Type to search

‘Partnership’ สปริงบอร์ด ที่คอยซัพพอร์ตสตาร์ทอัพ ให้ทะยานสู่ความสำเร็จได้จริง

May 18, 2021 By Future Trends

ในปัจจุบัน หากต้องการจะเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่เทรนด์การบริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  สังเกตได้จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ถูกสร้างมาเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

เช่น การสร้างแอปพลิเคชั่น Food Delivery ที่ทำให้ทานอาหารร้านโปรดได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน

และเมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกถูกสร้างมากขึ้น ผู้บริโภคก็มีตัวเลือกมากขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างเข้มข้น ระหว่างธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งการจับมือกับ Partner ก็เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โดยพอตแคสต์ ‘On The Job Talking ใน Episode ‘AIS The StartUp x OTJT ทำธุรกิจมี Partner ดีอย่างไร’ ได้พูดถึงความสำคัญของ Partner ต่อบริษัท StartUp โดยมี ดร.ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp และ คุณต้องหทัย กุวานนท์ Managing Partner/Venture Builder, AIMSPIRE Co.,Ltd. มาเป็น Guest speaker ในตอนพิเศษนี้ 

Future Trends ได้สรุป Key Takeaway จาก Episode นี้ มาทั้งหมด 5 ข้อ หลักๆ ดังนี้ 

1.โฟกัสที่ลูกค้าก่อนหาเงินลงทุน 

การเริ่มต้นทำ StartUp สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญก็คือ ‘ลูกค้า’ เพราะเป็นจุดตั้งต้นในการตัดสินใจว่า ควรมีกระบวนการในการดำเนินการอย่างไร ถึงจะตรงใจลูกค้ามากที่สุด ส่วนจะหาเงินทุน หรือเป็น Partnership กับบริษัทใดนั้น เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนการทำ StartUp อยู่แล้ว 

2.บริษัทไม่ได้ต้องการ Partner ที่ดีที่สุด แต่ต้องการ Partner ที่เหมาะสมที่สุด 

ซึ่งก็คือ Partner ที่สามารถส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้ลูกค้า และในขณะเดียวกันก็เป็น Partner ที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ (vision) ขององค์กรด้วย เพราะสุดท้ายลูกค้าจะพิจารณาแค่ว่า ธุรกิจนั้นๆ สามารถส่งมอบ สิ่งที่ตรงความต้องการของพวกเขาได้หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น Partnership ที่ดีที่สุด อาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป

นอกจากนั้น การศึกษา Value Chain พร้อมเสนอแนวทางแก้ปัญหา ที่ล้อไปกับกระบวนการทำงานของบริษัทที่จะเข้าไปเป็น Partnership ด้วย ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า เราสนใจ และอยากที่จะทำงานร่วมกันจริงๆ 

3.การทำ Partner ไม่จำเป็นต้องเป็น บริษัทใหญ่ กับ บริษัทใหญ่เท่านั้น 

เพราะสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การที่แต่ละฝ่ายได้ต่างได้ตอบความต้องการของลูกค้าของตน เหมือนในเคส 

StartUp จองรถตู้ x Impact เมืองทองธานี ซึ่งเป็นเคสที่คุณต้องหทัยเล่าว่า StartUp นี้เกิดมาจากปัญหาของลูกค้าที่มาคอนเสิร์ตตอนกลางคืน แล้วไม่สามารถกลับบ้านได้ เพราะไม่มีรถกลับ จึงเป็นที่มาของการทำแพลตฟอร์มให้ลูกค้าที่มาดูคอนเสิร์ตเข้ามาจองรถตู้ 

และเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าไปพูดคุยกับ Impact เมืองทองธานี เพื่อขอพื้นที่สำหรับการจอดรถตู้ และสำเร็จในท้ายที่สุด โดยที่ในฝั่งของ Impact เมืองทองก็ได้อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่มาดูคอนเสิร์ต ในขณะเดียวกัน StartUp ก็สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วย 

จะเห็นได้ว่า การทำ Partner ไม่จำเป็นต้องเป็น บริษัทใหญ่ กับบริษัทใหญ่เท่านั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่า แต่ละฝ่ายได้ตอบโจทย์ลูกค้าของตนเองหรือไม่ 
อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันจะต้องไม่ใช้ทรัพยากรมากจนทำให้งานหลักของแต่ละฝ่ายต้องหยุดชะงัก 

4. Pre-Pro-Post ของการทำ Partnership ร่วมกันกับ StartUp 

  • Pre- เตรียมพร้อม

พูดคุยร่วมกับคนในทีมว่า เราพร้อมที่จะทำ Partnership แล้วหรือยัง  พิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย และความคุ้มค่า ที่จะได้ประโยชน์ หรือสูญเสียอะไรบางอย่างก่อนจะถึงจุดหมายปลายทาง
นอกจากนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การทำความรู้จักผู้ที่มีส่วนตัดสินใจในการทำ Partnership ครั้งนั้นๆ ตั้งแต่ Gate keeper ไปจนถึง Approval เพื่อให้รู้ว่าควรนำเสนอตัวเองอย่างไรให้คนที่อยู่ในกระบวนการทั้งหมด เห็นคุณค่าในการทำ Partnership กับเรา 

  • Pro-ระหว่างทาง 

ติดต่อกับบริษัท ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น LinkedIn และเมื่อได้เข้ามาพูดคุยกับคนในบริษัทแล้ว ให้ชัดเจนในผลประโยชน์ที่จะส่งผลดีกับทั้งบริษัทและตัว Partner เรียนรู้ที่จะปรับตัวกับวิธีการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ และพิสูจน์ให้เห็นว่าแผนงานที่ต้องการนำเสนอ มีประสิทธิภาพจริง เพื่อให้ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด 

  • Post- สิ้นสุด

 

รักษาความสัมพันธ์ระหว่างและหลังร่วมงานกันให้ราบรื่นมากที่สุด โดยใช้หลักการ 3 ใจ 

  1. เข้าใจคนในทีม และคนที่จะทำ Partnership ร่วมกัน รวมไปถึงเข้าใจ Key Person ที่มีส่วนในการตัดสินใจ เพื่อให้รู้ว่าควรพูดคุย หรือนำเสนอข้อมูลอย่างไร ให้เข้าใจและตรงใจกันมากที่สุด 
  2. ให้ใจ ในการที่ทั้งสองฝ่ายช่วยแก้ปัญหาให้กันและกัน 
  3. จริงใจ สร้าง commitment ตั้งแต่แรกว่า สิ่งที่ทำให้กันได้มีอะไรบ้าง และไม่ Over promise 

5. Partnership ยังคงเป็นกลไกหลักในการทำให้ธุรกิจเติบโต 

Partnership ยังคงเป็นกลไกในการทำให้ธุรกิจเติบโต เพราะ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือบริษัท ก็ไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง การร่วมมือกับคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่ตนยังขาด เปรียบได้กับ การใช้ ‘Spring board’ ที่จะช่วยซัพพอร์ตให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วมากขึ้น


สามารถฟัง Full Episode ได้ที่ : https://open.spotify.com/episode/2403mAFpiWZUkgELYovaUp
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก: https://www.entrepreneur.com/article/250772