-->
เคยไหมที่พูดกับตัวเองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่าง ทำไมฉันถึงตั้งนาฬิกาปลุกเช้าขนาดนี้กันนะ ผมยาวแล้วต้องหาเวลาไปตัดแต่งซะหน่อย โอ้ยลืมกุญแจบ้านอีกแล้วพร้อมอารมณ์หงุดหงิดก่อนที่คุณจะตระหนักได้ว่าคุณกำลังพูดคนเดียวท่ามกลางคนอื่นที่มองคุณเป็นตาเดียว
คุณกำลังทำอะไรผิดแปลกอยู่หรือเปล่า? คำตอบคือไม่ใช่หรอก นั่นคือเรื่องปกติต่างหาก เพราะการพูดคนเดียวไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอะไร มันคือการสื่อสารที่พวกเราทุกคนเคยทำ
วันนี้ Future Trends จะพามาดูบทเรียน “Is it normal to talk to yourself” โดย TED-Ed ที่จะพูดถึงการพูดคนเดียวคือเรื่องธรรมดา
ความคิดอย่าง “ฉันพูดคนเดียว ถ้าคนอื่นเห็นต้องคิดว่าฉันมีปัญหาทางจิตแน่เลย ช่างน่าอายอะไรอย่างนี้” เป็นหนึ่งในความคิดที่พบเจอได้เป็นปกติของสังคม แต่ในทางการศึกษาด้านจิตวิทยา ‘การพูดคนเดียว’ เป็นเรื่องที่ ‘ปกติมาก’
เพราะในความเป็นจริง มนุษย์ทุกคนล้วนที่จะเคยพูดกัยตัวเอง อาจจะพูดกับตัวเองทุกวันเลยก็ได้ เราแค่ไม่ทันสังเกต แต่ทำไมเราถึงต้องทำอย่างนั้นกัน มันสำคัญอย่างไร?
การพูดคนเดียว สามารถอ้างอิงได้ถึง การเล่าเรื่องที่อยู่ในหัวของเรา หรือเรียกว่า ‘Inner Speech’ มันจะไม่ใช่การจินตนาการภาพในหัว แต่เป็นการเล่าเรื่องราวที่ออกมาจากข้างในหัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องมที่เกิดขึ้นจริง หรือความกังวลมันสามารถถูกถ่ายทอดแแกมาได้ทั้งสิ้น
หามองให้มุมมองของนักวิทยา พวกเขาได้ให้คำนิยามขอบ การพูดกับตัวเอง ว่า เป็นการพูดที่ส่งตรงมาจากชีวิตจริงของคุณ หรือ การพูดจากประสบการณ์ที่คุณเคยพบเจอ ดังนั้นการพูดคุยกับตัวเอง เปรียบเสมือนการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นภายในหัวเรา มันอาจจะเชื่อมโยงกับแนวคิดในการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้อีกด้วย
จุดเริ่มต้นของการพูดคนเดียวในชีวิตของเรา คือ ‘ช่วงวัยเด็ก’ ช่วงเวลาที่เรากำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากที่สุด ตัวเราในวัยเด็กจะเห็นภาพจำของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่พูดคุยกับเรา เป็นการสื่อสารเบื้องต้น เราในวัยเด็กจะพยายามอย่างมากในการสื่อสารกับสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากพวกเขา เช่น ของเล่น ตุ๊กตา สัตว์เลี้ยง จึงเป็นปฐมบทของการสร้างบทสนทนาที่พูดคุยกับตัวเอง
ในปี 1930 นักจิตวิทยาชาวรัซเซีย Lev Vygotsky บอกว่าการพูดคุยกับตัวเองในวัยเด็กเป็น ‘กุญแจ’ สำคัญในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร การพูดคุยกับผู้อื่น เด็กที่ชอบพูดกับตัวเองมีโอกาสในการเข้าสังคมได้ง่ายกว่าเด็กที่ไม่ค่อยพูด นอกจากนี้การฝึกฝนพูดคุยของเด็กจะทำให้พวกเขาควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของพวกเขาเองได้
ดังนั้น การพูดคุยคนเดียวจึงไม่ใช่ สิ่งที่ควรถูกระบุว่าเป็นปัญหาทางจิตโดยสังคม เพราะว่ามันคือการพัฒนาตัวเองตั้งแต่เด็กของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเติบโตขึ้นการพูดคุยกับตัวเองจะถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของ Inner Speech มากยิ่งขึ้น จากการที่พูดออกเสียง กลายเป็นพูดในใจ เปลี่ยนแปลงให้บทสนทนาเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น กลายพูดกับตัวเองถึงแม้จะเป็นภายใน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันสามารถทำให้คุณมองภาพรวมของวัน การวางแผน และการจำลองสถานการณ์ที่ยากกว่าเท่าที่ควร ได้ดียิ่งขึ้น
