LOADING

Type to search

PDPA ไม่ใช่เรื่องยาก ธุรกิจต้องทำอย่างไร ให้สอดคล้องพ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA ไม่ใช่เรื่องยาก ธุรกิจต้องทำอย่างไร ให้สอดคล้องพ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล
Share

หลังจากที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act) หรือ PDPA ได้เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 มาตรฐานของธุรกิจในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการก็ถูกยกระดับขึ้น ซึ่งเป็นการเดินหน้าที่ดีในยุคที่ข้อมูลมีมูลค่ามหาศาล และผู้คนต่างให้ความสำคัญกับข้อมูลของตนเองมากขึ้น

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในฉบับนี้ก็ถูกร่างขึ้นมาเพื่อปกป้องประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลอันเป็นส่วนตัวตั้งแต่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ไปจนถึงประวัติสุขภาพ และอื่น ๆ ถูกผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตนำไปใช้งานได้

นอกเหนือจากนี้การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ผู้ใช้บริการ ไปจนถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ว่ามาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในธุรกิจที่ดำเนินตามข้อกำหนดของ PDPA นั้นจะมีประสิทธิภาพ และป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลได้

แต่เมื่อพูดถึงความพร้อมของธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล อาจไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อมและความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามข้อกำหนดใหม่นี้

แม้จะเป็นเช่นนั้น การทำธุรกิจให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยาก

แต่เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร ตามมาดูกัน

ทำไม PDPA ถึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับธุรกิจ??

ก่อนที่เราจะเข้าใจว่า PDPA ต้องทำอย่างไร เรามาดูกันว่าความท้าทายอะไรที่ทำให้ PDPA เป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจ

[Complexity] – ความยุ่งยาก

PDPA อาจถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลายธุรกิจ และต้องอาศัยความเข้าใจในการเตรียมความพร้อม ไปจนถึงการเตรียมกระบวนการต่าง ๆ ในการขอความยินยอม และจัดเก็บข้อมูล

[Chaos] – ความวุ่นวาย

แม้จะมีความเข้าใจ PDPA ในเบื้องต้นแล้ว บางธุรกิจอาจยังเผชิญกับความไม่มั่นใจ ว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ได้ทำไปนั้นเพียงพอแล้วหรือยัง หรือยังตกหล่นองค์ประกอบไหนในการดำเนินตาม PDPA อยู่อีกบ้าง

[Budget] – งบประมาณ

นอกเหนือจากความเข้าใจ และการเตรียมความพร้อมธุรกิจให้เป็นไปตาม PDPA แล้ว งบประมาณในการดำเนินการเพื่อดูแล และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็เป็นอีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายให้กับธุรกิจ เพราะส่วนมากแล้วธุรกิจไม่รู้ว่าต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการดำเนินการให้เป็นไปตาม PDPA และมักมีงบประมาณที่จำกัด

[Support Audit Policy] – การตรวจสอบ

แม้ว่าธุรกิจจะมีการดำเนินการเพื่อทำธุรกิจให้เป็นไปตาม PDPA แล้ว แต่ธุรกิจก็ยังต้องเตรียมความพร้อม และรักษามาตรฐานของตนเองให้ผ่านการตรวจสอบด้านการเก็บรักษา การใช้ และการเผยแพร่ข้อมูลให้ได้อีกด้วย

[Avoid Costly Lawsuit] – คดีความทางกฎหมาย

และสิ่งสำคัญที่สุดที่ธุรกิจต้องการหลีกเลี่ยง คือคดีความทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งแม้ธุรกิจจะมีการดำเนินการตามข้อกำหนดของ PDPA แล้ว แต่ก็ยังอาจขาดตกบางองค์ประกอบซึ่งสามารถนำไปสู่คดีความทางกฎหมายได้

ทั้งหมดนี้คือความท้าทายที่ธุรกิจต้องเผชิญหลังจากที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ได้ถูกบังคับใช้ แต่การทำตาม PDPA ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยาก แต่มีข้อกำหนดอะไรบ้างที่ธุรกิจจะต้องทำตาม?

