LOADING

Type to search

‘Modular Design’ จุดร่วมที่ทำให้ ‘Ichiran Ramen’ มีความคล้ายกับ ‘IKEA’

‘Modular Design’ จุดร่วมที่ทำให้ ‘Ichiran Ramen’ มีความคล้ายกับ ‘IKEA’
Share

‘Ichiran Ramen’ หรืออีกชื่อหนึ่งที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยคือ ‘ราเมงข้อสอบ’ สุดยอมแบรนด์ราเมงที่มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และผู้ที่หลงใหลในวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น

เอกลักษณ์ของ Ichiran Ramen คือ การออกแบบ การจัดวางโต๊ะสำหรับทานราเมง ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าคุณกำลังทำข้อสอบอยู่ ดึงดูดผู้คนมากมายให้มาใช้บริการ จนกลายเป็นแบรนด์ราเมงที่มีความแข็งแรงในตลาดอย่างมากแบรนด์หนึ่ง

[ เพราะอะไร ‘Ichiran Ramen’ ถึงเป็นแบรนด์ราเมงที่แข็งแรงมากในประเทศญี่ปุ่น ]

จุดเริ่มต้นของ Ichiran Ramen เกิดที่ฟุกุโอกะ ประมาณปี 1960 ด้วยการเป็นแผงที่มีชื่อว่า ฟุตาบะ ราเมง (Futaba Ramen) ขายราเมงทงคตสึ (กระดูกหมู) ทั่วไปที่ไม่ต่างอะไรจากร้านอื่นๆ ในระแวกมากนัก แต่สิ่งที่โดดเด่นจากร้านอื่นคือน้ำซุปกระดูกหมูที่ข้นขุ่นซึ่งใช้เวลาเคี่ยวนานมาก (ในปัจจุบันมีการเปิดเผยว่าสูตรของน้ำซุปนี้มีผู้รู้เพียงแค่ 4 คนเท่านั้น) 

จนกระทั่งปี 1993 ทางแบรนด์เริ่มขยายธุรกิจอย่างจริงจัง ส่งผลให้เกิดการส่งออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง นิวยอร์ก อีกด้วย

นอกจากความเป็นราเมงทงคตสึที่มีน้ำซุปกระดูกหมูรสเลิศแล้ว การออกแบบที่สถานที่นั่งรับประทานที่ส่งผลให้เกิดการนิยามขึ้นว่า Ichiran Ramen คือ ราเมงข้อสอบ ก็เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่ทำให้แบรนด์มีความแข็งแรง และได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น

ลักษณะของการออกแบบจะให้ความรู้สึกเหมือน ‘ห้องส่วนตัว’ มีที่กั้น 2 ฝั่ง ตรงหน้าของลูกค้าจะมีม่านที่สามารถเปิดปิดเพื่อยื่น ‘ข้อสอบ’ (รายการอาหารที่สั่ง) ให้กับพนักงานได้ โดยในรายละเอียดการสั่งก็จะได้รับความรู้สึกที่เหมือนกับว่าคุณกำลังทำข้อสอบอยู่เลย มีตัวเลือกมากมายให้คุณตัดสินใจ เช่น ลักษณะของเส้น ลักษณะของน้ำซุป เป็นต้น สร้างบรรยากาศที่ทำให้คุณเป็นผู้ออกแบบจานอาหารด้วยตัวคุณเอง

เพิ่มเติมความโดดเด่นของแบรนด์ ความลับที่มีชื่อว่า ‘Ichiran-no-tare’ เป็นเครื่องปรุงรสสูตรลับของ Ichiran Ramen ที่ทำให้ราเมงที่ออกมานั้นมีความพิเศษเหนือกว่าราเมงทั่วไปในญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นความแข็งแกร่งของแบรนด์ที่สามารถดึงดูดได้ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวให้มาเป็นผู้ใช้บริการได้

นักท่องเที่ยวหลายๆ คนได้ให้ความเห็นว่า ‘Ichiran Ramen’ เป็นแบรนด์ที่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับประทาน ราคาเข้าถึงได้ง่าย มีการจัดการคิวที่สะดวกรวดเร็ว เป็นราเมงที่มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญการออกแบบร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนทำข้อสอบเป็นจุดแข็งที่ยากจะเลียนแบบโดยแบรนด์ราเมงเจ้าอื่นๆ 

เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจริงๆ

[ ‘Modular Design’ ของ ‘IKEA’ ]

มาถึงเรื่องหลักที่บทความของเราอยากจะนำเสนอในวันนี้คือแนวคิดเรื่อง Modular Design เป็นแนวคิดที่ว่าด้วย “การออกแบบที่คำนึงถึง การถอด และการประกอบกลับเข้าไป ได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้การซ่อมแซม เปลี่ยนแปลง และพัฒนาเป็นไปได้ โดยไม่ต้องทำลายองค์ประกอบอื่นๆ ของระบบ ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางใน สายงานการผลิต”

อีกทั้งยังเป็นแนวคิดที่ ‘IKEA’ แบรนด์ผลิตฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านชื่อดังระดับโลก ยึดเป็นหลักในการผลิตสินค้า 

แนวคิด Modular Design ในฉบับของ IKEA ถูกใช้ในการผลิตสินค้าของแบรนด์ โดยมีจุดประสงค์ว่าสินค้าของแบรนด์จะต้องออกแบบมาให้มีความง่ายในการขนส่ง และลูกค้าต้องสามารถประกอบได้ด้วยตนเอง ถ้าอยากถอดเพื่อปรับเปลี่ยนก็ต้องทำได้ด้วยความง่ายดาย 

ใจหลักสำคัญของแนวคิดนี้ในบริบทของแบรนด์ คือ การออกแบบที่สามารถส่งมอบคุณค่าของ ‘ความง่าย’ ให้ลูกค้าได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

[ จุดร่วมที่ทำให้ ‘Ichiran Ramen’ มีความคล้ายกับ ‘IKEA’ ]

ข้างต้นเราได้กล่าวถึงแนวคิด Modular Design ในบริบทของ IKEA แล้ว ตอนนี้เรามามอง ‘จุดร่วม’ ที่ทำให้ Ichiran Ramen มีความคล้ายกับ IKEA 

ก่อนอื่นทั้งสองแบรนด์มีความคล้ายที่แตกต่างกันในมุมมองของแนวคิด ทางฝั่งของ IKEA จะใช้แนวคิดในเชิงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบคุณค่าความง่ายดายให้กับลูกค้า แต่ในฝั่งของ Ichiran Ramen มีความเป็น Modular Design ในเชิงการออกแบบบริการเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับประสบการณ์ของลูกค้า ด้วยลักษณะเด่นที่ผู้คนนิยามให้ คือ ราเมงข้อสอบ

ลักษณะเด่นของการออกแบบวิธีการรับประทานราเมง ที่มีเอกลักษณ์ของความสันโดษ ออกแบบมารองรับลูกค้าที่ต้องการความเป็นส่วนตัว พร้อมกับข้อสอบ หรือ การสั่งอาหารที่สามารถระบุความต้องการได้อย่างเป็นปัจเจกบุคคล

ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือนกับ IKEA ที่ให้ความสำคัญกับความง่ายโดยการใช้แนวคิดเพื่อการออกแบบการผลิต ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ แต่ Ichiran Ramen ก็ประยุกต์แนวคิดมาใช้ในการออกแบบบริการเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า 

ดังนั้น ทั้ง 2 แบรนด์ ‘Ichiran Ramen’ และ ‘IKEA’ จึงมีจุดร่วมที่สร้างความคล้ายคลึงซึ่งกันและกัน เพียงแค่ส่งมอบคุณค่าที่แตกต่างกันตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์

Sources: https://d3.harvard.edu/platform-rctom/submission/ikea-modularizing-design-and-value/?fbclid=IwAR3FSAg_slCKEa9TQ_vWAgjDg3VJby6KoZX_dmS09hyp_ElhfgHbMfgG8F8

https://www.tokyoramentours.com/post/ichiran-ramen-guide

https://wafuu.com/en-th/blogs/know-japan-wafuu/discover-the-secrets-of-ichiran-a-famous-ramen-restaurant-in-japan

https://medium.com/japanwithlove/why-i-love-ichiran-ramen-58e7b2b73bbd

https://japantoday.com/category/features/food/people-in-japan-vote-for-their-favorite-ramen-chain-with-surprising-results

https://medium.com/the-omnivore/the-real-reason-i-love-ichirans-ramen-68893ae0abeb

https://u-next.com/blogs/product-management/modular-design/

Tags::

You Might also Like