“สถานที่แห่งหนึ่งในป่าลึก รายล้อมไปด้วยสัตว์นานาชนิด ภายใต้ภาวะสุดกดดันของวงจรชีวิตมีผู้ล่าและผู้ถูกล่าเต็มไปหมด แต่มีสัตว์อยู่ตัวหนึ่งที่เป็นผู้ล่าและ ‘ราชา’ ในป่าแห่งนี้ สัตว์ตัวนั้นคือ ‘สิงโต’ การอยู่รอดในป่าคุณจะต้องไม่เป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า สิ่งเดียวที่จะรอดในป่าใหญ่คือการเป็นผู้ล่าและราชาเท่านั้น ดังนั้น จงเป็นสิงโตผู้ล่า และราชาของป่าใหญ่” เนื่องในโอกาสของวันสิงโตโลก 10 สิงหาคม ทาง Future Trends อยากนำเสนอ 7 หลักการ การเป็นผู้นำแบบสิงโต “นักล่าผู้เป็นราชาแห่งป่า” จะเป็นผู้นำทั้งที่ขอแบบจัดเต็มเยี่ยงสิงโตไปเลย [ 7 หลักการ การเป็นผู้นำ ในฉบับของราชาแห่งป่าใหญ่ ‘สิงโต’ ] 1.Agent of Shield ...
ในช่วงชีวิตของคนๆ หนึ่ง ต้องผ่านพบกับผู้คนหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นคนที่นิสัยดี คนที่คอยช่วยเหลือเราอยู่เสมอ และเชื่อว่าอย่างน้อยในชีวิตนี้ ทุกคนคงจะได้พบเจอคนแปลกๆ ที่มีความ ‘อิหยังวะ’ อยูในตัวเองอยู่บ้าง ซึ่งแต่ละคนก็มีนิยามความรู้สึกต่อคำว่าอิหยังวะในระดับที่ไม่เท่ากัน โดยอาจจะเป็นความรู้สึกงงๆ ไม่เข้าใจ หรือเป็นความรู้สึกสงสัยว่าคนๆ นี้ทำแบบนั้นไปทำไม อย่างการพูดจาโอ้อวด กดคนอื่นให้ต่ำกว่าตน ไม่มีความเห็นใจผู้อื่น ชอบเรียกร้องความสนใจ ถ้าเคยรู้สึก หรือคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเจอคนที่ทำให้เรารู้สึก ‘อิหยังวะ’ แล้วล่ะก็ เราอาจจะพบเจอกับคนที่ ‘หลงตัวเอง’ เข้าแล้วก็ได้ คำว่า ‘หลงตัวเอง’ นั้น ฟังดูแล้วคงเป็นสิ่งที่ไม่ได้ร้ายแรงอะไรนัก ก็แค่คนๆ หนึ่งที่มีความหลงใหลในตัวของตัวเองก็เท่านั้น แต่ความจริงกลับไม่ใช่อย่างที่เราคิดไปทั้งหมดซะทีเดียว การหลงตัวเองเป็นลักษณะทางบุคลิกภาพรูปแบบหนึ่ง โดยทั่วไป ...
Future Trends ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะภาวะความหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ของผู้คนไปหลายครั้งแล้ว เรามักจะบอกเคล็ดลับแนวคิด วิธีการ แก้ไข และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นกับพวกคุณ แต่วันนี้เราจะไม่ได้มานำเสนอแก่คนทั่วไป เราจะพูดถึงในบริบทขององค์กร ว่าคุณจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานของคุณพบเจอกับ ภาวะความหมดไฟ คุณจะป้องกันภาวะความหมดไฟ ในการทำงานของพนักงานได้อย่างไร? มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า พนักงานของคุณสามารถรักษาสมดุลเพื่อไม่ให้เกิดภาวะความหมดไฟได้ด้วยกุญแจสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ [ กุญแจ 3 ประการ สำหรับองค์กรในการป้องกัน Burnout Syndrome ] 1. ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นอันดับแรก ทุกอย่างเริ่มต้นที่ด้านบน “ด้านบนในที่นี้หมายถึง ผู้นำ” ...
