LOADING

Type to search

เด็กจบใหม่ต้องเอาตัวรอดอย่างไรในยุค Never Normal : กรณีศึกษา ‘Banpu’ องค์กรที่เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เติบโตไปพร้อมกัน

เด็กจบใหม่ต้องเอาตัวรอดอย่างไรในยุค Never Normal : กรณีศึกษา ‘Banpu’ องค์กรที่เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เติบโตไปพร้อมกัน
Share

อะไรก็เกิดขึ้นได้ในยุค Never Normal เหมือนกับวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่หลายคนพลาดโอกาสสำคัญไปมากมาย เนื่องจากบางบริษัทมีนโยบายงดรับพนักงานใหม่ บางแห่งปรับโครงสร้าง-ลดจำนวนพนักงานลง หรือหากที่ไหนเปิดรับก็อาจจะมี ‘concern’ เล็ก ๆ ว่า ต้องการคนมีประสบการณ์ก่อน นั่นจึงทำให้โอกาสของนักศึกษาจบใหม่รุ่นนี้หดแคบกว่าบัณฑิตรุ่นก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด

Future Trends ได้มีโอกาสพูดคุยกับเวโรจน์ ลิ้มจรูญ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติมากว่า 38 ปี บ้านปูมองปัญหาวิกฤตการทำงานของนักศึกษาจบใหม่รุ่นนี้อย่างไร ทำไมถึงเปิดโครงการรับนักศึกษาจบใหม่ “Banpu New Graduates Program 2021: Boost Your Energy with Us” ในช่วงเวลาแบบนี้ และนักศึกษาจบใหม่ในสายตาของบ้านปูมีโอกาสอะไรรออยู่ข้างหน้าบ้าง

เวโรจน์เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า อันที่จริงแล้ว บ้านปูมีโครงการรับนักศึกษาจบใหม่มาตั้งแต่ 10 ปีก่อน ตอนนั้นไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ทางบ้านปูเห็นว่า นักศึกษาจบใหม่น่าจะลำบากกับการหางาน จึงจุดประกายให้บ้านปูมองว่า องค์กรควรมีส่วนเข้าไปช่วยในสถานการณ์นี้

และเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง บ้านปูได้เปิดโครงการรับนักศึกษาจบใหม่ “Banpu New Graduates Program 2021: Boost Your Energy with Us” เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่น และสร้างสรรค์ ได้มาทำงานร่วมกัน โดยมีการจัด Open House ให้น้อง ๆ ได้รู้จักบ้านปูมากยิ่งขึ้น ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานจากพนักงานบ้านปู แล้วคัดเลือกด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือทำแบบทดสอบ Culture Fit เพื่อสกรีนในรอบแรก แล้วใช้วิธีการสัมภาษณ์คัดเลือก จากนั้นให้เด็ก ๆ เข้ามาทำกิจกรรม อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อดูว่าทุกคนปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของบ้านปูได้หรือไม่

“บ้านปูมีพนักงานประมาณ 6,000 คน ใน 10 ประเทศ เรามีความหลากหลายมาก ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประสบการณ์ ความคิดต่าง ๆ สิ่งที่จะหล่อหลอมให้คนบ้านปูทำงานด้วยกันแบบ ‘Harmony and Happiness’ คือ ต้องนำวัฒนธรรมองค์กรเป็นตัวตั้ง เรียกว่า ‘Banpu Heart’ ซึ่งเป็น ‘way of working’ ของคนบ้านปูทุกประเทศ พนักงานทุกคนที่เข้ามาต้องผ่านแบบประเมินพวกนี้ด้วย รวมทั้งน้อง ๆ จบใหม่ เราก็ให้ประเมินด้วยเช่นกัน โดยเราสกรีน Banpu Heart ก่อน 1 รอบ แล้วให้น้อง ๆ มาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสังเกตว่าน้อง ๆ ได้นำ Banpu Heart มาใช้จริงผ่านเคสต่าง ๆ อย่างไร เช่น ให้ฝึกการตัดสินใจ รู้จักแก้ไขปรับเปลี่ยนงานตามหน้างานจริง คิดไอเดียใหม่ และลงมือทำให้เกิดผลแบบรวดเร็ว  ด้วยการเอาไอเดียไปเทสต์กับพี่ ๆ เพื่อน ๆ ของบ้านปู น้อง ๆ ทุกคนก็จะได้ฝึกทักษะสื่อสารกับคนรอบข้าง พร้อมกับเรียนรู้เรื่อง Commercial Mindset ไปด้วย”

‘Critical Thinking and Good Decision Making’  ‘Commercial Mindset’ และ ‘Effective Communication’ คือ หลักคิดที่เวโรจน์มองว่า เป็นสิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ควรมี จะทำให้เด็ก ๆ กล้าตัดสินใจในสภาวะที่ไม่แน่นอน ไม่กลัวที่จะผิดพลาด และเข้าใจเรื่องความเสี่ยงกับโอกาสในการทำธุรกิจ ต้องกล้าคิด กล้าทำ คิดเปรียบเทียบผลดีผลเสียออกไปในเชิงธุรกิจได้ และสามารถสื่อสารออกมาได้ดี

