‘กระโดดอย่างสุดแรง’ ถอดบทเรียนผู้นำจากปลาทองที่เต็ม 100 กับทุกสิ่ง
ปลาทองในบริบทของประเทศไทย มักจะใช้เรียกผู้คนที่มีภาวะความจำสั้น เพราะมีความเชื่อที่ว่าปลาทองมีอายุความทรงจำที่สั้น เนื่องจากมันจำไม่ค่อยได้ว่าตัวเองกินข้าวไปแล้วหรือยัง ทุกครั้งที่คนให้อาหารมันก็จะกินอยู่เสมอ เป็นที่มาของการเรียกคนไทยที่มีความจำสั้นว่า ‘ปลาทอง’
แต่ในบริบทของต่างประเทศเขามองว่าปลาทองเป็นสัตว์ที่มีลักษณะนิสัยแห่งความเต็มที่ เวลามันจะกระโดดสักครั้งหนึ่งมันต้องเตรียมพร้อมกับพละกำลังเพื่อกระโดดอย่างสุดแรง
[ บทเรียนที่ 1 ]
จงศรัทธาในการกระโดดครั้งใหญ่ คุณไม่รู้หรอกว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร มันอาจจะคุ้มค่า และเปลี่ยนชีวิตคุณได้
เช่นเดียวกับปลาทอง คุณต้องมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง พวกมันรู้ดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าติดอยู่ในโหลเดียวกัน ดังนั้น มันจึงมุ่งมั่นที่จะกระโดดสุดแรงเพื่อที่จะออกไปจากโหลแห่งความสิ้นหวังนี้
ถึงแม้การกระโดดจะไม่การันตีว่าผลลัพธ์จะสำเร็จหรือไม่ แต่มันก็ดีกว่าการอยู่ในโหลที่เดิม
[ บทเรียนที่ 2 ]
ทุ่มเท 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม
ดังที่ภควัทคีตากล่าวไว้ว่า “คนฉลาดจะปล่อยวาง ไม่ว่าผลลัพธ์จะดีหรือไม่ดี และมุ่งแต่การกระทำเพียงอย่างเดียว”
เช่น เดียวกับปลาทองที่รวบรวมกำลังทั้งหมดเพื่อการกระโดดครั้งใหญ่ครั้งเดียว ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ต้องทุ่มสุดตัว ถึงแม้ว่าผลลัพธ์มันจะไม่ได้น่าพอใจหรือสมบูรณ์แบบ แต่มันก็จะไม่แย่เพราะทุกการกระทำของคุณไม่ใช่เรื่องสูญเปล่า
[ บทเรียนที่ 3 ]
คุณต้องผลักดันตัวเองถึงแม้ว่าจะไม่มีใครสนใจคุณก็ตาม
แม้ว่าจะไม่มีใครเฝ้าดูคุณอยู่ หรือ ไม่มีใครคาดหวังในตัวคุณ แต่คุณก็ยังคงต้องผลักดันตนเองอยู่เสมอ จงคิดแบบปลาทองที่มันไม่รู้หรอกว่าจะมีโหลอะไรรองรับมันไหวถ้ากระโดดออกไป แต่มันก็ยังผึกฝนและหวังที่จะกระโดดออกไปอย่างเต็มแรง
ดังนั้น ตงผลักดันตัวเองถึงแม้ว่าจะไม่มีใครคาดหวังหรือสนใจตัวคุณก็ตาม
เป็นอย่างไรกันบ้าง พร้อมจะกระโดดอย่างเต็มแรงแบบปลาทองกันแล้วหรือยัง ในบางครั้งเราอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะเสี่ยงอย่างไม่จำเป็น เพื่อผลลัพธ์ที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต แต่จงจำไว้เสมอว่ามันมีทั้งปลาทองที่โดดไปแล้วเจอโหล กับปลาทองที่โดดไปแล้วไม่เจออะไรเลย
เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์