LOADING

Type to search

ทำไปวันๆ ไม่ต้องสอนเยอะ ไม่ต้องโฟกัสมากเท่าไร รู้จัก ‘Mushroom Management’ ทฤษฎีบริหาร ‘ปล่อยให้โตแบบเห็ด’

ทำไปวันๆ ไม่ต้องสอนเยอะ ไม่ต้องโฟกัสมากเท่าไร รู้จัก ‘Mushroom Management’ ทฤษฎีบริหาร ‘ปล่อยให้โตแบบเห็ด’
Share

ในช่วงชีวิตคนเรา เวลาจะเลือกตัวเลือกไหน เลือกทำอะไรลงไป ก็ย่อมต้อง ‘แลก’ ด้วยต้นทุนเสมอ แต่กับบางเรื่องอย่าง Mushroom Management หรือทฤษฎีการบริหาร ‘ปล่อยให้โตแบบเห็ด’ ก็อาจเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยคุ้มกันสักเท่าไร

เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกน้องเก่งขึ้นในทุกๆ วันที่ตื่นขึ้นมาแล้ว ยังเข้าสู่ลูปนรก ทำงานไปวันๆ สูญสิ้นความมั่นใจ แถมถ้าบางคนจิตอ่อนมากๆ ก็อาจจะรู้สึกป่วงจนต้องขอโบกมือลาจากองค์กรที่รักยิ่งด้วย

แล้ว Mushroom Management คืออะไร บริหารยังไง มีต้นตอมาจากสาเหตุไหน และมีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง? ในบทความนี้ Future Trends จะพาไปรู้จักทฤษฎีการบริหารนี้กัน!

Mushroom Management คืออะไร?

เห็ด หนึ่งในวัตถุดิบประกอบอาหารอันโอชะของหลายๆ คน ตามปกติ เห็ดเป็นอะไรที่ ‘เลี้ยงง่าย’ เก็บกินได้เร็ว เนื่องจาก ไม่ต้องเอาใจใส่อะไรมาก แค่ใส่ปุ๋ย มีน้ำ ไม่ต้องมีแสง มันก็สามารถเติบโตได้แล้ว ซึ่งก็เปรียบได้กับทฤษฎีการบริหารคนของหัวหน้าบางทีมที่มักจะไม่ค่อยสนใจลูกน้อง ไม่สอนงานเยอะ ไม่ค่อยให้ความสนใจ ปล่อยให้ลูกน้องคอยคลำทาง เติบโตใน ‘ความไม่รู้ และความกลัว’ เอาเอง

2 วิธีการบริหารที่ใครๆ ก็ร้องยี้แบบ Mushroom Management

1. เลี้ยงในที่มืด ‘ปล่อยให้ทำงานไปวันๆ’

โดยพื้นฐานแล้ว เห็ดมักจะเติบโตในทุกสภาพอากาศ ต่างจากพืชชนิดอื่นที่แม้จะมีน้ำ แต่ก็ต้องอาศัยแสงด้วย ซึ่งความมืดที่ว่านี้ก็เปรียบกับ ‘ความกลัวของลูกน้อง’ จากการที่หัวหน้ามักจะไม่แชร์ข้อมูลสำคัญ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือปล่อยปละละเลย ไม่สนใจดูแลเท่าที่ควร เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงทำงานด้วยความไม่รู้ ไม่เก่งขึ้น ไม่พัฒนาขึ้นกว่าเดิมแม้แต่วันเดียว

2. ไม่ดูแลเยอะ ‘ไม่ต้องสอนมาก ไม่ต้องโฟกัสเท่าไร’

อย่างที่บอกว่า เห็ดค่อนข้างจะเลี้ยงง่าย แค่มีน้ำ มีปุ๋ยจากเจ้าของก็เพียงพอแล้ว ไม่ต่างกับความสัมพันธ์ฉันท์หัวหน้า-ลูกน้องบางทีม ที่อาจจะแค่สั่งงาน จากนั้น ก็คอยบงการ ควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด เวลามีเรื่องอะไรก็ต้องรอถามหัวหน้าอยู่ตลอด ดังนั้น การมีอยู่ของลูกน้องแบบไร้ตัวตนนั้นเลยเหมือนกับเห็ดที่ ‘อยู่นอกสายตา’ นั่นเอง

รู้จักต้นตอของ Mushroom Management

หลักๆ ทฤษฎีการบริหารนี้มีหลักใหญ่ใจความมาจากความกลัวของหัวหน้า เฉกเช่นเดียวกับการบริหารด้วยความกลัวกับลูกน้อง เพราะถ้าพูดกันตามความเป็นจริง ลึกๆ แล้ว หัวหน้าบางคน บางทีมก็มีความรู้สึกกลัวลูกน้องจะเก่งกว่า กลัวลูกน้องจะดีกว่าตัวเอง ‘ไม่ได้ใจกว้างพอ’ ที่จะแชร์ความรู้ แลกเปลี่ยนความเก่งให้พวกเขาพัฒนา และเติบโตไปอีกขั้น

ข้อเสียของ Mushroom Management มีอะไรบ้าง?

การบริหารปล่อยให้โตแบบเห็ดนั้นมีข้อเสียมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการไม่เติบโตในหน้าที่การงานของลูกน้องสักเท่าไร ความรู้สึกซัฟเฟอร์ในความสามารถของตัวเอง ส่งผลให้ความตั้งใจ ความมั่นใจรังแต่จะลดลงในทุกๆ วัน อีกทั้ง ก็ยังทำให้ความเคารพในตัวหัวหน้านั้นน้อยตาม และทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ ในบางเคสเป็นไปอย่างล่าช้าเพราะต้องรอเบื้องบนด้วย

ข้อดีของ Mushroom Management มีอะไรบ้าง?

ถึง Mushroom Management จะเป็นสิ่งที่ดูไม่เวิร์ก แต่หากมองในมุมกลับ มันก็เหมาะกับบางสถานการณ์ อย่างเวลา War time ที่องค์กรต้องเร่งศักยภาพ ขีดความสามารถออกมา ก็ถือว่าเป็นการบริหารที่คุมง่าย ช่วยลดความเครียด ความผิดพลาดของลูกน้องจากประสบการณ์อันน้อยนิดได้ด้วย

แม้ความมืดเป็นบ่อเกิดของปัญญา แต่มืดชนิดไม่รู้อิโหน่อิเหน่แบบ Mushroom Management ก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่สักเท่าไร ลึกๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นลูกน้องหรือหัวหน้าอย่างเราต่างก็อยากเก่งขึ้นในทุกๆ วันด้วยกันทั้งนั้น

งานที่ดีต้องทำให้ทุกคนเก่งขึ้น เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีขึ้น ไม่ใช่ถอยหลังลงคลอง ไม่งั้นจะทำงานไปทำไม จริงไหมล่ะ?

Sources: https://bit.ly/3MVewVd

https://bit.ly/3b4Kktn

https://bit.ly/3O1wqa4

https://bit.ly/3mTlZcT

https://bit.ly/3mZtEGp

Tags::
Chompoonut Suwannochin

อดีตเด็กฝึกงาน และ Content Creator ประจำเพจ Future Trends จบเอก Creative และการจัดการวัฒนธรรมจากรั้วเหลืองแดง ชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ มี ‘Sarah Salola กับ Jixgo’ เป็นศิลปินคนโปรด เวลาว่างชอบชุบชูใจด้วยการกิน และการไปติ่ง

  • 1

You Might also Like