Cynefin Framework การแบ่งปัญหาเป็น 5 โดเมน เพื่อประเมินสถานการณ์ในทุกรูปแบบ
Cynefin Framework การแบ่งปัญหาเป็น 5 โดเมน
เพื่อประเมินสถานการณ์ในทุกรูปแบบ
.
.
บ่อยครั้งที่เราพบว่าวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลในทุกสถานการณ์ ผู้นำและผู้จัดการจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คือ Cynefin Framework เครื่องมือซึ่งพัฒนาโดย Dave Snowden สามารถช่วยให้เราสามารถประเมินสถานการณ์และเลือกวิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
โดยเป็นเครื่องมือที่มุ่งเน้นการเข้าใจบริบทและอิทธิพลที่หลากหลายซึ่งทำให้การตัดสินใจในสถานการณ์ที่แตกต่างกันมีความซับซ้อนมากขึ้น
.
ผ่านกรอบที่แบ่งสถานการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นโดเมน (domains) ซึ่งแต่ละโดเมนมีลักษณะเฉพาะที่ส่งผลต่อวิธีการตัดสินใจและการแก้ปัญหา โดย Cynefin Framework ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้บริหารและนักวิจัย เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการกับความซับซ้อนและความไม่แน่นอนที่มักจะพบเจอในโลกธุรกิจและสังคมปัจจุบัน
.
[ทุกปัญหามีสาเหตุและผลลัพธ์ ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลตาม Cynefin Framework]
.
ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ เรามักพยายามทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของสถานการณ์นั้นๆ Cynefin Framework ใช้แนวคิดนี้เป็นหลักในการจัดประเภทสถานการณ์ต่างๆ โดยพิจารณาว่าความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลนั้นชัดเจนหรือคาดเดาได้มากน้อยเพียงใด
.
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลอาจมีความชัดเจนแตกต่างกันไป ตั้งแต่เห็นได้ชัดเจนทันที (เช่น กดสวิตช์ไฟแล้วหลอดไฟสว่าง) ไปจนถึงซับซ้อนและคาดเดาได้ยาก (เช่น ผลกระทบของการ
.เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ) หรือแทบจะไม่สามารถคาดเดาได้เลยในสถานการณ์วิกฤต (เช่น ผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ)
.
การเข้าใจระดับความชัดเจนของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลนี้ ช่วยให้เราเลือกวิธีการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ชัดเจน เราอาจใช้วิธีปฏิบัติมาตรฐานได้ แต่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน เราอาจต้องทดลองและเรียนรู้จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
.
Cynefin Framework แบ่งสถานการณ์ออกเป็น 4 Domain หลัก (และ 1 Domain พิเศษ) โดยใช้ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลเป็นเกณฑ์สำคัญ การเข้าใจแนวคิดนี้จะช่วยให้เราสามารถใช้ Cynefin Framework ในการวิเคราะห์สถานการณ์และเลือกวิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
การจัดประเภทสถานการณ์ใน Cynefin Framework
.
Cynefin Framework แบ่งสถานการณ์ออกเป็น 4 Domain หลัก (และ 1 Domain พิเศษ) ได้แก่ Simple, Complicated, Complex, Chaotic และ Disorder แต่ละโดเมนมีลักษณะและวิธีการตัดสินใจที่แตกต่างกัน ดังนี้
.
.
[1️⃣ Simple Contexts: The Domain of Best Practice]
.
ในโดเมนนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลมีความชัดเจนและสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า โดยทุกคนเหตุความสัมพันธ์นี้เห็นได้ชัดเจน เช่น การประมวลผลคำสั่งซื้อ หรือการจัดการกับปัญหาการชำระเงินกู้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน
.
🎯 Steps: Sense-Categorize-Respond เรารับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น จัดหมวดหมู่ตามที่เคยกำหนดไว้ แล้วตอบสนองด้วยวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice)
💭 Be Mindful: ระวังการจัดประเภทปัญหาผิดเพราะทำให้ง่ายเกินไป การติดกับดักความคิดแบบเดิมๆ และความประมาท ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวอย่างรุนแรงได้
💡 Solution: สร้างช่องทางการสื่อสาร (อาจเป็นแบบไม่ระบุตัวตนถ้าจำเป็น) ที่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยสามารถแจ้งเตือนเกี่ยวกับความประมาทได้แต่เนิ่นๆ
.
.
[2️⃣ Complicated Contexts: The Domain of Experts]
.
ในโดเมนนี้ ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่ชัดเจน แต่อาจไม่เห็นได้ชัดเจนสำหรับทุกคน จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และตัดสินใจ เช่น การค้นหาแหล่งน้ำมันหรือแร่ธาตุ ซึ่งต้องอาศัยทีมผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
.