แต่การศึกษาวิจัยไม่สามารถระบุความสมบูรณ์ของการพูดกับตัวเองได้ เนื่องจากความเป็นปัจเจกบุคคลของมนุษย์ การระบุอัตลักษณ์ให้เป็นหมวดหมู่ หรือการเหมารวมจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดที่ไม่ยึดตามความรู้ทางจิตวิทยาโดยตรง
ด้วยเหตุผลนี้ วิทยาศาสตร์จึงมีหน้าที่ในการตอบคำถามสุดพื้นฐาน อย่าง “ทำไมบางคนถึงพูดกับคนเดียวมากกว่าผู้อื่น” “เมื่อเราพูดกับตัวเองสมองส่วนไหนที่ทำงาน?” “แล้วมันแตกต่างจากการพูดแบบมีผู้ตอบรับอย่างไร?” ล้วนเป็นคำถามที่วิทยาศาสตร์ และจิตวิทยามีหน้าที่ในการคลายข้อสงสัย
‘อิทธิพล’ เป็นสิ่งหนึ่งที่ส่งผลต่อความเป็นจริง ทั้งด้านทัศนคติ และการทำงาน การพูดคนเดียวส่งผลทำให้มันดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การพูดคนเดียวยังสร้าง ‘แรงผลักดัน’ ให้กับตัวเองได้อีกด้วย เพราะมันเพิ่มโฟกัส ความั่นใจในตัวเอง สามารถต่อกรกับปัญหาที่เกิดขึ้นรายวันได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่าง นักเทนนิสมืออาชีพ จะพูดคุยกับตัวเองในขณะที่ฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มสมาธิ และความแม่นยำ ประสิทธิภาพในกรฝึกซ้อมจะมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนี้หากเราพูดคนเดียวบ่อยๆ แล้วมันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น “การพูดเล่นกับเพื่อน” จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดความเครียดที่สะสมอยู่ได้อีกด้วย
รูปแบบในการพูดคุยกับตัวเองมีอยู่หลายลักษณะแล้วแต่ความชอบของตัวบุคคล ไม่ว่าจะพูดดังๆ พูดในใจ แต่วิธีการที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ การพูดกับตัวเองโดยตรง ผ่านกระจก หรือผ่านรูปเหมือนของเรา จะสร้างความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
เช่น เมื่อเราเครียดกับการทำข้อสอบ การพูดคุยกับตัวเองสามารถลดความวิตกกังวลลงได้ รูปแบบของการพูดควรจะสร้างแรงผลักดันอย่าง นายฝึกฝนมาเพื่อพิชิตมันนะ การพูดกับตัวเองลักษณะนี้จะทำให้ความเครียด และความกังวลลดลง ส่งผลให้เราโฟกัสได้มากยิ่งขึ้น
ข้อควรระวังในการพูดคนเดียว คือ การพูดคนเดียวแบบพลังบวกจะส่งผลดี แต่การพูดคนเดียวแบบพลังลบจะสร้างผลกระทบอย่างมากจงระวังให้ดี เพราะมันจะกระทบทั้งจิตใจตัวเอง และคนรอบตัว
หลายๆ คนชอบวิจารณ์ตัวเองอย่างรุนแรง เมื่อใดก็ตามที่ติดเป็นนิสัย มันจะส่งผลเสียอย่างมาก ถึงขั้นเป็น ‘พิษ’ ได้เลย ความรุนแรงแบบนี้จะส่งผลไปสู่ครอบครัว และคนใกล้ตัวอีกด้วย
ดังนั้น เราควรที่จะพูดคุยกับตัวเองอย่างใจดี เพื่อสร้างผลดีมากกว่าผลเสีย
“เวลาที่คุณพูดกับตัวเอง จงจำไว้เสมอ จงใจดีกับตัวเอง”
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ การพูดคุยกับตัวเอง จากบทเรียนของ TED-Ed หวังว่าผู้อ่านของ Future Trends จะสามารถนำไปปรับใช้แล้วพัฒนาตัวเองได้ขึ้นไปอีกนะ
เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์
หมายเหตุ TED-Ed คือ แพลตฟอร์มที่เผยแพร่เรื่องราวโดยเฉพาะการศึกษา มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาตัวเองของเด็ก และคุณครู เรื่องราวส่วนมากจึงเป็นเรื่องพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับผู้อ่านทุกวัย
Source: https://www.ted.com/talks/ted_ed_is_it_normal_to_talk_to_yourself