LOADING

Type to search

เมื่อเวลาคือหนึ่งใน ‘ต้นทุน’ ของชีวิต แล้วเราใช้เวลาอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

เมื่อเวลาคือหนึ่งใน ‘ต้นทุน’ ของชีวิต แล้วเราใช้เวลาอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง?
Share

ในยุคที่ทุกอย่างล้วนเร่งรีบ เราต่างทำทุกวิถีทางเพื่อไปถึงเป้าหมายให้เร็วที่สุด เพราะโอกาสบางอย่างมีให้สำหรับผู้ที่ไปถึงคนแรกเท่านั้น บางคนอาจต้องใช้แรงกายแรงใจเพื่อไปถึงความสำเร็จ หรือบางคนอาจต้องใช้เงินเพื่อเดินหน้าสู่ฝั่งฝัน แต่ยังมีอีกสิ่งที่เราต้องเสียไปอย่างเท่าเทียมกันทุกคน นั่นคือ ‘เวลา’

เพราะการดำเนินชีวิตนั้น มี ‘ต้นทุน’ ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตแบบไหน จะเหมือน หรือแตกต่างจากใคร ทุกคนต้องจ่าย ‘เวลา’ ในชีวิตออกไปอย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นที่น่าคิดเหมือนกันว่า ด้วยต้นทุนเดียวกันนี้ ใครจะสามารถใช้ได้คุ้มค่ามากกว่ากัน เพราะเงินที่เสียไปเราสามารถหาใหม่ได้ แต่เวลาที่เสียไปไม่สามารถเอากลับคืนมาได้แม้แต่วินาทีเดียว

ในวันนี้ Future Trends อยากชวนมาดู ‘หนึ่งชีวิต’ ของเราได้ใช้เวลาไปกับการทำอะไรบ้าง และคำถามสำคัญคือเรากำลังใช้เวลาในชีวิตอย่างคุ้มค่าจริงๆ หรือเปล่า

ด้วยเวลาทั้งหมดที่เรามี ใน ‘หนึ่งชีวิต’ เราใช้ไปกับอะไรบ้าง ?

จากงานวิจัยหลายฉบับ พบว่ามนุษย์เรามีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 79-80 ปี ด้วยเวลาที่เรามีนี้แต่ละคนต่างต้องมีภาระหน้าที่ และกิจวัตรประจำวันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แตกต่างกันไป เรามาดูกันว่าในช่วงเวลาที่มีนี้ เราใช้เวลาไปกับการทำอะไรบ้าง โดย Future Trends ได้สรุปมาแบบนี้

– ตลอดชีวิตของเราใช้เวลาไปกับการนอนถึง 26 ปี
– สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย คุณใช้เวลาชีวิตไปกับการทำงานกว่า 13 ปี 2 เดือน
– เพราะชีวิตคือ การเดินทาง เราใช้เวลาบนท้องถนน และรางรถไฟไปกว่า 6 ปี
– ยุคเทคโนโลยีแบบนี้ เราจะขาด ‘สมาร์ตโฟน’ ไปไม่ได้เลย ซึ่งเราใช้เวลากับหน้าจอเฉลี่ยที่ 10 ปีเต็ม

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่กินเวลาชีวิตของเราไปไม่น้อยเลยคือ ‘งานบ้าน’ โดยเฉพาะงานทำความสะอาด โดยจากการสำรวจของ U.S. Bureau of Labor Statistics พบว่า ในปี 2021 ชาวอเมริกาใช้เวลาไปกับ ‘งานบ้าน’ เฉลี่ยทั้งเพศหญิง และชายอยู่ที่ 1.95 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งหากคนเราเริ่มทำงานบ้านตั้งแต่อายุ 15 ปี จะเสียเวลาชีวิตไปประมาณ 5.2 ปีเลยทีเดียว

เมื่อไม่ต้องกังวลเรื่อง ‘งานบ้าน’ เวลาในชีวิตเราก็เพิ่มขึ้นอีกเยอะ

ทีนี้เมื่อมาลองคำนวณดูคร่าวๆ แล้ว การปล่อยงานบ้านให้เป็นหน้าที่ของ ‘Roomba® j7+’ จาก iRobot® จะสามารถประหยัดเวลาในชีวิตเราได้รวมแล้วทั้งหมดสูงสุดที่ 8 ปีเลยทีเดียว ซึ่ง 8 ปีในชีวิตเรานี้ สามารถเอาเวลาไปทำอะไรเพิ่มขึ้นได้อีกมาก เรียกได้ว่าเป็นการทวงคืนเวลาชีวิต และนำไปใช้กับสิ่งที่เราอยากทำได้อย่างแท้จริง

โดยตลอดช่วงเวลาที่เรากำลังใช้เวลาที่ได้คืนมาอย่างมีความสุข ก็ไม่ต้องกังวลว่า ‘Roomba® j7+’ จะอยู่เป็นช่วยเราได้ไม่นาน ด้วยอายุการใช้งานสูงสุดที่ 10 ปี และบริการหลังการขายโดยทีมวิศวกรของ iRobot® จากศูนย์บริการทั้ง 2 จุด คือ ที่ iRobot Care เมกาบางนา ชั้น 2 และ โชว์รูมวิภาวดีรังสิต 22 ทำให้เรามั่นใจได้เลยว่า งานทำความสะอาดบ้านจะไม่ใช่เรื่องที่มาดูดเวลาชีวิตเราไปอีกนานเลยทีเดียว

ทวงเวลาชีวิตคืนจาก ‘งานบ้าน’ ด้วย ‘หุ่นยนต์ทำความสะอาด’

จะเห็นได้ว่างานบ้านเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กินเวลาชีวิตไม่น้อยเลย เราจึงต้องการผู้ช่วยที่ไว้ใจให้ทำงานได้ในระยะยาว อย่างเช่นหุ่นยนต์ทำความสะอาด ‘Roomba® j7+’ จาก iRobot® ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี โดยมีต้นแบบมาจากหุ่นยนต์กู้ระเบิด จึงสามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน และประณีต ทำให้เรื่องงานทำความสะอาดบ้านไม่ใช่เรื่องยากสำหรับหุ่นยนต์ตัวนี้เลย โดยขอสรุปความสามารถ และฟังก์ชันการทำงานของ ‘Roomba® j7+’ ไว้แบบนี้

ระบบนำทางแบบใหม่ – ด้วยกล้องความละเอียดสูง ทำให้ Roomba® j7+ สามารถจดจำรายละเอียดของวัตถุได้มากกว่าหนึ่งแสนภาพ และหลบเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องได้อย่างชาญฉลาด โดยเรายังสามารถใส่รายละเอียดของวัตถุ เพื่อ ‘สอน’ เจ้าหุ่นให้รู้จักสิ่งต่างๆ ได้ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน

ระบบทำความสะอาดมีการพัฒนาขึ้น – ใน Roomba® j7+ มีการเพิ่มพลังแรงดูดขึ้นถึง 10 เท่าจากรุ่นปกติ และยังมีระบบ AI อัจฉริยะที่ตรวจจับได้ว่าพื้นที่ตรงไหนสกปรกเป็นพิเศษเพื่อทำความสะอาดซ้ำ และยังช่วยแนะนำการทำความสะอาดเพิ่มเติมให้เหมาะกับบ้านของคุณโดยเฉพาะ

เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนได้ – กำหนดแผนที่เส้นทาง หรือการตั้งค่าให้หุ่นยนต์รู้จักว่าห้องไหนคือห้องอะไร และต้องการทำความสะอาดห้องไหนเป็นพิเศษผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน

เราไม่ต้องสัมผัสกับฝุ่นเลย – เมื่อกักเก็บฝุ่นจนเต็มถังแล้ว Roomba® j7+ จะนำฝุ่นไปส่งต่อให้แท่นกำจัดขยะโดยอัตโนมัติ ซึ่งตัวแท่นนี้มีความจุสูงถึง 30 เท่าของตัวหุ่นยนต์ ทำให้เราไม่ต้องสัมผัสกับฝุ่นไปเป็นหลักเดือนเลยทีเดียว

Sources: https://bit.ly/3EdTkIQ

https://bit.ly/3EduzMT

Tags::