ความเป็นอยู่ที่ดีนั้นไม่ได้นิยามถึงแค่คุณภาพชีวิตในแต่ละวัน แต่ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานอีกด้วย ในความคิดของพวกคุณ อะไรกันคือความหมายของความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน? “การได้รับอาหารกลางวันฟรี มีขนมให้กินตลอดทั้งวัน มีห้องสำหรับสันทนาการ และพักผ่อนจากการทำงานอย่างหนักระหว่างวัน” ทั้งหมดที่เรากล่าวไปนั่นแหละคือความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน วันนี้ Future Trends มีมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ‘ความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน’ มานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับฟังกันว่าปัจจุบันอะไรคือความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานกันแน่ แล้วมีกรณีศึกษาของไทยที่เห็นได้ชัดถึงมิติความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานของพนักงานบ้างหรือเปล่า? [ ความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานคืออะไร? ] คุณภาพชีวิตที่ดีในที่ทำงานเป็นการผสมผสานระหว่างคุณภาพที่ดีของสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยอาศัยปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ความเป็นอยู่ที่ดีในชีวิตประจำวันเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย อาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายเป็นประจำ การจัดการกับความเครียดสะสม การพักผ่อนที่เพียงพอ ความเข้าใจในตัวเอง และการเข้าสังคมในปริมาณที่เหมาะสม ปัจจัยเหล่านั้นจะนำพาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีในที่ทำงาน ซึ่งเป็นมุมมองแบบองค์รวมของสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมของบุคคลในที่ทำงาน เมื่อองค์กรทำงานได้ดีตามกลยุทธ์ความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน คนก็มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีขึ้น สร้างความสัมพันธ์เชิงบวกมากขึ้น ...
แต่ละคนมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป บางคนอยากร่ำรวย บางคนอยากประสบความสำเร็จ บางคนอยากมีความรักที่ดี แต่บางคนก็ไม่ขออะไรมาก ขอแค่มี ‘อายุยืน’ พอที่จะได้มองคนที่เรารักไปนานๆ ก็เพียงพอแล้ว สถิติการเสียชีวิตของคนไทยในปีพ.ศ. 2565 มีจำนวน 595,965 คน ซึ่งมากกว่าทารกเกิดใหม่ถึง 93,858 คน ซึ่งทำให้จำนวนประชากรติดลบ และยังส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2566 อีกด้วย ว่ามีแนวโน้มจะสูงขึ้นกว่าเดิม อันมีผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สภาพแวดล้อม การเกิดอุบัติเหตุ โรคต่างๆ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างเลยล่ะที่ขัดขวางจุดมุ่งหมายในการมี ‘อายุยืน’ ของหลายๆ คน แต่ก็ใช่ว่าเราจะสร้างสิ่งที่ช่วย ‘ยืดอายุ’ ...
Gen หรือ Generation หมายถึง การแบ่งกลุ่มประชากรตามหลักประชากรศาสตร์ โดยใช้ช่วงปีที่เกิดเป็นตัวแบ่ง Gen ซึ่งถ้าหากใครเคยได้ยินคำว่า Baby Boomer เจน Y เจน X หรือเจน Z แปลว่าเราได้ทำความรู้จักกับ Generation เข้าให้แล้ว Gen Z หมายถึงกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปีค.ศ.1995 ถึง 2010 เทียบได้กับปีพ.ศ. 2538 ถึง 2553 โดยถือเป็นกลุ่มที่เติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น ซึ่งทำให้คน ...
Julia Balchin อาจารย์จาก Royal Drawing School London ได้กล่าวไว้ว่า “ตอนที่เรายังเป็นเด็ก เราสามารถวาดภาพได้ก่อนการพูดคุย เดิน หรืออ่านได้เสียอีก ดังนั้น การวาดภาพจึงเป็นวิธีแรกในการแสดงออก” ‘การวาดภาพ’ เป็นหนึ่งในรูปแบบของศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะในตัวของเราทุกคน เป็นที่รู้กันว่าศิลปะนั้นคือสิ่งสวยงามที่จรรโลงจิตใจมนุษย์ แต่นอกจากความจรรโลงใจแล้ว ศิลปะยังเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ได้เช่นเดียวกัน ศิลปะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ 2.6 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการใช้หิน กระดูก เปลือกหอย ขีดเขียนผนังถ้ำเพื่อทำสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารกับคนในชนเผ่า และบางครั้งก็ใช้ในแง่ของการบันทึกประวัติศาสตร์ภาพรูปภาพนั้น ในแง่ของความหมาย ศิลปะมีคำจำกัดความที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ‘ศิลปะ หมายถึง ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ’ ...
