LOADING

Type to search

คุณไม่ต้องการเราก็จะขาย พบกับกลยุทธ์ ‘Market Basket Analysis’ ที่ Supermarket ใช้กับลูกค้าในการขายของที่คุณไม่คิดจะซื้อ

คุณไม่ต้องการเราก็จะขาย พบกับกลยุทธ์ ‘Market Basket Analysis’ ที่ Supermarket ใช้กับลูกค้าในการขายของที่คุณไม่คิดจะซื้อ
Share

กลยุทธ์ ‘Market Basket Analysis’ หรือที่ผู้อ่านบางคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ ‘Association Rules กฎแห่งความสัมพันธ์’ มันคือกลยุทธ์หลังบ้านยอดนิยมของซูเปอร์มาร์เก็ต ที่จะทำให้คุณซื้อสินค้าบางชิ้น ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ต้องการมันเลยก็ตาม

[ กลยุทธ์ ‘Market Basket Analysis’ คุณไม่ต้องการเราก็จะขาย ]

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ กลยุทธ์วิเคราะห์ตะกร้าสินค้า เป็นกระบวนการเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านค้า ข้อมูลที่ทำการเก็บจะอยู่ในรูปแบบของสินค้าที่ลูกค้าหยิบใส่ตะกร้าและจ่ายเงิน นำมาวิเคราะห์ หรือ คาดเดาว่าสินค้าที่ขายออกไปนั้นสามารถสนับสนุนสินค้าชิ้นอื่นได้อย่างไรบ้าง

เกิดเป็นกลยุทธ์วิเคราะห์ตะกร้าสินค้าด้วยการคาดเดา ผู้อ่านลองนึกภาพว่ากำลังเดินอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง 

“อยากได้ขนมปังสักหนึ่งก้อน ในความคิดคือต้องเดินไปหยิบที่แผนกเบเกอรี่ ในขณะที่เดินนั้นเองก็เจอขนมปังวางอยู่ที่แผนกผลิตภัณฑ์จากนม”

กรณีแบบนี้คือการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดเดาการซื้อสินค้าของลูกค้า

ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ลูกค้าเจอสินค้าที่ต้องการและเห็นสินค้าประเภทอื่นที่สอดคล้องกันคือผลิตภัณฑ์จากนม ทำให้เกิดความคิดที่ว่า “ซื้อนมไปด้วยเลยดีไหม” กลายเป็นลูกค้าซื้อนมทั้งๆ ที่อาจจะไม่ต้องการด้วยซ้ำ

สามารถอธิบายได้อีกมุมมองหนึ่งก็คือ กลยุทธ์นี้เป็นการสนับสนุนการซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกัน หรือ เรียกว่า ‘Cross-Sale’ ขายสินค้าควบคู่กันเป็นบันเดิล เห็นได้ชัดในการโฆษณาสินค้าประเภทเกมคอนโซล (Playstation, Nintendo, Xbox เป็นต้น)

ตัวอย่างยอดฮิตของการจับกลุ่มสินค้ามาวางด้วยกัน คือ เครื่องดื่ม(โซดาและแอลกอฮอล์) กับขนมขบเคี้ยว(มันฝรั่งทอด) เพราะกลุ่มลูกค้าที่ทำการซื้อสินค้าประเภทนี้มักจะจัดงานเลี้ยงหรือเป็นการรวมตัวกันเพื่อสังสรรค์ ทำให้เมื่อจัดวางสินค้าคู่กันจะสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น สินค้าทั้งสองชนิดสนับสนุนซึ่งกันและกัน 

ในบางครั้งการใช้งานกลยุทธ์นี้อาจจะต้องอาศัยแรงจูงใจอื่นๆ อีกด้วย

[ อะไรคือแรงจูงใจที่ส่งผลให้ลูกค้าซื้อสินค้าบางอย่างทั้งๆ ที่ไม่ต้องการ? ]

[ ความคุ้มค่า ]

เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากข้อเสนอที่ทางร้านค้ามอบให้ อย่าง โปรโมชั่นซื้อคู่กัน ซื้อ1แถม1 เป็นต้น แต่ถ้าของทั้ง 2 อย่างอยู่ห่างกันลูกค้าก็จะไม่อยากเดินไปซื้อมัน จึงเกิดเป็นการวางสินค้าให้อยู่คู่กันเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง 

[ ของมันต้องคู่กัน ]

อย่างขนมปังและนม เป็นสิ่งที่มีวัฒนธรรมวิถีชีวิตรองรับว่าการทานคู่กันคือสิ่งที่ถูกต้อง หน้าที่ของร้านค้าก็มีเพียงแค่จัดวางให้สะดวกต่อการหยิบคู่กันโดยไม่ต้องใช้แรงจูงใจอย่าง ข้อเสนอพิเศษ

ไม่เพียงแต่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปที่ใช้กลยุทธ์นี้ แม้แต่ E-Commerce อย่าง Lazada หรือ Shopee ก็ปรับใช้ในแพลตฟอร์มของตัวเอง แต่จะอยู่ในรูปแบบของ ‘Just for you’ สินค้าสำหรับคุณ หลักการจะค่อนข้างคล้ายกัน คือการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ แต่จะง่ายกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมดา ในมุมมองของการเก็บข้อมูล ที่สามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาสินค้า 

จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะวิเคราะห์และคาดเดาว่าลูกค้าคนนั้นอยากจะเห็นสินค้าอะไรในหน้าฟีดตัวเอง เปิดโอกาสในการซื้อขายให้มากยิ่งขึ้น

ในการวิเคราะห์ คุณจะต้องใช้ข้อมูลที่เก็บมาได้จากลูกค้า ส่วนมากกลุ่มสินค้าที่ถูกจับคู่กันจะเป็นสินค้าที่ขายดีและสินค้าที่ขายไม่ดี มีเหตุผลตามที่เรากล่าวไปคือใช้งานสินค้าขายดีเพื่อการกระตุ้นและสนับสนุนยอดขายของสินค้าที่ขายไม่ดี

ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจสำหรับการเพิ่มยอดขายของสินค้า และดูไม่เป็นการขายตรงจนเกินไป ใช้โอกาสจากการจัดพื้นที่ให้ลูกค้าเห็นความต้องการในสินค้าเพิ่มขึ้น และเลือกซื้อด้วยความไม่ตั้งใจ ส่งผลทางด้านยอดขายที่สนับสนุนสินค้าหลายกลุ่มไปพร้อมๆ กัน

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์

Sources: https://www.techtarget.com/searchcustomerexperience/definition/market-basket-analysis

https://bigdata.go.th/big-data-101/what-is-association-rule/

https://www.brandcase.co/43825

Tags::

You Might also Like