LOADING

Type to search

‘จะตอบโจทย์ให้ตรงใจลูกค้าต้องทำอย่างไร ?’ ส่องแนวคิดการทำงานแบบ ‘SCB Abacus’ เมื่อเทคโนโลยีคือคำตอบของการดำเนินธุรกิจในยุคนี้

‘จะตอบโจทย์ให้ตรงใจลูกค้าต้องทำอย่างไร ?’ ส่องแนวคิดการทำงานแบบ ‘SCB Abacus’ เมื่อเทคโนโลยีคือคำตอบของการดำเนินธุรกิจในยุคนี้
Share

สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนยังหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบ เป็นเพราะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับคนบางกลุ่มเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทำให้คนเหล่านี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 100-200% ต่อปี ในขณะที่เงินกู้ในระบบมีอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าหลายเท่า และเมื่อดูตัวเลขสถิติพบว่าหนี้เงินกู้นอกระบบโดยรวมของไทย ในปี 2021 อยู่ที่ 85,000 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นกว่าปี 2020 ถึง 78%

วันนี้เราจึงอยากชวนมาคุยกับคุณพงศ์ไทย จันทร์พวง Chief Technology Officer (CTO) จาก SCB Abacus ว่า กว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน ‘เงินทันเด้อ’ (MoneyThunder) ในวันนี้ มีแนวคิดการออกแบบ หรือเทคโนโลยีอะไรที่เป็นหัวใจหลักบนตัวแอปพลิเคชัน จนมียอดผู้ใช้งานกว่า 8 ล้านรายในปัจจุบัน และช่วยแก้ปัญหาการเงินของคนไทยได้อย่างตรงจุด

โดยคุณพงศ์ไทย ได้เล่าว่า สำหรับที่ SCB Abacus ‘เทคโนโลยี’ นับเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนองค์กร โดยยึดหลักการทำงานแบบ Data-Driven Organization หรือเรียกได้ว่าเป็นเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย ‘ข้อมูล’ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง หรือการตลาด จะใช้ข้อมูลจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาหาแนวทางสู่เส้นทางที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด และเดินไปตามเส้นทางนั้น ทำให้ SCB Abacus สามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ ตรงใจลูกค้า เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของคนไทยได้อย่างตรงจุด

โดยทาง SCB Abacus ได้พัฒนาระบบวิเคราะห์สินเชื่อ ในชื่อ ‘ACT Engine’ (Abacus Core Technology) ซึ่งจะสามารถแบ่งการทำงานของระบบนี้ได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

Data Analytics – เป็นการนำข้อมูลจำนวนมาก หลากหลายมิติ (Big Data) มาประมวลผลแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสภาพเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงนับเป็นโจทย์ความท้าทายของทีมคนทำงานด้านเทคโนโลยี ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ โดยยังคงคุณภาพของผลลัพธ์เอาไว้ได้ ซึ่ง SCB Abacus มีทีมทำงานผู้เชี่ยวชาญด้าน Machine Learning ที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ได้เป็นอย่างดี

Software – หรือแอปพลิเคชัน MoneyThunder ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ใช้ในการเชื่อมต่อ และให้บริการลูกค้า โดยแนวคิดการออกแบบซอฟต์แวร์ตัวนี้คือ การวางเส้นทางการใช้งานของลูกค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการขอสินเชื่อไปจนถึงการรับเงิน ให้สามารถทำได้ในแอปพลิเคชันเดียวโดยไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งซอฟต์แวร์ตัวนี้จะให้บริการอยู่บน ‘Cloud Platform’ ที่สามารถรองรับปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมากได้ และมีความปลอดภัยสูง