“น้อง ๆ จบใหม่ต้องมี Growth Mindset ต้อง Open ตัวเองกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ กล้าลงมือทำ กล้าที่จะพลาด และต้องระวังกับดับแห่งความสำเร็จ เพราะเขารับรู้ข้อมูลและเห็นแต่เรื่องความสำเร็จของคนรุ่นใหม่ จุดนี้เลยทำให้เขาอาจติดกับดักคิดว่าต้องทำให้สำเร็จ ต้อง perfect เท่านั้น ถ้าเขาจะกลัวที่ผิดพลาด มันก็จะไม่เกิดการเรียนรู้และไม่เกิดการพัฒนาจากความล้มเหลว

ส่วนในมุมของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล เวโรจน์เห็นว่า ถ้าองค์กรอยากได้พนักงานที่มีคุณสมบัติที่เก่งรอบด้านและพร้อมปรับเปลี่ยน องค์กรก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือโครงสร้างองค์กรที่ช่วยสนับสนุนให้พนักงานได้แสดงศักยภาพออกมาเต็มที่ในแบบที่เขาอยากจะเป็นด้วย เช่น ที่บ้านปู เราส่งเสริมการทำงานยืดหยุ่นตามหลัก ‘Be Agile and Change’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร Banpu Heart

“ที่ทุกคนเห็นว่า เราทำธุรกิจพลังงานครบวงจร ทั้งธุรกิจแหล่งพลังงาน ผลิตพลังงาน และเทคโนโลยีพลังงานใน 10 ประเทศนั้น บ้านปูต้อง ‘Be Agile and Change’ มาตลอดหลายสิบปี เพื่อให้ธุรกิจเติบโตสอดคล้องกับเทรนด์พลังงานรูปแบบใหม่อยู่เสมอ ในด้านการดูแลพนักงาน บ้านปูก็เหมือนองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข เราจึงพยายามลดทุกข้อจำกัด เพื่อให้ทุกคนทำงานได้อย่างไร้ขีดจำกัด เรามีนโยบายที่เปิดกว้างให้พนักงานมีอิสะในการทำงานตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เช่น นโยบาย ‘Work Anywhere’ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2008 หรือให้พนักงานได้จัดสรรเวลาเข้า-ออกงานได้เอง ไม่มีระบบเช็กเวลาเข้าออก และมีสวัสดิการให้พนักงานเลือกใช้ตามความชอบของแต่ละคน ทั้งหมดนี้ เราเน้นเรื่องความยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานทำงานแบบ ‘Flexible Lifestyle’ ปราดเปรียว พร้อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ”

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของการใช้ระบบ ‘flat organization’ เข้ามาบริหารองค์กรในหลายปีที่ผ่านมา ให้มีลำดับขั้นที่สั้นมาก ๆ คือ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการสามารถพูดคุย ปรึกษากันได้ พนักงานอยากเดินไปเสนอไอเดียกับผู้บริหารก็ทำได้เลย เมื่อโครงสร้างองค์กรเอื้อให้เกิดการ ‘Be Agile and Change’ ตรงนี้จึงเชื่อมโยงให้เกิดบรรยากาศสร้างสรรค์ ทุกคนอยากคิดใหม่ ทำใหม่ ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

“การทำงานแบบ Flexible จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน นอกจากเรื่องของการออกแบบ work process ให้ง่ายและสั้น รวมทั้งมีนโยบายต่าง ๆ มาลดทอนข้อจำกัดต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารก็ต้องกระจายการตัดสินใจไปให้น้องได้ฝึกเยอะ ๆ พร้อมกับสร้าง Leadership Mindset หรือภาวะความเป็นผู้นำให้กับพนักงานในทุกระดับควบคู่กันไป เพราะที่บ้านปูเราเชื่อว่า มันไม่สำคัญว่าเราจะเข้ามาด้วยตำแหน่งงานอะไร อยู่หน่วยงานไหน แต่สำคัญว่าเราอยากอยู่ตำแหน่งงานและหน่วยงานไหนในอนาคต ทุกคนสามารถเติบโตในแบบที่อยากจะเป็นได้ ในบ้านหลังนี้ เมื่อผู้บริหารกระจายอำนาจแล้ว เขาต้อง Unleash Potential รับช่วงต่อได้”

การมี Agile Mindset ที่พร้อมปรับตัวตลอดเวลา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ หรือกลัวจะผิดพลาด ถือเป็นหัวใจสำคัญที่เด็กจบใหม่ทุกคนต้องมีในช่วงเวลาแบบนี้ เพื่อช่วยเปิดกว้างให้เราเรียนรู้ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ท้าทาย และพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ในที่สุด

ครั้งหน้าเรามาติดตามเพื่อน ๆ จบใหม่กันว่า พวกเขาสามารถสร้างโอกาสบนความท้าทายใหม่ ๆ ด้วยแนวคิด “Be Agile and Change” ได้อย่างไร

Tags::

You Might also Like