LOADING

Type to search

7 สัญญาณร้ายแรงของการพูดที่คุณควรหลีกเลี่ยง

7 สัญญาณร้ายแรงของการพูดที่คุณควรหลีกเลี่ยง
Share

การสื่อสารของมนุษย์มีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ‘วัจนภาษา’ ที่ใช้การพูดและการเขียน ในการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร หรือ ‘อวัจนภาษา’ ที่สื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น ท่าทาง สายตา น้ำเสียง รวมไปถึงเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ

ความเป็นจริง พวกเราใช้การสื่อสารด้วยการพูดคุยกันมากที่สุด ระดับของการพูดคุยทำให้เข้าใจอารมณ์ได้ง่าย เข้าใจเนื้อหาที่จะสื่อได้ง่ายเช่นกัน แต่บางครั้งการพูดก็สามารถสร้างให้เกิดความรุนแรงได้เช่นกัน อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

วันนี้ Future Trends อยากจะมานำเสนอ 7 สัญญาณร้ายแรงของการพูดในการสื่อสารที่เราควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

[ 7 สัญญาณร้ายแรงของการพูดที่คุณควรหลีกเลี่ยง ]

1.Gossiping ซุบซิบนินทา

การซุบซิบนินทาไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก แม้คุณจะอยู่ในวงสนทนานินทาชาวบ้าน แต่เมื่อคุณหันหลังให้พวกเขา การซุบซิบนินทาจะเปลี่ยนเป็นเรื่องของคุณทันที

เปรียบเหมือนการกินอาหารขยะนั่นแหละ มันมอบความสุขให้คุณทันที แต่เมื่อคุณสำนึกได้มันจะกระแทกคุณด้วยความรู้สึกผิดมหาศาล

ดังนั้น เมื่อคุณกำลังอยู่ในวงซุบซิบนินทา เลือกเดินออกมาดีกว่า อย่าเป็นส่วนหนึ่งของวงจรนั้นเลย

2.Judging การตัดสิน

เราต่างก็ต้องเคยเผชิญกับใครสักคนที่พร้อมจะ ‘ตัดสิน’ คนอื่นทันทีโดยไม่รับฟังเรื่องราวใดๆ เมื่อคุณต้องรับมือกับคนประเภทนี้คุณจะรู้สึกเปราะบาง มันไม่ใช่เรื่องแปลงอะไรหรอกที่เราจะเปราะบางต่อหน้าคนที่พร้อมส่งพลังงานด้านลบ

ทางที่ดีควรออกจากจุดนั้น และหาที่ที่คุณสบายใจอยู่ดีกว่า

3.Negativity พูดแต่เรื่องลบๆ

เป็นหนึ่งในการพูดที่ดูดพลังชีวิตพวกคุณอย่างมาก คนที่ไหนอยากจะรับฟังเรื่องราวในแง่ลบตลอดเวลากัน แล้วคนพวกนี้ก็ชื่นชอบเสียจริงที่จะพูดเรื่องราวที่ไม่น่าอภิรมย์นี้ในขณะที่คนอื่นมีความสุขกัน

4.Complaining ที่สุดของการบ่น

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามคนประเภทนี้จะสรรหาคำพูดเพื่อมาว่ากล่าวตักเตือนคุณได้เสมอ มันเหมือนกับว่าคุณไม่สามารถที่จะพบเจอเรื่องราวดีๆ ได้จากปากคนประเภทนี้เลย แต่ไม่เสมอไปที่บางครั้งคุณเองก็อาจจะเป็น Complaining 

ดังนั้น จงระวังคำพูดบ่นที่เล็กน้อย ถ้าบ่นเล็กน้อยมากๆ ไปเรื่อยๆ อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้

5.Lying (Exaggeration) พูดโกหก(เกินจริง)

มันเป็นเรื่องที่พอรับได้นะถ้าจะใส่ ‘อรรถรส’ ให้เรื่องราวของคุณมันน่าตื่นเต้น น่าติดตามมากยิ่งขึ้น ถ้าจุดประสงค์ไม่ได้หวังให้ใครเดือดร้อน

อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครอยากจะได้ยินเรื่องที่เกินจริงหรอกนะ ถ้าพูดเรื่องที่เกินจริงมากไป คนจะเริ่มสงสัยในตัวคุณ มันอยากนะที่จะสร้างความเชื่อใจหลักจากที่ทุกคนหันหลังให้กับคุณแล้ว

6.Dogmatism ความเห็นของฉันถูกเสมอ

มันคือการพูดที่ปัดความคิดเห็นของผู้อื่นออกไปทั้งหมด แล้วยึดถือเพียงแค่ความคิดเห็นของตนเอง ไม่มีใครหรอกนะที่จะถูกเสมอ เพราะเราเป็นมนุษย์ย่อมทำสิ่งที่ผิดพลาด เช่นกันไม่มีใครที่จะผิดไปเสมอ 

ดังนั้น รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นด้วย ถึงแม้ว่าคนๆ นั้นจะไม่เคยพูดถูกเลยก็ตาม ยังไงซะรอบนี้เขาอาจจะพูดถูกก็ได้

7.Excuses โอเคนะ..แต่!

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเจอการพูดอย่างคลาสสิกนี้ “พี่ว่าโอเคนะ แต่!” ถ้ามันโอเคจะไม่มีคำว่าแต่ ถ้ามีคำว่าแต่แสดงว่ามันไม่โอเค 

ดังนั้น แทนที่จะใช้คำว่าก็โอเคนะ เป็นการแจ้งไปเลยดีกว่าว่าในส่วนไหนที่เป็นข้อผิดพลาด แล้วค่อยชมเมื่องานโอเคแล้วก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา

[ สรุปส่งท้าย ]

การพูดทั้ง 7 รูปแบบนั้นสร้างความวิตกกังวลให้คนอื่นได้อย่างมากมาย แต่จงระลึกไว้เสมอว่าคุณอาจจะใช้งานคำพูดรูปแบบนั้นบ้างก็ได้ สังเกตตัวเองปรับเปลี่ยนนิสัยการพูด หลีกเลี่ยงสัญญาณเลวร้ายเหล่านั้นก่อนที่จะทวีคูณเป็นความรุนแรงในอนาคต

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์

Source: https://x.com/GreaseTheWheelz/status/1709510131434901687?s=20

Tags::

You Might also Like