LOADING

Type to search

ปากบอกไม่มีอะไร แต่ข้างในแทบทรุด ‘Duck Syndrome’ ภาวะความเหนื่อยล้าจากปัญหา

ปากบอกไม่มีอะไร แต่ข้างในแทบทรุด ‘Duck Syndrome’ ภาวะความเหนื่อยล้าจากปัญหา
Share

‘เป็ด’ คือหนึ่งในสัตว์ที่มักถูกหยิบยกมาใช้เปรียบเทียบในแง่มุมของการทำงานอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำได้ดีทุกอย่างแต่ไม่สุดสักทาง ตอบไม่ได้ว่า ลึกๆ แล้วชอบอะไร เชี่ยวชาญอะไรกันแน่?, การนำทีมให้ไกล, เทคนิคการแก้ปัญหาสมองตัน ไอเดียตื้อ หรือแม้กระทั่ง ‘Duck Syndrome’ ก็ด้วย

Duck Syndrome คืออะไร เราจะรับมือกับภาวะความเหนื่อยล้านี้ได้ยังไง? ในบทความนี้ Future Trends จะพาไปดูกัน

Duck Syndrome คืออะไร?

duck-syndrome 1

Duck Syndrome คือคำนิยามที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ใช้เปรียบเทียบภาวะความเหนื่อยล้าจากการเรียนของนักศึกษาว่า เหมือนกับเป็ดที่กำลังลอยอยู่บนผิวน้ำอย่างช้าๆ ดูราบรื่น เบาสบาย แต่แท้จริงแล้ว กลับเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ มากมาย

ซึ่งก็คล้ายกับเจ้าของกิจการหรือมนุษย์ออฟฟิศรุ่นใหม่ที่แม้ภายนอกจะดูสวยหรู มีชีวิตที่ดี แต่เบื้องลึกเบื้องหลังคือ การพยายามอย่างหนัก ต่อสู้ดิ้นรน เอาเท้าตะกายใต้น้ำ เพื่อไม่ให้ตัวเองจมลง รู้สึกเครียด ไม่ไหวแล้ว แถมบางครั้งก็ยังกดดันตัวเองด้วยการเปรียบเทียบกับความสำเร็จของคนอื่น

เราจะรับมือกับภาวะความเหนื่อยล้านี้ได้ยังไง?

duck-syndrome 2
Image by DCStudio on Freepik

1. จำไว้ว่า ‘หญ้าไม่ได้เขียวขจีตั้งแต่แรกเสมอไป’

ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ เช่นเดียวกับคนที่ประสบความสำเร็จที่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็ล้วนเผชิญกับความท้าทาย ปัญหามามากมาย เหมือนกับเรือที่แล่นอยู่ในท้องทะเล บางครั้งคลื่นลมก็สงบ แต่บางครั้งก็มีพายุกระหน่ำ ก่อนหน้านี้ พวกเขาก็อาจจะเคยกระเสือกกระสนอย่างหนักเหมือนกับเราก็เป็นได้

2. เผชิญหน้ากับความท้าทาย

ถึงหนทางข้างหน้าจะยาก ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า จะไปถึงปลายทางเมื่อไร จบลงที่ตรงไหน? จงอย่าไปกลัว มั่นใจเข้าไว้ คว้าทุกโอกาสที่เข้ามา เผชิญหน้ากับมัน แล้วก็เชื่อเถอะว่า คุณจะผ่านไปได้เหมือนกับที่เคยผ่านมาในทุกๆ ครั้งนั่นเอง

3. รายล้อมไปด้วยคนที่ต่อใจ

เมื่อรู้สึกไม่ไหว ไม่ต้องกดดันให้ตัวเองเก่ง มี Growth Mindset ตลอดเวลาก็ได้ ถ้าเหนื่อยก็พัก ลองปรึกษาคนรอบตัวดู ทั้งเพื่อน ครอบครัว หรือคนที่รัก เพราะบางทีพวกเขาอาจจะเคยเจอเรื่องราวเหล่านี้มาก่อน อาจจะมีคำแนะนำดีๆ มาเป็นแนวทางให้เรา

อาจารย์คิมรันโด (Dr. Rando Kim) เคยบอกในหนังสือ ‘เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด’ เอาไว้ว่า “ดอกไม้แต่ละชนิดผลิบานในฤดูกาลของมันเอง ตอนนี้อาจจะยังไม่ถึงเวลาของคุณ อาจสายไปหน่อยเมื่อเทียบกับคนอื่น แต่ถ้าฤดูนั้นมาถึง คุณจะงดงามไม่แพ้ดอกไม้ชนิดอื่นเลยทีเดียว”

Sources: https://bit.ly/3VyfDPt

https://bit.ly/3AVAFiZ

https://bit.ly/3UoUs1q

หนังสือ เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด เขียนโดย คิมรันโด

Tags::
Chompoonut Suwannochin

อดีตเด็กฝึกงาน และ Content Creator ประจำเพจ Future Trends จบเอก Creative และการจัดการวัฒนธรรมจากรั้วเหลืองแดง ชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ มี ‘Sarah Salola กับ Jixgo’ เป็นศิลปินคนโปรด เวลาว่างชอบชุบชูใจด้วยการกิน และการไปติ่ง

  • 1

You Might also Like