Type to search

Multi-Tasking พร้อมกันแล้วไม่เวิร์ก ลองเปลี่ยนเป็น ‘Single-Tasking’ เทคนิคเคลียร์งานให้อยู่หมัด

August 04, 2022 By Future Trends
single-tasking-is-more-effective-than-multitasking

ในบรรดาแนวคิดการทำงานที่เกิดขึ้นมาหลายอย่าง Multi-Tasking ถือเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ได้ยินกันบ่อยที่สุดในทุกวันนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งหมายถึง การทำงานมากกว่า 1 อย่างพร้อมกัน โดยก็เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบรับกับยุคสมัยแห่งความเร่งรีบนี้ หลายคนต่างพยายามผลักดันตัวเองให้สามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อมกัน เพราะคิดว่า ‘นั่นคือวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด’

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำงานแบบ Multi-Tasking ได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป เพราะเดิมที สมองของมนุษย์ ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้โฟกัสกับงานที่ซับซ้อนมากกว่าหนึ่งงานในแต่ละช่วงเวลาด้วย

ดังนั้น Multi-Tasking จึงไม่ใช่วิธีการทำงานที่เหมาะกับทุกคน ในทางตรงกันข้าม การทำงานให้เสร็จไปทีละงาน กลับเป็นเรื่องที่ดูมีประสิทธิภาพมากกว่าซะอีก หากคุณกำลังรู้สึกว่า Multi-Tasking ไม่เวิร์ก ทำหลายอย่างพร้อมกันแล้วไม่ใช่ มาลองเปลี่ยนเป็น ‘Single-tasking’ เทคนิคการทำงานทีละอย่างแบบในบทความนี้กัน

Single-tasking คืออะไร?

single-tasking-is-more-effective-than-multitasking 1

Single-tasking เป็นแนวคิดการทำงานที่มีการโฟกัสงานไปทีละชิ้นอย่างตั้งใจ เนื่องจาก การทำงานหลายอย่างพร้อมกัน และการถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆ นั้นอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพได้ เช่น การแจ้งเตือนใหม่ๆ ทั้งอีเมล แท็บ หรือโปรแกรมงานต่างๆ ที่เปิดไว้ แม้เราจะไม่ได้วางแผน ตั้งใจจะทำงานหลายอย่างพร้อมกันก็ตาม แต่บางครั้งก็มักจะเผลอทำพฤติกรรมแบบนี้โดยไม่รู้ตัวได้

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดการทำงานทีละอย่างโดยมีสิ่งรบกวนที่สุดเท่าที่จะทำได้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อกำจัดสิ่งรบกวนที่ไม่จำเป็นออกไป เราก็สามารถโฟกัสไปยังสิ่งที่สำคัญจริงๆ ได้ แทนที่จะคอยเปิดดูทันทีว่า การแจ้งเตือนแต่ละครั้งมีอะไรใหม่เข้ามา สู้ทำงาน และใช้ชีวิตตามเงื่อนไขจังหวะของเราเองจะดีกว่า ซึ่งการทำแบบนี้อาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานหลายอย่างไปพร้อมกันด้วย

หลัก 3 ข้อของการทำงานแบบ Single-tasking

single-tasking-is-more-effective-than-multitasking 2

1. กำจัดสิ่งรบกวนให้มากที่สุด

สภาพแวดล้อมนั้นส่งผลอย่างมากต่อการทำงานของเรา เพียงแค่เบราว์เซอร์ที่เปิดไว้หลายแท็บก็สามารถดึงความสนใจของเราจากงานตรงหน้าได้แล้ว รวมไปถึงการแจ้งเตือนต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือก็ด้วย ฉะนั้น เพื่อจะโฟกัสกับงานตรงหน้าได้อย่างเต็มที่ การกำจัดสิ่งเหล่านี้ทิ้งไป โดยไม่เปิดแท็บทิ้งไว้ ปิดแจ้งเตือน หรือเปลี่ยนเป็นระบบสั่น ก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป

หากเรายังไม่คุ้นเคยกับการทำงานแบบโฟกัสแค่งานใดงานหนึ่งนานๆ เราสามารถเริ่มต้นแบบค่อยเป็นค่อยไปก่อนก็ได้ เพราะการโฟกัสกับสิ่งไหนนานๆ โดยที่ไม่หยุดพัก ก็อาจทำให้เกิดความฟุ้งซ่านจนเสียสมาธิได้เช่นกัน อาจจะลองเริ่มด้วยการจับเวลา หลังจากนั้น โฟกัสกับงานสักชิ้นให้ได้ 1 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยพัก แบบนี้ไปวนเรื่อยๆ เมื่อเริ่มคุ้นเคยก็ลองเพิ่มระยะเวลาตามความเหมาะสม หรือจะลองใช้เทคนิค Pomodoro เข้ามาช่วยก็ได้

3. พักให้พอแล้วค่อยไปต่อ

เวลาทำงานแล้ว ก็ต้องมีการพัก เพราะสมาธิ และพลังความสนใจของเรานั้นมีขีดจำกัด เมื่อเราใช้สิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่ ก็จำเป็นจะต้องหยุดพักแบบมีคุณภาพด้วย ซึ่งในเวลาพัก ก็ควรให้ร่างกาย และสมองได้พักจริงๆ อย่าเพิ่งหลงไปเช็กอีเมล หรือแจ้งเตือนใดๆ ยืดเส้นยืดสาย เพลิดเพลินกับของว่างให้เต็มที่ มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วทำใจให้ผ่อนคลายที่สุด เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมกลับมาลุยงานต่ออีกครั้ง

การทำงานแบบ Single-Tasking อาจจะดูไม่สอดคล้อง ฟังดูแปลกในบริบทของโลกปัจจุบันที่ทุกๆ อย่างเร่งรีบ และต้องได้ปริมาณผลลัพธ์มากที่สุด แต่อย่างที่บอกไปว่า แนวคิดแบบนั้นไม่ได้เป็นไปธรรมชาติของมนุษย์ที่ร่างกายมีขีดจำกัด อย่างน้อยๆ ก็น่าจะมีบางคนที่รู้สึกว่า ไม่สามารถทำงานแบบ Multi-Tasking ได้ดี แต่ละคนมีวิธีการทำงานที่ถนัดไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานจึงไม่ใช่ความเร็ว หรือปริมาณงานที่ทำได้ในแต่ละครั้ง แต่เป็นวิธีการทำงานที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุดต่างหาก

Sources: https://bit.ly/3JgiIyD
.
https://bit.ly/3ozojXm

Trending

    Future Trends

    Future Trends

    Knowing The Future, Be The Winners of Tomorrow การรู้อนาคตทำให้เราเป็นผู้ชนะของวันพรุ่งนี้