ธุรกิจต้องทำอย่างไร ให้เป็นไปตาม PDPA??

จุดประสงค์หลักของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA คือการกำหนดให้ธุรกิจที่ถือครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) จะต้องให้ความคุ้มครองด้านข้อมูลกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพนักงานผู้ทำงานอยู่ในธุรกิจนั้นด้วย

ซึ่งการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ธุรกิจจำเป็นจะต้องดำเนินให้แก่เจ้าของข้อมูลสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน

1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

  • ต้องมีการจัดทำ Privacy Policy แจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ ว่าจะขอข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใด
  • ต้องมีการแจ้งสิทธิของเจ้าของข้อมูล ว่าสามารถถอนความยินยอมได้ทุกเมื่อ
  • การขอจัดเก็บ Cookie จะต้องแจ้งเพื่อขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้งานเสมอ
  • การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานก็จำเป็นจะต้องมีนโยบายความเป็นส่วนตัวสำหรับพนักงาน (HR Privacy Policy) ด้วยเช่นกัน

2. การใช้หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  • ธุรกิจควรมีแนวทางหรือนโยบายในการดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคล (Standard Operating Procedure)
  • จดทำบันทึกรายการข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บหรือใช้ (Records of Processing Activity: ROPA)
  • ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลที่ไม่มีความรับผิดชอบโดยตรง

3. มาตรการด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

  • ธุรกิจต้องกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล (Minimum Security Requirements)
  • กำหนดนโยบายการเก็บข้อมูล และการทำลายเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคล (Data Retention)
  • จัดทำกระบวนการแจ้งเจ้าของข้อมูลเมื่อเกิดการรั่วไหล (Breach Notification Protocol)

4. การส่งหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  • หากมีการส่งต่อข้อมูลเพื่อนำไปใช้งาน จะต้องมีการทำสัญญาข้อตกลงกับผู้ให้บริการภายนอก (Data Processing Agreement)
  • หากมีการนำข้อมูลออกนอกประเทศ จะต้องมีการทำสัญญาเพื่อคุ้มครองข้อมูลตามมาตรฐาน PDPA
  • การกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล
  • ธุรกิจหรือองค์กรที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลควรมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล หรือ DPO (Data Protection Officer) คอยดูแล

ทั้งหมดนี้คือกระบวนการอย่างคร่าว ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณเป็นไปตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA

ซึ่งการดำเนินการตาม PDPA นี้ไม่ใช่เพียงแค่การทำธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างมาตรฐานในการคุ้มครองลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ และยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจอีกด้วย

มากกว่าเรื่องกฎหมาย ธุรกิจได้อะไรจาก PDPA??

แม้การทำธุรกิจให้เป็นไปตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จะเป็นข้อกำหนดที่สำคัญทางกฎหมาย แต่ประโยชน์ที่ธุรกิจสามารถได้รับจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPA ไม่ใช่แค่ความถูกต้องทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจ ยกระดับมาตรฐานธุรกิจ และเตรียมความพร้อมธุรกิจในการเติบโตสู่ระดับสากล

1. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้ใช้บริการ

ในวันนี้ผู้คนให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้น และไม่ต้องการให้ข้อมูลส่วนตัวของตนเองตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี ดังนั้นลูกค้า และผู้ใช้บริการในวันนี้จึงให้ความสำคัญกับวิธีการที่ธุรกิจปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขามากขึ้น มาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA เป็นส่วนสำคัญในเรื่องนี้ ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจและองค์กรได้

2. ยกระดับมาตรฐานการบริการให้กับธุรกิจ

การเก็บรักษา และดูแลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นส่วนสำคัญในการปกป้องและดูแลลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ การปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PDPA โดยสมบูรณ์ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และยกระดับมาตรฐานในการบริการให้กับธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่มีส่วนร่วมในธุรกิจ และช่วยให้ธุรกิจพร้อมสำหรับการเติบโตมากยิ่งขึ้น

3. สร้างความพร้อมธุรกิจสู่ระดับสากล

ความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในยุคสมัยที่ข้อมูลส่วนบุคคลมีมูลค่ามหาศาล และผู้คน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ล้วนต้องการที่จะปกป้องดูแลข้อมูลเหล่านี้ PDPA คือมาตรฐานหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกับมาตรฐานในการคุ้มครองความปลอดภัยอื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกได้ เช่น GDPR (General Data Protection Regulation) ที่ถูกบังคับใช้อยู่ในสหภาพยุโรป ที่บังคับให้ธุรกิจที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลใด ๆ ก็ตามกับธุรกิจที่อยู่ในสหภาพยุโรปจะต้องดำเนินการด้วยมาตรฐานเดียวกัน

นี่คือเหตุผลว่าทำไม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จึงมีความสำคัญกับธุรกิจมากกว่าเรื่องกฎหมาย

และแม้ว่า PDPA จะดูเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแต่การทำธุรกิจให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตัวช่วยทางธุรกิจคอยซัพพอร์ท

ทำ PDPA ให้เป็นเรื่องง่าย Make PDPA is simply by “WhiteFact”

แม้ว่าการทำธุรกิจให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จะมีขั้นตอน และรายละเอียดที่ซับซ้อน แต่การทำธุรกิจให้เป็นไปตาม PDPA ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตัวช่วยอย่าง WhiteFact โซลูชัน PDPA จาก Technology Enabler อย่าง G-Able ผู้ให้บริการไอทีครบวงจรระดับประเทศ ตอบสนองทุกความต้องการอย่างมืออาชีพ ด้วยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชันทางธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าที่มากกว่าในการใช้ชีวิต

เพื่อให้ทุกธุรกิจรับมือกับ PDPA ได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด G-Able จึงได้พัฒนาโซลูชัน 𝗪𝗵𝗶𝘁𝗲𝗳𝗮𝗰𝘁 ตัวช่วยในการจัดการ ทุกอย่างให้เป็นระบบในที่เดียว ครอบคลุมตั้งแต่การอบรบพนักงานในองค์กร การกำหนด Data Policy และการวางนโยบายสำหรับช่องทางให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบ นอกจากนี้ยังมีพาร์ทเนอร์ชั้นนำมากมายซึ่งช่วยทำให้การ Implement กับระบบเดิมที่องค์กรมีอยู่สามารถทำได้ทันที โดยไม่ต้องลงทุนระบบใหม่

ด้วยตัวช่วยที่ครอบคลุมเรื่องการจัดการและดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่

  • Data Inventory Mapping – ระบุตำแหน่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกจัดเก็บ ช่วยให้องค์กรนำข้อมูลไปใช้งานได้ง่ายขึ้น
  • RoPA – ดูบันทึกรายการข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บหรือใช้ในองค์กร
  • Risk Management – จัดทำแบบประเมินความเสี่ยง
  • Policy Notice – จัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • Consent Management – จัดให้มีกระบวนการบริหารความยินยอม
  • Cookie Manager – จัดการการเก็บคุกกี้ ประเภทคุกกี้ ปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลการขอเก็บคุกกี้
  • ครอบคลุมถึงการช่วยดูแลเจ้าของข้อมูล (Data Subject) ให้สามารถดูแลและจัดการข้อมูลตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ด้วย

Data Subject Request – กำหนดกระบวนการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูล
Data Subject 360 – กระจายงานให้ผู้ดูแลข้อมูลดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูล และติดตามสถานะการดำเนินการ

เหตุผลที่ควรใช้ WhiteFact?

✅ ทีมงานมีประสบการณ์ด้านไอทีนานกว่า 28 ปี
✅ 80% ของลูกค้าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรขนาดใหญ่
✅ มีพันธมิตรกับแบรนด์ระดับโลก เช่น Microsoft, Oracle, Cisco HP
✅ ฟีเจอร์ใช้งานง่าย มีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือตลอดการใช้งาน
✅ Data Centralized ช่วยให้การทำงานในองค์กรง่ายขึ้น
✅ มั่นใจทุกขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

WhiteFact ช่วยคุณจัดการ PDPA อย่างเป็นระบบในที่เดียว
ทดลองใช้งานฟรี! คลิก

Tags::

You Might also Like