LOADING

Type to search

‘Sustainability In Action’ บีไอจีมองว่าความยั่งยืนเปรียบเสมือนโอกาสที่ต้องลงมือทำ

‘Sustainability In Action’ บีไอจีมองว่าความยั่งยืนเปรียบเสมือนโอกาสที่ต้องลงมือทำ
Share

หากถามว่าปัญหาเรื่อง ‘Climate Change’ มีความสำคัญขนาดไหน? ลองมองออกไปนอกหน้าต่าง มองดูสภาพอากาศของประเทศไทยในตอนนี้ ลักษณะที่คุณเห็นคือผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือ ฝุ่นที่กำลังเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย ปัญหาเหล่านี้ล้วนมาจาก Climate Change ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยแนวคิดความยั่งยืน ‘Sustainability’

เราพยายามที่จะทำความเข้าใจ หาหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาอุณหภูมิและฝุ่นที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ แต่ความยั่งยืนมักถูกมองว่าเป็น ‘ภาระ’ ที่เราต้องทำ เป็น ‘ค่าใช้จ่าย’ ที่เราต้องจ่าย เพียงเพื่อให้คนมองว่าเราทำได้

ดังนั้น กุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหานี้ คือการมองความยั่งยืนเป็น ‘โอกาส’ เป็น ‘การลงทุน’ เพื่อการเติบโต และ ‘Sustainability in Action’ การลงมือทำเรื่องความยั่งยืนให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง

แต่จะมีสักกี่องค์กรกันที่ตั้งใจทำอย่างแท้จริง?

‘บีไอจี’บริษัทในเครือแอร์โปรดักส์จากสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับปัญหา Climate Change อย่างมาก และลงมือทำอย่างจริงจัง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโลกอนาคต พร้อมทั้งการทรานส์ฟอร์มองค์กรครั้งใหญ่ เป็น ‘Climate Technology Company’ ที่พร้อมจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

[ Energy Transition การเปลี่ยนผ่านพลังงานคือทางออกของการสร้างความยั่งยืน ]

ความยั่งยืนที่แท้จริงต้องนำมาซึ่งโอกาสของการเติบโตขององค์กร การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างสังคมที่ปลอดภัย เต็มไปด้วยความหลากหลายและมีส่วนร่วมของทุกคน ดังนั้นแล้วความยั่งยืนในบริบทของธุรกิจจำเป็นที่จะต้องนำพาไปสู่โอกาสทั้ง 3 อย่างนี้ ถ้าหากไม่สามารถนำพาไปถึงจุดนั้นได้ สิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่ความยั่งยืน

โอกาสเหล่านี้จะสามารถหาได้จากสิ่งที่เรียกว่า ‘Energy Transition’ การเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด เป็นสิ่งที่มีมานานตั้งแต่สมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านจากการใช้ไม้และฟืน มาเป็นการใช้ถ่านหิน การเปลี่ยนผ่านพลังงานจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอดตั้งแต่อดีต แต่สิ่งที่เราต้องให้ความสนใจคือในปัจจุบันเราจะมีบทบาทและส่วนร่วมผลักดันการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างไร ?

นำมาสู่โอกาสของพลังงานสะอาดที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนพลังงานประเภทอื่นๆ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สะท้อนถึงตัวตนของ ‘บีไอจี’ ที่ใช้โอกาสของการเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอากาศ นำมาแยกเป็นสินค้าและบริการ เช่น ออกซิเจนในโรงพยาบาล ไนโตรเจนถนอมอาหาร จนกลายเป็นอันดับหนึ่งของ ‘Industrial Gases Company’

แต่การเปลี่ยนผ่านพลังงานต้องอาศัยแรงผลักดันและการเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆ ภาคส่วน บีไอจี จึงได้เปลี่ยนแปลงองค์กรจาก ‘Industrial Gas Companyl’ มาเป็น ‘Climate Technology Company’ เพราะเทคโนโลยีคือกุญแจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน และมีความสามารถในการช่วยส่งเสริมการก้าวเข้าสู่ Net Zero อย่างยั่งยืน

[ ‘บีไอจี’ โฟกัส Climate Technology ในกลุ่มของเทคโนโลยีที่ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ]