เคยสงสัยมั้ยว่า เวลาที่เรารู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ ทำไมคนรอบตัวถึงชอบแนะนำให้เราออกไปสูดอากาศธรรมชาติจากข้างนอกห้อง หรือไม่ก็ให้ออกไปเดินรับแสงแดดเพื่อบรรเทาความรู้สึกเหล่านั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า ‘ธรรมชาติ’ มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของเรานั่นเอง ทั้งอารมณ์ดี ความคิดด้านบวก ความเป็นอยู่ที่ดี รวมไปถึงการเชื่อมโยงชีวิตของเราล้วนขึ้นอยู่กับการได้สัมผัสธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่เพียงเท่านั้น งานวิจัยจาก Harvard Business Review ยังเผยอีกว่า การได้สัมผัสธรรมชาติเพียงเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มความโปรดัคทีฟให้กับเหล่ามนุษย์ออฟฟิศได้แล้ว โดยได้ทดสอบกับหนุ่มสาววัยทำงานในหลายรูปแบบ ตัวอย่างแรกคือการให้พวกเขามองภาพสถานที่ทำงานที่มีองค์ประกอบทางธรรมชาติ เปรียบเทียบการสถานที่ทำงานที่ปราศจากธรรมชาติ จากนั้นให้จินตนาการว่าตนกำลังทำงานอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ ตัวอย่างถัดมาคือการประเมินความรู้สึกของพนักงานผ่านการสัมผัสธรรมชาติจริงในขณะที่กำลังทำงาน เช่นการมองทิวทัศน์ผ่านกระจก การนั่งทำงานใกล้ต้นไม้ หรือเอาจะเป็นเสียงน้ำไหลที่ใกล้เคียงกับน้ำตกในธรรมชาติ ตัวอย่างสุดท้ายคือการทดลองโดยนำกระถางต้นไม้ และกระถางที่เต็มไปด้วยเครื่องเขียนในสำนักงาน ไปวางบนโต๊ะทำงานของเหล่าพนักงาน ผลการทดลองสรุปได้ว่า การที่พนักงานได้สัมผัสกับธรรมชาติแม้เพียงเล็กน้อยขณะทำงาน จะทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าการไม่ได้สัมผัสธรรมชาติเลย ...
เวลาอยากเริ่มที่จะทำอะไรก็ตาม เช่น ลดน้ำหนัก อ่านหนังสือพัฒนาตนเอง หรือเก็บออมเงิน ประโยคที่เรานำมาใช้ทีเล่นทีจริงกับกิจกรรมเหล่านี้อยู่บ่อยๆ ก็คงไม่หลุดไปจาก ‘คิดการใหญ่ใจต้องนิ่ง’ สักเท่าไหร่ ความหมายของมันก็ตรงตัว นั่นคือการที่เราจะทำสิ่งใด เราจำเป็นต้องวางแผนให้รอบคอบ มีสติและมีความมุ่งมั่น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นต้องแลกมาด้วย ‘เวลา’ ถูกต้องแล้ว! เรามีหลายอย่างที่อยากทำให้สำเร็จ แต่เวลาไม่ได้หยุดเดินไปด้วยสักหน่อยนี่ เพราะฉะนั้นการมีเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ แล้วถ้าเรา ‘ไม่มีเวลา’ หรือ มีเวลา ‘น้อย’ ต้องทำยังไงดีล่ะ? บางคนอาจจะล้มเลิกความตั้งใจที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ และนอนเปื่อยไปวันๆ (ซึ่งไม่ผิดหรอกนะ) แต่การทำอะไรเดิมๆ ซ้ำซากก็มีโอกาสทำให้เรารู้สึก ‘เบื่อ’ ได้ง่ายเช่นกัน วันนี้ Future Trends ...
ในยุคที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความกลัวเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ ได้กลายเป็นเรื่องที่เกินจริงไปมาก ความกังวลเรื่องการเข้ามาแทนที่พนักงานด้านเทคโนโลยี ดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวที่แพร่หลายไปไกล วันนี้ Future Trends จะพาไปดู 6 เหตุผลที่น่าสนใจกัน ว่าทำไมปัญญาประดิษฐ์จะไม่มีวันเข้ามาแทนที่คนทำงานสายเทคโนโลยีได้ [ 6 เหตุผล ที่ AI ไม่สามารถมาแทนที่คนทำงานสายเทคโนโลยีได้ ] เหตุผลที่ 1: Jevons Paradox ในทางเศรษฐศาสตร์ Jevons paradox จะเกิดขึ้นเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น แต่ต้นทุนการสร้างลดลง ทำให้มีความต้องการเพิ่มขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ในอดีตราคา 10,000 บาท แค่เข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตก็กระตุกแล้ว แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคา ...