-->
ในปัจจุบัน หากต้องการจะเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่เทรนด์การบริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ถูกสร้างมาเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เช่น การสร้างแอปพลิเคชั่น Food Delivery ที่ทำให้ทานอาหารร้านโปรดได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน
และเมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกถูกสร้างมากขึ้น ผู้บริโภคก็มีตัวเลือกมากขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างเข้มข้น ระหว่างธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งการจับมือกับ Partner ก็เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
โดยพอตแคสต์ ‘On The Job Talking ใน Episode ‘AIS The StartUp x OTJT ทำธุรกิจมี Partner ดีอย่างไร’ ได้พูดถึงความสำคัญของ Partner ต่อบริษัท StartUp โดยมี ดร.ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp และ คุณต้องหทัย กุวานนท์ Managing Partner/Venture Builder, AIMSPIRE Co.,Ltd. มาเป็น Guest speaker ในตอนพิเศษนี้
Future Trends ได้สรุป Key Takeaway จาก Episode นี้ มาทั้งหมด 5 ข้อ หลักๆ ดังนี้
การเริ่มต้นทำ StartUp สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญก็คือ ‘ลูกค้า’ เพราะเป็นจุดตั้งต้นในการตัดสินใจว่า ควรมีกระบวนการในการดำเนินการอย่างไร ถึงจะตรงใจลูกค้ามากที่สุด ส่วนจะหาเงินทุน หรือเป็น Partnership กับบริษัทใดนั้น เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนการทำ StartUp อยู่แล้ว
ซึ่งก็คือ Partner ที่สามารถส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้ลูกค้า และในขณะเดียวกันก็เป็น Partner ที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ (vision) ขององค์กรด้วย เพราะสุดท้ายลูกค้าจะพิจารณาแค่ว่า ธุรกิจนั้นๆ สามารถส่งมอบ สิ่งที่ตรงความต้องการของพวกเขาได้หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น Partnership ที่ดีที่สุด อาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป
นอกจากนั้น การศึกษา Value Chain พร้อมเสนอแนวทางแก้ปัญหา ที่ล้อไปกับกระบวนการทำงานของบริษัทที่จะเข้าไปเป็น Partnership ด้วย ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า เราสนใจ และอยากที่จะทำงานร่วมกันจริงๆ
เพราะสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การที่แต่ละฝ่ายได้ต่างได้ตอบความต้องการของลูกค้าของตน เหมือนในเคส
StartUp จองรถตู้ x Impact เมืองทองธานี ซึ่งเป็นเคสที่คุณต้องหทัยเล่าว่า StartUp นี้เกิดมาจากปัญหาของลูกค้าที่มาคอนเสิร์ตตอนกลางคืน แล้วไม่สามารถกลับบ้านได้ เพราะไม่มีรถกลับ จึงเป็นที่มาของการทำแพลตฟอร์มให้ลูกค้าที่มาดูคอนเสิร์ตเข้ามาจองรถตู้
และเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าไปพูดคุยกับ Impact เมืองทองธานี เพื่อขอพื้นที่สำหรับการจอดรถตู้ และสำเร็จในท้ายที่สุด โดยที่ในฝั่งของ Impact เมืองทองก็ได้อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่มาดูคอนเสิร์ต ในขณะเดียวกัน StartUp ก็สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วย
จะเห็นได้ว่า การทำ Partner ไม่จำเป็นต้องเป็น บริษัทใหญ่ กับบริษัทใหญ่เท่านั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่า แต่ละฝ่ายได้ตอบโจทย์ลูกค้าของตนเองหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันจะต้องไม่ใช้ทรัพยากรมากจนทำให้งานหลักของแต่ละฝ่ายต้องหยุดชะงัก
พูดคุยร่วมกับคนในทีมว่า เราพร้อมที่จะทำ Partnership แล้วหรือยัง พิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย และความคุ้มค่า ที่จะได้ประโยชน์ หรือสูญเสียอะไรบางอย่างก่อนจะถึงจุดหมายปลายทาง
นอกจากนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การทำความรู้จักผู้ที่มีส่วนตัดสินใจในการทำ Partnership ครั้งนั้นๆ ตั้งแต่ Gate keeper ไปจนถึง Approval เพื่อให้รู้ว่าควรนำเสนอตัวเองอย่างไรให้คนที่อยู่ในกระบวนการทั้งหมด เห็นคุณค่าในการทำ Partnership กับเรา
ติดต่อกับบริษัท ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น LinkedIn และเมื่อได้เข้ามาพูดคุยกับคนในบริษัทแล้ว ให้ชัดเจนในผลประโยชน์ที่จะส่งผลดีกับทั้งบริษัทและตัว Partner เรียนรู้ที่จะปรับตัวกับวิธีการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ และพิสูจน์ให้เห็นว่าแผนงานที่ต้องการนำเสนอ มีประสิทธิภาพจริง เพื่อให้ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด
รักษาความสัมพันธ์ระหว่างและหลังร่วมงานกันให้ราบรื่นมากที่สุด โดยใช้หลักการ 3 ใจ
Partnership ยังคงเป็นกลไกในการทำให้ธุรกิจเติบโต เพราะ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือบริษัท ก็ไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง การร่วมมือกับคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่ตนยังขาด เปรียบได้กับ การใช้ ‘Spring board’ ที่จะช่วยซัพพอร์ตให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วมากขึ้น
สามารถฟัง Full Episode ได้ที่ : https://open.spotify.com/episode/2403mAFpiWZUkgELYovaUp
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก: https://www.entrepreneur.com/article/250772