เทคโนโลยีที่ช่วยในการลดการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศและช่วยเร่งการเกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานมีด้วยกันทั้งหมด 5 อย่าง ดังนี้

1.Carbon Capture

เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการดักจับคาร์บอนจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อกักเก็บและนำไปใช้ประโยชน์ แทนที่จะปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลง นำไปสู่โลกที่ยั่งยืน นอกจากนี้ เมื่อคาร์บอนในชั้นบรรยากาศลดลงโอกาสในการพัฒนาพลังงานทดแทนยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

2.Hydrogen Economy

บีไอจี เป็นหนึ่งองค์กรที่พัฒนาและใช้พลังงานทดแทนไฮโดรเจน โดยทั้งบีไอจีและแอร์โปรดักส์ขึ้นชื่อเรื่องความเชี่ยวชาญและเป็นผู้ผลิตพลังงานไฮโดรเจนรายใหญ่ที่สุดของโลกและในประเทศไทย แต่เดิมการใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจนจะถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบสารเคมี แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยการเปลี่ยนผ่านพลังงาน การใช้งานไฮโดรเจนจะขยายไปอยู่ในรูปแบบของพลังงานทดแทนซึ่งจะถูกนำไปใช้งานทั้งในแง่การให้พลังงานความร้อนและการผลิตไฟฟ้าสะอาด ช่วยให้โลกสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 30%

3.Sustainable Offerings

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านความยั่งยืนของบีไอจีมาช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิผล การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพ พร้อมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำในบึงก่อนปล่อยลงไปสู่บึงใหญ่ในสวนเบญจกิติ ด้วยนวัตกรรมออกซิเจนบริสุทธิ์เพื่อลดปริมาณน้ำเสีย แทนที่การใช้กังหันลมและสารเคมี ส่งผลให้น้ำดีมากยิ่งขึ้น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 675 ต้น

4.Carbon Management Platform

นำแพลตฟอร์มดิจิทัล พร้อมเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาปรับใช้เพื่อบริหารการปล่อยคาร์บอนในแต่ละกิจกรรมขององค์กรให้ตอบโจทย์เป้าหมายของการก้าวเข้าสู่ Net Zero

5.Bio Circular Green

การนำ BCG Model Bioeconomy เศรษฐกิจชีวภาพ Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน และ Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อมาใช้ในการผลิตพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ด้วยเทคโนโลยีทั้ง 5 อย่างนี้ จะเป็นเครื่องมือที่นำพา ‘บีไอจี’ ก้าวเข้าสู่ Net Zero ตามเป้าหมายที่วางไว้ภายในปี 2050 โดยในปัจจุบันการดำเนินการด้านการลดก๊าซคาร์บอนดำเนินการไปแล้วกว่า 25 เปอร์เซ็นต์

[ “เทคโนโลยีดูสวยหรูเมื่อเป็นคำพูด” บีไอจี ไม่ต้องการให้มันสวยเพียงแค่คำพูด  “การลงมือทำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ” ]

การลงมือทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน คือลงมือทำในสิ่งที่เราเชี่ยวชาญ ลงมือทำเพื่อให้เป็นที่สุด และเป็นคนแรกของอุตสาหกรรม

เริ่มต้นด้วย ‘ไฮโดรเจน’ ในอดีตเราใช้ไฮโดรเจนในรูปแบบของสารเคมีมาตลอด การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้งานที่จะนำไปใช้ในลักษณะของพลังงานต้องทำอย่างไร? 

‘Air Products’ บริษัทแม่ของ บีไอจี ดำเนินการเกี่ยวกับไฮโดรเจนในระดับโลกไปแล้วกว่า 15,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ 45 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในประเทศไทย

ตัวอย่างของระดับโลก Blue Hydrogen / Ammonia – ลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ผลิตไฮโดรเจนโดยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการกักเก็บพวกมันไว้ 

และโครงการผลิต Green Hydrogen/Ammonia ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ซาอุดิอาราเบีย โดยผลิตกรีนไฮโดรเจนจากน้ำทะเลด้วยไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และกังหันลม แล้วเปลี่ยนไฮโดรเจนให้อยู่ในรูปแบบของกรีนแอมโมเนียเพื่อสะดวกต่อการขนส่งไปในหลายทวีป