🎯 Steps: Sense-Analyze-Respond เรารับรู้สถานการณ์ วิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ แล้วตอบสนองด้วยแนวปฏิบัติที่ดี (good practice)
💭 Be Mindful: ระวังการติดกับดักความคิดของผู้เชี่ยวชาญ และการวิเคราะห์ที่ยืดเยื้อจนไม่สามารถตัดสินใจได้ (analysis paralysis)
💡 Solution: พยายามนำคนที่มีภูมิหลังและมุมมองที่หลากหลายมาทำงานร่วมกัน สร้างสภาพแวดล้อมหรือเงื่อนไขที่สร้างสรรค์เพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลาย
.
.
[3️⃣ Complex Contexts: The Domain of Emergence]
ในโดเมนนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลมีความอ่อนแอ ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการจัดการกับวิกฤตทางธุรกิจ ซึ่งไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนตายตัว
.
🎯 Steps: Probe-Sense-Respond เราต้องทดลองทำสิ่งต่างๆ สังเกตผลลัพธ์ และตอบสนองอย่างเหมาะสม
💭 Be Mindful: ระวังการพยายามควบคุมสถานการณ์มากเกินไป หรือการเรียกร้องแผนธุรกิจที่ไม่มีทางล้มเหลวได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในโดเมนนี้
💡 Solution: ทำการทดลองที่ปลอดภัยที่จะล้มเหลว (safe-to-fail experiments) ถ้าการทดลองประสบความสำเร็จให้ขยายผล ถ้าเริ่มล้มเหลวให้ลดทอนลง
.
.
[4️⃣ Chaotic Contexts: The Domain of Rapid Response]
ในโดเมนนี้ ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่สามารถมองเห็นได้ สถานการณ์มีความวุ่นวายและไม่สามารถคาดเดาได้ อย่างเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 หรือสถานการณ์วิกฤตที่ต้องการการตอบสนองอย่างเร่งด่วน
.
🎯 Steps: Act-Sense-Respond เราต้องลงมือทำอะไรบางอย่างทันที สังเกตผลลัพธ์ และตอบสนองอย่างรวดเร็ว
💭 Be Mindful: ระวังการเก็บข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะทำในภาวะเร่งรีบ และการระบุปัญหาผิดพลาด
💡Solution: ประเมินปัญหา จัดลำดับความสำคัญของวิธีแก้ไข สร้างแผนที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติตามได้ และสื่อสารอย่างชัดเจนในภาวะวิกฤต
.
.
[5️⃣ Disorder Contexts ]
.
โดเมนนี้อยู่ตรงกลางของ Cynefin Framework เป็นสถานการณ์ที่เราไม่รู้ว่ากำลังอยู่ในโดเมนไหน
.
🎯 Steps: ไม่มีขั้นตอนเฉพาะ เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน
💭Be Mindful: ระวังการตีความสถานการณ์ตามความชอบส่วนตัวในการลงมือทำ ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
💡Solution: พยายามรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อย้ายสถานการณ์ไปสู่โดเมนอื่นที่เหมาะสมกว่า และสามารถจัดการได้ดีกว่า
.
.
[การประยุกต์ใช้ Cynefin Framework ในการตัดสินใจรับมือกับสถาณการณ์]
.
Cynefin Framework เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้ผู้นำและผู้จัดการสามารถประเมินสถานการณ์และเลือกวิธีการตอบสนองที่เหมาะสม โดยการเลือกโดเมนที่เหมาะสมและปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดในแต่ละโดเมน ผู้ใช้งานสามารถจัดการกับความซับซ้อนและความไม่แน่นอนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้ Cynefin Framework คือการจัดการกับวิกฤตในองค์กร ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและไม่มีทางออกที่ชัดเจน ผู้นำอาจต้องใช้วิธีการใน Complex Domain โดยการทดลองหาทางออกต่าง ๆ และปรับตัวตามผลลัพธ์ที่ได้ ในทางกลับกัน หากสถานการณ์เป็นวิกฤตที่ต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ผู้นำอาจต้องใช้วิธีการใน Chaotic Domain โดยการดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างเสถียรภาพแล้วค่อยหาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์
[ข้อควรระวังและข้อแนะนำในการใช้ Cynefin Framework]
.
แม้ว่า Cynefin Framework จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ แต่การใช้งานยังคงมีความเสี่ยงและข้อควรระวัง หนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญคือความมั่นใจเกินไปใน Simple Domain หากผู้นำมั่นใจในความเรียบง่ายของสถานการณ์มากเกินไป อาจทำให้ตกลงไปสู่ความสับสนวุ่นวาย (chaos) ได้ง่าย ๆ โดยไม่ทันระวัง
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงระหว่างโดเมนต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ผู้นำต้องเข้าใจว่าปัญหาสามารถเปลี่ยนจากโดเมนหนึ่งไปยังอีกโดเมนได้ และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการตอบสนองตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง