LOADING

Type to search

“หากคุณเป็นคนที่เหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ เราอยากจะบอกให้คุณรู้ไว้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียว”

“หากคุณเป็นคนที่เหนื่อยล้าจากการประชุมออนไลน์ เราอยากจะบอกให้คุณรู้ไว้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียว”
Share

งานวิจัยพบว่า ‘Zoom Fatigue’ ภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์ ส่งผลต่อสมองและหัวใจ พร้อมแนะนำวิธีแก้ 

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรคระบาดโควิด-19 การทำงานรูปแบบ Remote, WFH, WFA, และ Hybrid ได้รับความนิยมมาก ด้วยความสะดวกสะบายอยู่ที่ไหนก็สามารถปฏิบัติงานได้ แต่ความสะดวกสบายที่ได้มาค่อยๆ แปรเปลี่ยนกลายเป็นความเหนื่อยล้าจากการทำงานตลอดเวลา ทำให้หลายๆ คนพบเจอกับภาวะ ‘Zoom Fatigue’ หรือ ภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์ และมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ต้องการศึกษาวิจัยภาวะนี้

จากการรายงานข่าวของสำนักข่าว CBS ได้มีการสัมภาษณ์ Dr.Arjun Venkatesh ศาสตราจารย์และประธานสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Yale University ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์

กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ นักศึกษาจำนวน 35 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม 

1.นักศึกษากลุ่มแรกจะเข้าร่วมการบรรยายรูปแบบ Onsite

2.นักศึกษากลุ่มที่สองจะเข้าร่วมการบรรยายรูปแบบ Online

โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนต้องสวมเครื่องตรวจ EEG เพื่อวัดกระแสไฟฟ้าในสมอง และ EKG เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจ 

อาจารย์แพทย์ Venkatesh อธิบายถึงผลการศึกษาว่า “ผู้คนชอบตอบแบบสำรวจว่ารู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากที่ใช้โปรแกรม Meeting Online ในตอนแรกมันดูเหมือนเป็นความรู้สึก แต่เมื่อได้ทำการศึกษาผลลัพธ์มันบอกว่าความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการใช้งานโปรแกรมจำพวกนั้นจะเป็นเรื่องจริง” 

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า การศึกษาพบว่าคลื่นในสมองและอัตราการเต้นของหัวใจ ประกอบกับการพิจารณาจากสรีรวิทยาของกลุ่มตัวอย่าง การใช้งานโปรแกรม Meeting Online ทำให้พวกเขาขาดสมาธิ มีความเศร้าก่อตัวขึ้น และมีความเหนื่อยล้ามากยิ่งขึ้นกว่าการเข้ารับการบรรยายในรูปแบบ Onsite

Venkatesh ได้ระบุว่าขอบเขตของการเกิดภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์ เกิดขึ้นได้ในระดับที่ง่ายที่สุด และเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่น่าจะเคยประสบพบเจอมาในอดีต สังเกตได้จากอารมณ์ของคุณ ง่ายๆ เลยก็คือ “มีความรู้สึกเหนื่อยล้าทันทีที่ได้ยินเสียงการโทรเรียกหรือแจ้งเตือนของโปรแกรม Meeting Online”

Venkatesh ได้หยิบยกงานวิจัยของ Stanford University เรื่องการสนทนาทางวิดีโออาจทำให้เกิดความเมื่อยล้า โดยงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้า

1.การใช้สายตากับอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์อย่างรุนแรงและใกล้ชิดเกินไป เป็นเวลานาน

2.เห็นสภาพตัวเองผ่านวิดีโอแชท

3.ไม่ได้ขยับตัวไปไหนนั่งนิ่งๆ

4.ใช้งานหัวสมองตลอดเวลา

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ Venkatesh และงานวิจัยที่ค้นหาความเชื่อมโยงของหัวสมองและอัตราการเต้นหัวใจ ว่าเป็นผลมาจากภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์ มีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

[ คุณจะป้องกันอาการเหนื่อยล้าของภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์ ได้อย่างไร? ]

Venkatesh กล่าวว่างานวิจัยฉบับนี้ของเขา เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มนักศึกษาเท่านั้น โดยเป็นการเก็บข้อมูลที่มีตัวแปรเป็นการบรรยาย เธอจึงไม่สามารถแนะนำการป้องกันภาวะเหนื่อยจากการประชุมออนไลน์ ได้อย่างครอบคลุมไปถึงบุคคลที่อยู่ในสถานะการทำงานแล้วได้

แต่ก็ยังมีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันภาวะนี้

“มีหลายครั้งที่คุณอาจอยู่ในสำนักงานและคุณมีโอกาสเลือกระหว่างการประชุมผ่านออนไลน์ หรือการประชุมในห้องโถงของสำนักงาน คุณควรเลือกอย่างหลัง” Dr.Arjun Venkatesh

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์

Source: https://www.cbsnews.com/news/zoom-fatigue-affect-brain-heart-study-expert-prevent/?fbclid=IwAR3rFzcIqD9UNb9Lixs9zcOeTLBhCP9UY_0M10iKur_E9KpZAxaz_FPGJX8

Tags::

You Might also Like