ในขณะที่ตัวอย่างของประเทศไทย BIG ก็ได้ริเริ่มการใช้พลังงานไฮโดรเจนในยานพาหนะครั้งแรกของประเทศไทยที่เราเรียกว่า Hydrogen for Mobility  ด้วยการนำไฮโดรเจนมาทำปฏิกิริยากับเซลล์เชื้อเพลิง หรือที่เราเรียกว่า fuel cell จนเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฮโดรเจนที่ใช้งานคือ ไฮโดรเจนสะอาดที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยนำมาใช้ในมิติของการคมนาคม ยานพาหนะจึงถูกขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากไฮโดรเจนโดยปราศจากการปล่อยมลพิษ

 นอกจากนี้ บีไอจียังริเริ่มนำเอาไฮโดรเจนไปใช้ในอีกหลายภาคส่วน เช่น

‘Heavy Industries’ บีไอจี สามารถนำไฮโดรเจนมาใช้งานกับอุตสาหกรรมหนักได้ เช่น การผลิตเหล็ก ซีเมนต์ เคมี  ด้วยการเป็นบทบาทของ ‘การให้ความร้อน’ แทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

‘Power Generation’ บีไอจี ใช้งานไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้าทั้งในรูปแบบของการผลิตไฟฟ้าแบบปัจจุบันโดยใช้ไฮโดรเจนทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และ การผลิตไฟฟ้าจากตัวเก็บไฟฟ้าที่เรียกว่า Energy Storage โดยแปลงไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์ที่เกินความต้องการใช้งานในช่วงกลางวันให้มาเก็บอยู่ในรูปของไฮโดรเจน และ แปลงไฮโดรเจนที่กักเก็บไว้ผ่านเซลล์เชื้อเพลิงให้กลับไปเป็นไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า

ทั้ง 3 รูปแบบการใช้งานล้วนเป็นสิ่งที่ บีไอจี ลงมือทำด้วยความเชี่ยวชาญ ลงมือทำเพื่อให้เป็นที่สุดในด้านนี้ และเป็นคนแรกของอุตสาหกรรม เราจึงเห็นภาพชัดเจนของการเปลี่ยนผ่านทางการใช้พลังงานด้วย ‘ไฮโดรเจน’

การลงมือทำของ บีไอจี เป็นการขับเคลื่อนที่เข้าถึงได้ ส่งมอบคุณค่าให้กับสังคม สิ่งแวดล้อม และองค์กร เป็นความยั่งยืนที่เปรียบเสมือนโอกาสของการเติบโต ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม และสร้างความปลอดภัยอย่างแท้จริง

[ ปัญหาเรื่อง ‘Climate Change’ คือโอกาสของพวกเรา ]

ท้ายที่สุดนี้ Climate Change เป็นภัยคุกคามของมนุษย์ แต่มันก็เป็นโอกาสที่สำคัญของมนุษย์เช่นกัน บีไอจี เข้าใจเป็นอย่างดีว่าปัญหานี้จะต้องแก้ไขด้วยพลังงานสะอาดปริมาณมหาศาล ดังนั้น เราต้องโฟกัสไปที่วิธีการว่าทำอย่างไรเราถึงจะมีผู้ที่สามารถผลักดันการเปลี่ยนพลังงานได้มากที่สุด ความถนัดของเราสามารถสร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และการร่วมมือกับอุตสาหกรรมที่แตกต่างและหลากหลายได้อย่างไร?

เราไม่สามารถรอได้แล้ว บีไอจี จึงอยากเป็นผู้นำที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างอนาคตที่สะอาด และพามนุษยชาติก้าวข้ามความท้าทายด้าน Climate Change ไปด้วยกัน

บีไอจี เป็นบริษัทในเครือ Air Products จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนในประเทศไทย เป็นผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นผู้นำทางด้าน ‘Climate Technology’ ที่พร้อมลงมือ เปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหา Climate Change อย่างต่อเนื่องเพื่อโลกที่ดียิ่งขึ้น

รู้จักกับ บีไอจี ให้มากยิ่งขึ้น คลิก