LOADING

Type to search

ฟังเสียงลูกค้าง่ายๆ ด้วย Social Listening ส่อง 11 ขั้นตอนใช้ ‘Mandala’ แบบจับมือทำ

ฟังเสียงลูกค้าง่ายๆ ด้วย Social Listening ส่อง 11 ขั้นตอนใช้ ‘Mandala’ แบบจับมือทำ
Share

ท่ามกลางยุคสมัยที่ข้อมูลล้นโลกมากขึ้นเรื่อยๆ และสนามการแข่งขันอันดุเดือด การจัดการกับข้อมูลจึงเป็นไพ่ในมือที่สำคัญ รวมไปถึงหลายๆ ครั้ง มันก็เป็นการชี้ชะตาว่า ธุรกิจนั้นจะได้ไปต่อหรือพอแค่นี้? ด้วย

Mandala Analytics คือหนึ่งในเครื่องมือ Social Listening ที่ทรงพลังตัวหนึ่งของโลก โดยภายในก็ประกอบไปด้วยฟีเจอร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดูเทรนด์ที่กำลังเป็นกระแส การดูข้อมูลเชิงลึก หรือแม้กระทั่งการดูกระแสตอบรับของธุรกิจก็เช่นกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำการตลาด และการวางแผน

แล้วถ้าเราอยากเอา Mandala Analytics มาใช้กับธุรกิจ จะต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง? บทความนี้ Future Trends จะมาอธิบายแบบจับมือทำกัน

mandala-analytics 1

ขั้นตอนที่ 1

เข้าไปที่ www.mandalasystem.com จากนั้น สมัครบัญชีผู้ใช้เป็นของตัวเอง โดยรูปแบบ Free Trial จะเปิดให้ใช้งานฟรีแค่ 15 วันเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 2

เมื่อเข้ามาในบัญชีของตัวเองได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป ให้เชื่อมต่อโซเชียลมีเดียเข้ากับ Mandala Analytics เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเก็บข้อมูล กดโปรไฟล์ผู้ใช้งาน >> เชื่อมต่อโซเชียล >> เชื่อมต่อโซเชียลแต่ละอัน ทั้ง Facebook, Twitter และ Instagram

mandala-analytics 2

ขั้นตอนที่ 3

เริ่มสร้างโปรเจกต์โดยการกดที่แท็บ Mandala Analytics ด้านซ้าย หลังจากนั้นให้กด + สร้างโปรเจกต์

ขั้นตอนที่ 4

ตั้งค่าโปรเจกต์ ใส่ข้อมูลชื่อโปรเจกต์ >> กำหนดกลุ่มผู้ใช้งานตามต้องการ >> ตั้งสถานะโปรเจกต์ให้อยู่ในโหมด ‘เปิดใช้งาน’ >> กดบันทึก

mandala-analytics 3

ขั้นตอนที่ 5

กดที่รูปตา (ปุ่มดูแคมเปญ) ของโปรเจกต์ที่เราสร้าง >> กด + สร้างแคมเปญ

ขั้นตอนที่ 6

ตั้งค่าแคมเปญพาร์ตที่ 1 – ภาพรวมแคมเปญ ใส่ข้อมูลชื่อแคมเปญ และรายละเอียดแคมเปญ >> กำหนดปริมาณเข้าข้อมูลแคมเปญตามต้องการ

**หมายเหตุ** ในส่วนของรายละเอียดแคมเปญไม่จำเป็นต้องกรอกเสมอไป สามารถทิ้งโน้ตต่างๆ ไว้ในกรณีที่มีการทำงานร่วมกันหลายคน เช่น การกรอกชื่อผู้สร้างแคมเปญ เป็นต้น

mandala-analytics 4

ขั้นตอนที่ 7

ตั้งค่าแคมเปญพาร์ตที่ 2 – การตั้งค่าวิเคราะห์ข้อมูล กดเลือกช่วงเวลาการวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ แต่ถ้าต้องการให้เก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ ให้กดติ๊กถูกที่ช่องวิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ 8

ตั้งค่าแคมเปญพาร์ตที่ 3 – แพลตฟอร์มและช่องทางต่างๆ กดติ๊กถูกที่แพลตฟอร์มที่ต้องการดึงข้อมูล >> กดเพิ่มความสำคัญที่สอดคล้องกับธุรกิจ เช่น FutureSkill สอดคล้องกับเรื่องการศึกษา >> กดเลือกประเทศ

mandala-analytics 5

ขั้นตอนที่ 9

ตั้งค่าแคมเปญพาร์ตที่ 4 – ภาษาที่สนใจ ตามปกติแล้ว Mandala Analytics จะกำหนดค่า Default อย่าง All มาให้ ซึ่งถ้าเป็นเทรนด์โลก มีการพูดถึงหลากหลายภาษา หรือมีลิมิตของเมนชั่นที่ไม่จำกัด ก็สามารถใช้ All ได้เลย แต่ในกรณีที่มีลิมิตของเมนชั่นที่จำกัด และทราบแล้วว่ามีการพูดถึงแค่ภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น ก็ควรกำหนดให้ชัดเจน เช่น การกำหนดภาษาไทย (Thai) เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 10

ตั้งค่าแคมเปญพาร์ตที่ 5 – สร้าง Keyword เพื่อค้นหาข้อมูลในแคมเปญนี้ ใส่ Premium Keywords และ Regular Keywords >> กดบันทึกการตั้งค่าแคมเปญ

– Premium Keywords คือการดึง Keyword นอก Mandala Analytics ก่อน โดยมีลำดับความสำคัญมากกว่า Regular Keyword อีกทั้งยังดึงได้เร็วกว่าด้วย ซึ่งถ้าสมมติเมนชั่นเต็มเรียบร้อยแล้ว ก็จะไม่มีการดึงข้อมูลจาก Regular Keyword ต่อ

– Regular Keywords คือการดึง Keyword ใน Mandala Analytics ที่มีการเก็บมาก่อนหน้าโดยการดึงของคนอื่นแล้ว ส่วนใหญ่มักเป็นคำที่ Mass เช่น คอร์สเรียน การพัฒนาตัวเอง เป็นต้น

**หมายเหตุ** ตามปกติแล้ว Keyword นั้นๆ จะมีตัวอย่างข้อมูลมาให้ดูก่อน และหากต้องการแยก Keyword นั้นๆ ให้มีตำแหน่งที่แยกกัน ให้ใส่เครื่องหมาย + เพิ่มลงไปด้วย

mandala-analytics 6

ขั้นตอนที่ 11

รอระบบดึงข้อมูลประมาณ 5-10 นาที >> เสร็จเรียบร้อย กดดูข้อมูลได้เลย

Mandala Analytics เป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้เราวางแผน และทำการตลาดได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องมีพื้นฐานหรือความรู้เชิงลึกมาก่อน ลองนำไปปรับใช้กันดู ไว้มีเครื่องมือ Social Listening หรือ MarTech ตัวไหนน่าสนใจอีก เราจะมารีวิวให้ฟังกันในครั้งหน้า!

ขอบคุณข้อมูลจากหนุ่ย-ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจ ‘การตลาดวันละตอน’

Tags::
Chompoonut Suwannochin

อดีตเด็กฝึกงาน และ Content Creator ประจำเพจ Future Trends จบเอก Creative และการจัดการวัฒนธรรมจากรั้วเหลืองแดง ชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ มี ‘Sarah Salola กับ Jixgo’ เป็นศิลปินคนโปรด เวลาว่างชอบชุบชูใจด้วยการกิน และการไปติ่ง

  • 1

You Might also Like