LOADING

Type to search

เป็นพนักงานต้องอดทน สิบล้อชนต้องไม่ตาย ‘Wolf Culture’ วัฒนธรรมองค์กรสุดโหดที่ทำให้ Huawei กลายเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลก

เป็นพนักงานต้องอดทน สิบล้อชนต้องไม่ตาย ‘Wolf Culture’ วัฒนธรรมองค์กรสุดโหดที่ทำให้ Huawei กลายเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลก
Share

หากเอ่ยถึงแบรนด์มือถือราคาถูก ออปชันเยอะ คงจะไม่มีใครไม่รู้จักหัวเว่ย (Huawei) แบรนด์มือถือแดนมังกรที่แม้จะเกิดขึ้นหลังคู่แข่งรายอื่นๆ และเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทผู้นำเข้าชิ้นส่วนสวิตซ์ตู้สาขาโทรศัพท์เล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 3 คน กับเงิน 5,000 ดอลลาร์ แต่ทุกวันนี้หัวเว่ยก็ได้กลายมาเป็นยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลกที่แซงหน้าแอปเปิล (Apple) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อะไรคือกุญแจสำคัญที่ทำให้หัวเว่ยเติบโตอย่างก้าวกระโดด พนักงานที่นี่เขามีวิธีคิดในการทำงานแบบไหน? ในบทความนี้ Future Trends จะพาไปดูผ่าน Wolf Culture วัฒนธรรมองค์กรแบบผู้ล่าที่ทำให้หัวเว่ยยืนหนึ่งในทุกวันนี้กัน

Wolf Culture คืออะไร?

wolf-culture-at-huawei 1
Image by vladimircech on Freepik

Wolf Culture คือวัฒนธรรมองค์กรแบบผู้ล่าของหัวเว่ยที่ปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมีลักษณะนิสัยเด่นเหมือน ‘หมาป่า’ ที่มีความกระหายเลือด มุ่งมั่น ออกล่าเป็นฝูง ทำงานเป็นทีม และทรหดอดทนต่อความยากลำบาก อย่างเช่น การบริการลูกค้าในพื้นที่สงครามหรือถิ่นทุรกันดาร

Huawei ปลูกฝัง Wolf Culture อย่างไร?

wolf-culture-at-huawei 2

มีเรื่องเล่าว่า พนักงานใหม่ที่เข้ามาทำงนทุกคนจะถูกส่งไปฝึกในแคมป์ 2 สัปดาห์ ที่มหาวิทยาลัยหัวเว่ย (Huawei University) โดยให้อยู่ในหอพัก ตื่นมาออกกำลังกายทุกวันตอนตี 5 ใส่ชุดยูนิฟอร์มเข้าเรียนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสินค้า และวัฒนธรรมองค์กรแบบผู้ล่า หรือที่เรียกว่า ‘Wolf Culture’

ซึ่งในช่วงก่อตั้งบริษัท พนักงานจะได้รับแจกผ้าห่ม และเบาะนอนแบบเดียวกับที่ทหารใช้ เพื่อที่ว่า พอตื่นขึ้นมาก็จะได้ทำงานต่อได้ทันที แถมถ้าเหนื่อยล้าระหว่างวัน ก็จะได้งีบที่ไหนก็ได้ด้วย

โดยทุกวันนี้ ก็ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นที่สำหรับงีบตอนกลางวันไปแล้วนั่นเอง อีกทั้ง ก็ยังมีเรื่องเล่าต่อกันว่า ปัจจุบันหัวเว่ยมีวัฒนธรรมการทำงานหนักภายใต้ ‘หลักการ 996’ คล้ายอาลีบาบา (Alibaba) ที่ทำงานตั้งแต่ 9 a.m. ไปจนถึง 9 p.m. เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ และเคยมีพนักงานถูกขอให้เซ็นต์เอกสารยินยอมไม่ใช้วันลาพักร้อน และไม่รับค่าจ้างการทำงานล่วงเวลาด้วย 

Wolf Culture มีต้นกำเนิดมาจากไหน

wolf-culture-at-huawei 3

จริงๆ แล้ว วัฒนธรรมองค์กรแบบผู้ล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากประสบการณ์ในอดีตของผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างเหริน เจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) ที่เคยเป็นทหารมาก่อน เขาเชื่อในเรื่องความเข้มงวดแบบทหารที่ผู้น้อยหรือพนักงานต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาสูงสุด ไม่มีสิทธิ์โต้เถียง รวมไปถึงก็ยังมีวิธีคิดว่า ต้องการทำให้บรรยากาศบริษัทเหมือนอยู่ใน ‘สนามรบ’ ภาวะสงครามตลอดเวลา และต่อให้สุดท้ายจะต้องพ่ายแพ้ ก็ขอให้ต่อสู้อย่างเต็มที่จนกว่าชีวิตจะหาไม่

อะไรคือสิ่งทำให้บรรดาพนักงานยอมทำงานด้วย Wolf Culture แบบถวายหัว?

แม้จะต้องทุ่มเททำงานหนักแบบแทบไม่มีวันหยุด แต่ก็มีพนักงานจำนวนไม่น้อยเลยที่ยินยอมพร้อมใจอยู่ภายใต้วัฒนธรรมสุดโหดดังกล่าว โดยหลักๆ แล้ว ก็เป็นเพราะค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว และระบบการสร้างแรงจูงใจที่สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน กล่าวคือ หัวเว่ยจะมีการแบ่งหุ้น 1.4 เปอร์เซ็นต์ ให้พนักงาน โดยข้อมูลเมื่อปี 2019 ชี้ให้เห็นว่า มีพนักงานมากถึง 104,572 คน ที่ถือหุ้นดังกล่าว

แม้ Wolf Culture จะเวิร์กกับหัวเว่ย แต่ก็ไม่มีคำตอบตายตัวว่า การทำงานหนัก ฝึกฝนพนักงานอย่างทรหด ชนิดที่เกิดเป็นพนักงานต้องอดทน สิบล้อชนต้องไม่ตายเช่นนี้จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของทุกองค์กรเสมอไป

แล้วคุณล่ะคิดยังไงกับเรื่องนี้? มาแชร์ในคอมเมนต์กัน!

Sources: https://nyti.ms/3WyRFVD

https://wapo.st/3tcNCR6

https://bit.ly/3zSdINc

https://bit.ly/3UfMgRK

https://bit.ly/3zRTfrZ

Tags::
Chompoonut Suwannochin

อดีตเด็กฝึกงาน และ Content Creator ประจำเพจ Future Trends จบเอก Creative และการจัดการวัฒนธรรมจากรั้วเหลืองแดง ชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ มี ‘Sarah Salola กับ Jixgo’ เป็นศิลปินคนโปรด เวลาว่างชอบชุบชูใจด้วยการกิน และการไปติ่ง

  • 1

You Might also Like