คนมีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการนิยามตัวเองให้แปลกใหม่ การทำเพื่อสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคุณค่าของแบรนด์ที่แสดงถึงความเป็นตัวตน และไม่เหมือนใคร ถึงแม้เราจะบอกว่ามันมีหลากหลายวิธี แต่ช่องทางการนำเสนอตัวตนของแบรนด์กลับน้อยนิด สามารถแบ่งแยกได้ง่ายๆ คือ ออฟไลน์ และออนไลน์ ซึ่งในยุคสมัยนี้ออนไลน์เป็นกุญแจสำคัญในการสื่อสารตัวตนของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี การนำแบรนด์เข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์มันจะคุ้มค่าจริงหรือเปล่า ขออ้างอิงจากสถิติการใช้งานโซเซียลมีเดียของผู้คนในปี 2021 ที่มีมากกว่า 4.2 พันล้านคน และการเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของแบรนด์ธุรกิจรายเล็กต่างๆ กว่า 77 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยใช่ไหม ถึงแม้ว่ามันจะการันตีความคุ้มค่าในการลงสนามไม่ได้ แต่มันก็เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความน่าจะเป็นที่ดีในการเติบโตของแบรนด์ในแพลตฟอร์มออนไลน์ ...
การสื่อสารเป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจของมนุษย์ พวกเราใช้ภาษา และตัวอักษรเป็นตัวกลาง ส่วนของสัตว์พวกมันก็มีวิธีการที่แตกต่างกันในการสื่อสาร แต่ในความเป็นจริงมนุษย์อย่างเรา และสัตว์ทั้งหลาย ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้ ถึงแม้จะพยายามมานานแล้วก็ตาม ในอดีตเคยมีนักวิทยาศาสตร์ทดลองการสื่อสารกับสัตว์ประเภทลิง ผลของการทดลองทำให้ได้รับรู้ว่าพวกสัตว์จะจดจำท่าทางของเรา และทำตามคำสั่งอย่างที่ถูกสอน แต่ไม่มีเครื่องยืนยันที่แสดงให้เห็นว่าลิงเข้าใจที่เราจะสื่อสารกับมันจริงๆ นอกจากลิง มนุษย์เรายังเคยศึกษาการสื่อสารกับโลมา สุนัข แมว เป็นต้น แต่คำตอบก็เหมือนกันคือ “พวกมันทำตามที่ถูกฝึก ไม่ได้มีความเข้าใจแม้แต่นิด” ผลของการทดลองอาจจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนแล้วว่า มนุษย์ไม่สามารถสื่อสารกับสัตว์ได้ แต่! ถ้ามนุษย์ไม่ใช่คนที่สื่อสาร แต่เป็นปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence) ที่สื่อสารล่ะ ผลลัพท์จะยังออกมาในรูปแบบเดิมหรือไม่ วันนี้ Future Trends จะนำพาไปรู้จักกับ ‘Project CETI’ โครงการที่นำปัญญาประดิษฐ์ไปศึกษาวิธีการสื่อสารของวาฬหัวทุย ...
ความสำเร็จของ MIT คือ ส่วนผสมระหว่างจิตวิญญาณกับทักษะการเป็นผู้ประกอบการ กล่าวคือ สถาบันมีการสนับสนุนให้ผู้คนสร้างธุรกิจ โดยอาศัยบุคคลต้นแบบที่มีอยู่มากมาย ซึ่งเป็นคนที่ไม่ได้สูงเกินจะเอื้อมถึง
ช่วงที่ผ่านมา มีกระแสการเปิดตัว AI ที่เข้ามาช่วยทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นอยู่เป็นระยะ โดยล่าสุดก็ครอบคลุมไปถึงฟากฝั่งของการชอปปิงจนแล้วด้วย แล้วเรื่องนี้มันเป็นอย่างไร? ไปดูกัน!
เมื่อหนังดีๆ เพลงดีๆ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ยุคนี้แค่กดสมัครออนไลน์ สิ่งต่างๆ ก็ปรากฏขึ้นในพริบตาแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ความสะดวกเหล่านี้ก็มาพร้อมกับความเหนื่อยล้าหรือ 'Subscription Fatigue' ด้วย แล้วมันคืออะไร เกิดจากเรื่องไหน? ไปดูกัน!
ชวนไปรู้จักกับ ‘Isaac Asimov’ เจ้าพ่อนักเขียนนิยาย Sci-Fi ผู้จินตนาการถึงอนาคตของหุ่นยนต์ และผู้คิดค้นกฎ 3 ข้อที่ว่าด้วยเรื่องหุ่นยนต์ในบทความนี้กัน!