แม้วันนี้แอปพลิเคชัน MoneyThunder จะทำงานได้เป็นอย่างดี แต่คุณพงศ์ไทยมองว่า การพัฒนาของระบบ ‘ACT Engine’ ยังสามารถพัฒนาต่อยอดขึ้นไปอีกได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ซึ่งนอกจากการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ บนตัวแอปพลิเคชันแล้ว ทาง SCB Abacus ยังมีการเพิ่ม ‘ข้อมูลทางเลือก’ (Alternative Data) รูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้า และพัฒนาความสามารถในการประมวลผลของระบบไปพร้อมๆ กัน ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่เหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทำ A/B Testing เพื่อหารูปแบบในการให้บริการที่ตอบโจทย์ และตรงใจลูกค้าอยู่เสมอ 

ทั้งนี้ ทางคุณพงศ์ไทย ได้แชร์กับเราว่า จากการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน  เพื่อดูผลลัพธ์ว่า Solution ทางการเงินนี้สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตทางการเงินของผู้ใช้งานได้อย่างไรบ้าง พบว่ากว่า 50% เคยถูกปฏิเสธการยื่นกู้จากธนาคารมาก่อน นอกจากนี้ลูกค้าคนอื่นๆ ยังได้เล่าให้เราฟังอีกว่าพวกเค้าได้รับเงินกู้เป็นครั้งแรกจาก MoneyThunder จึงนับเป็นความภูมิใจของ SCB Abacus ที่สามารถเปิดประตูสู่โอกาสในการเข้าถึงเงินทุนให้ผู้คนจำนวนมากได้

แต่ภารกิจของ SCB Abacus ยังไม่จบ และการจะเดินหน้าสู่เป้าหมายต่อไปที่ใหญ่ขึ้น ทางองค์กรจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านศักยภาพ และความรู้ของ ‘คนทำงาน’ (Talent) ในองค์กร โดยคุณพงศ์ไทยเล่าให้เราฟังว่า ทาง SCB Abacus มีแนวทางการส่งเสริมศักยภาพของคนทำงานในหลายรูปแบบ เช่น การส่งเสริมให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติม ทั้งจากการศึกษาด้วยตนเอง หรือคอร์สออนไลน์ต่างๆ เพื่อเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้กับการทำงาน

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการ ‘โค้ชชิ่ง’ (Coaching) โดยให้รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์สูง หรือบางท่านเคยทำงานกับองค์กรระดับโลกมาแล้ว คอยช่วยเหลือสอนน้องๆ Junior อยู่เสมอ ซึ่งการได้ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งจากหลากหลายสาขา ทำให้น้องๆ สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 

สำหรับรูปแบบการจัดทีมที่ SCB Abacus ก็มีความแตกต่าง เพราะใช้หลักการจัดทีมแบบ ‘Squad’ ซึ่งประกอบด้วยคนทำงานจากหลายหน้าที่ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักออกแบบ หรือนักการตลาดที่มีเป้าหมายหน้าที่ในงานเดียวกัน มารวมเป็นหนึ่งทีมเพื่อหา Solution มาแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลากับการส่งเรื่องผ่านแผนกต่างๆ และทำให้พนักงานทุกคนได้มีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการต่อไปอย่างไรเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น การทำงานที่ SCB Abacus จึงเป็นลักษณะของ ‘Cross Functional’ จริงๆ โดยไม่มี ‘Silo’ หรือความคิดว่า ‘ตัวใครตัวมัน’ เกิดขึ้นในองค์กรเลย 

เพราะภารกิจในการนำเทคโนโลยีมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำของ SCB Abacus นั้นจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ทางคุณพงศ์ไทยจึงมองว่าเป็นความท้าทายของตัว ‘Talent’ เองด้วย ว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไรให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งเป็นการทำงานกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาขึ้นในทุกๆ วัน คนทำงานยิ่งต้องเรียนรู้จากการลงมือทำจริง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดต่อการเรียนรู้ เพื่อให้องค์กรสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทัน และไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ

ศึกษารายละเอียดตำแหน่ง Talent ที่ SCB Abacus กำลังมองหาได้ที่ลิงก์นี้เลย: https://www.scbabacus.com/career

Tags::

You Might also Like