LOADING

Type to search

‘แค่ข้อมูลอาจไม่พอ แต่ต้องวิเคราะห์ต่อเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก’ เมื่อการรู้จักลูกค้า คือ ‘สูตรโกง’ ในการดำเนินธุรกิจ

‘แค่ข้อมูลอาจไม่พอ แต่ต้องวิเคราะห์ต่อเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก’ เมื่อการรู้จักลูกค้า คือ ‘สูตรโกง’ ในการดำเนินธุรกิจ
Share

ในการทำธุรกิจ ‘การตัดสินใจ’ ของผู้ประกอบการ นับเป็นตัวชี้วัดสำคัญว่าทิศทางของธุรกิจจะไปทางไหน แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าการตัดสินใจในแต่ละครั้งจะไม่นำไปสู่ความผิดพลาดจนเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ

เพื่อให้การตัดสินใจทุกครั้งนำไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จ ในวันนี้เราจึงได้เห็นธุรกิจส่วนใหญ่หันมาขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) กันมากขึ้น แต่ในบางครั้งข้อมูลอาจเป็น Fact ทั่วไปที่ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก จึงต้องนำไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์ให้ออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึกเสียก่อน โดยผู้ประกอบการกว่า 49% จากการสำรวจของ Deloitte กล่าวว่าข้อมูลเชิงลึกช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น

วันนี้ Future Trends จึงอยากชวนทุกคนไปดูกันว่าแล้วข้อมูลเชิงลึกนี่มันสามารถแตกแยกย่อยได้อีกกี่ประเภท แล้วข้อมูลเชิงลึกแต่ละประเภทจะมีประโยชน์กับธุรกิจในด้านไหนบ้าง มาดูกัน

Data VS Insight

‘เด็กๆ ไม่ชอบทานผัก’ สมมติว่านี่คือข้อมูลที่ธุรกิจได้รับมา แต่การหาข้อมูลเชิงลึกเราต้องนำไปวิเคราะห์ต่อว่า ทำไม? เด็กจึงไม่ชอบทานผัก ซึ่งอาจวิเคราะห์ได้ว่า ‘เป็นเพราะมีรสขม และเลือกทานเฉพาะอาหารที่รู้สึกว่าอร่อย’

เมื่อได้ข้อมูลเชิงลึกแบบนี้มา ธุรกิจอาจเลือกการแปรรูปผักให้สามารถทานได้ง่ายขึ้น และเปลี่ยนลักษณะให้มีความใกล้เคียงกับขนมแทน ทำให้ธุรกิจยังสามารถใช้ผักเป็นวัตถุดิบได้เหมือนเดิม อีกทั้งยังมีคู่แข่งน้อยลงเพราะธุรกิจอื่นเลือกที่จะหลีกเลี่ยงผักไปกันหมดแล้ว ตรงนี้เองที่เรียกว่าการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งยังมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

จะเห็นได้ว่าข้อมูลเชิงลึกนั้นมีความเฉพาะทางมากกว่าข้อมูลธรรมดาทั่วไป ทำให้ข้อมูลเชิงลึกนั้นแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานในการดำเนินธุรกิจในส่วนต่างๆ ทีนี้เรามาดูกันว่า ข้อมูลเชิงลึกแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง และนำไปใช้งานอย่างไร

1. Customer Insights

ทำความเข้าใจพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า ไปจนถึงเหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจเลิกใช้สินค้าชนิดนั้น เพื่อสร้างสินค้า และบริการได้ตรงจุดกับโจทย์ปัญหาชีวิตที่ลูกค้าเจอ

2. Competitive Insights

เพราะในกลุ่มสินค้า และบริการเดียวกันไม่ได้มีแค่ธุรกิจของเราคนเดียว การทำความเข้าใจจุดแข็ง และจุดอ่อนของคู่แข่งทำให้สามารถออกแบบสินค้า และบริการที่เหนือกว่า ซึ่งจะสร้างโอกาสในการขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในตลาดการแข่งขัน

3. Product Insights

จะเป็นการเจาะลึกไปที่ตัวสินค้าโดยตรง โดยยึดเอาความคาดหวังของลูกค้าเป็นตัวตั้งต้น ทั้งยังรวมไปถึงเรื่องของวัสดุ หรือวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า แม้สิ่งเหล่านี้จะดูเหมือนเป็นส่วนประกอบเล็กๆ แต่จะทำให้แบรนด์ได้ภาพลักษณ์ว่าเป็น ‘ผู้ใส่ใจในรายละเอียด’ อีกด้วย

4. Employee Insights

‘คนทำงาน’ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจ การทําความเข้าใจพนักงาน ช่วยให้สามารถรักษาคนเก่งในที่ทำงานไว้ได้ และยังช่วยดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาเพิ่มได้ด้วย รวมไปถึงการวางแผนคอร์สเรียนต่างๆ เพื่อยกระดับความสามารถของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจโดยตรง

5. Strategic Insights

เพราะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่รักษายอดขายที่ดีไว้ได้ แต่ต้องเติบโตขึ้นได้ด้วย ข้อมูลเชิงลึกในด้านกลยุทธ์มักได้มาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดในเชิงกลยุทธ์ และศึกษาผลกระทบที่ตามมา ไม่ว่าจะมาจากธุรกิจอื่นๆ หรือธุรกิจตัวเอง เราจึงมักได้ยินคำว่า ‘ความผิดพลาด คือบทเรียน’ อยู่เสมอ

แม้การหาข้อมูล และยังต้องนำมาวิเคราะห์ต่อเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกอาจฟังดูเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย แต่ต้องบอกว่าในยุคออนไลน์แบบนี้ การหาข้อมูลอาจไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเกินไป เพราะสามารถใช้เครื่องมือ Social Listening ในการตรวจจับกระแสเทรนด์ และความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริโภคได้ไม่ยาก

โดยเครื่องมือ Social Listening ที่ Future Trends จะมาพูดถึงกันในวันนี้ คือ DOM : Social Listening & Social Analytics Tool (www.insightera.co.th/dom) ที่พัฒนาโดยบริษัท InsightERA (อินไซท์เอรา) ผู้ให้บริการด้าน MarTech แบบครบวงจร ที่สามารถรวบรวมความคิดเห็นจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถสรุปแยกส่วนเป็นความคิดเห็นเชิงบวก เชิงลบ และกลางๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์เป็นข้อมูลเชิงลึกได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่ทาง InsightERA ให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือการออกแบบให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยสลัดภาพความเป็นเครื่องมือการตลาดที่แสนเข้าใจยากออกไปด้วย Interface ที่เข้าใจง่าย ซึ่งทาง InsightERA เรียกว่า ‘Interactive Dashboard’ ที่จะแสดงส่วนสรุปสำคัญของข้อมูลขึ้นมาก่อน โดยผู้ใช้งานสามารถคลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในทุกส่วน เพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การเก็บข้อมูลในยุคนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญคือ ธุรกิจจะจัดการกับข้อมูลที่ได้มาอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ‘สูตรโกง’ ของการทำธุรกิจในยุคนี้เลยทีเดียว

Source: http://bit.ly/3p3auEw

#InsightERA #DOM #InsightData #Business  #FutureTrends #KnowledgeforSuccess

Tags::

You Might also Like