Type to search

‘The White Lotus’ กรณีศึกษาของการใช้ Pop-Culture เพื่อสร้างแบรนด์

July 10, 2025 By Kim

[ เมื่อโรงแรมกลายเป็น ‘ดารานำ’ ของซีรีส์ ]

ลองจินตนาการว่าคุณกำลังเดินผ่านล็อบบี้ของโรงแรม Four Seasons Koh Samui พร้อมกับเสียงคลื่นซัดเข้าหาฝั่งเบาๆ กลิ่นหอมอ่อนๆ ลอยมาตามอากาศ ทุกอย่างดูหรูหราแต่ไม่เวอร์วังเกินไป และทันใดนั้น คุณก็นึกขึ้นได้ว่า…

“นี่มันโรงแรมที่เป็นฉากของ The White Lotus ซีซั่นล่าสุดนี่นา”

ซีรีส์ดราม่าตลกร้ายของ HBO เรื่องนี้กลายเป็น กระแสไวรัลระดับโลก ตั้งแต่ซีซั่นแรก และ Four Seasons ที่เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำก็สามารถพลิกกระแสนี้ให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย

👉 ในซีซั่น 1 ถ่ายทำที่ Four Seasons Resort Maui ยอดค้นหาบนเว็บไซต์ของโรงแรมพุ่งขึ้นกว่า 425%

👉 ในซีซั่น 2 ใช้ Four Seasons San Domenico Palace ในอิตาลี เป็นฉากหลัก โรงแรมแห่งนี้กลายเป็น ‘จุดหมายปลายทางในฝัน’ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

👉 ล่าสุดในซีซั่น 3 Four Seasons Koh Samui กลายเป็นโลเคชันหลัก ทำให้คนแห่จองห้องพักเพื่อสัมผัสประสบการณ์แบบในซีรีส์

คำถามคือ Four Seasons ทำได้อย่างไร?

นี่คือเรื่องราวของ ‘The White Lotus Effect’ และวิธีที่โรงแรมแห่งนี้ใช้ซีรีส์ฮิตระดับโลกเป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อยกระดับแบรนด์และดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่อย่างชาญฉลาด โดยข้อมูลที่เราจะทำการวิเคราะห์กันในบทความนี้ มาจากบทสัมภาษณ์ระหว่าง Bloomberg กับ Alejandro Reynal CEO ของ Four Seasons Hotels Ltd. เกี่ยวกับ ผลกระทบของซีรีส์ ‘The White Lotus’ ต่อธุรกิจโรงแรม Four Seasons 

ซึ่งเราได้นำมาวิเคราะห์กลยุทธ์ของการสร้างแบรนด์ของ Four Seasons จากผลกระทบที่ได้รับมาจากซีรีส์ The White Lotus

[ 1. เปลี่ยนซีรีส์ให้เป็นโฆษณาฟรี Four Seasons ได้อะไรจาก The White Lotus? ]

ในวงการการตลาด หากคุณต้องการให้แบรนด์ของคุณปรากฏในซีรีส์หรือภาพยนตร์ระดับโลก คุณอาจต้องจ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อให้สินค้าหรือสถานที่ของคุณมีบทบาทในเรื่อง

แต่สิ่งที่ Four Seasons ทำคือ พวกเขาไม่ได้จ่ายเงินให้ HBO เลยแม้แต่บาทเดียว

🔹 กลยุทธ์ที่ Four Seasons ใช้

✅ ให้ซีรีส์ใช้สถานที่จริงที่มีเสน่ห์อยู่แล้ว → ทำให้ไม่ต้องเสียค่าโฆษณา แต่ได้ Publicity ฟรี

✅ อาศัยความน่าเชื่อถือของแบรนด์ซีรีส์ → The White Lotus มีฐานแฟนเหนียวแน่น ทำให้ Four Seasons ได้รับความสนใจโดยอัตโนมัติ

✅ เพิ่ม Visibility ในตลาดลักชัวรี → ซีรีส์เจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโรงแรมอยู่แล้ว

🎯 ผลลัพธ์

✅ เว็บไซต์ Four Seasons Resort Maui ที่เป็นฉากของซีซั่น 1 มียอดค้นหาเพิ่มขึ้น 425% หลังจากซีรีส์ออกอากาศ

✅ Four Seasons Koh Samui (ซีซั่น 3) กำลังกลายเป็นหนึ่งในโรงแรมที่มีคนอยากเข้าพักมากที่สุดในเอเชีย

✅ กระแส ‘FOMO’ (Fear of Missing Out) ทำให้คนจองห้องพักเพื่อสัมผัสบรรยากาศแบบในซีรีส์

ดังนั้น Four Seasons ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ถ่ายทำ แต่พวกเขาทำให้โรงแรมของตนกลายเป็น ‘ตัวเอก’ ของเรื่องได้อย่างแนบเนียน

[ 2. ต่อยอดกระแสด้วย ‘The White Lotus Experiences’ ]

แทนที่จะปล่อยให้ความนิยมของซีรีส์เป็นเพียงกระแสชั่วคราว Four Seasons เลือกที่จะเปลี่ยนความนิยมเป็น ‘ประสบการณ์จริง’ ที่ลูกค้าสัมผัสได้

🔹 ตัวอย่าง White Lotus Experiences ที่ Four Seasons นำเสนอ

✅ แพ็กเกจ White Lotus Inspired Stays → พักในห้องที่ถ่ายทำซีรีส์ และได้รับการบริการแบบ VIP

✅ ธีมเครื่องดื่มและอาหารแบบ White Lotus → ค็อกเทลและอาหารที่ได้รับแรงบันดาลใจจากซีรีส์

✅ ฉายซีรีส์แบบเอ็กซ์คลูซีฟในโรงแรม → ทำให้แขกรู้สึกอินไปกับเรื่องราว

🎯 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น?

✅ ลูกค้าจำนวนมาก เต็มใจจ่ายแพงขึ้นเพื่อได้รับประสบการณ์นี้

✅ โรงแรมกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ ‘ต้องไปสักครั้งในชีวิต’

ดังนั้น Four Seasons สามารถสร้างรายได้จากกระแสของซีรีส์ โดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณาเลย

[ 3. สร้าง FOMO และทำให้แบรนด์เป็น ‘Luxury Dream Destination’ ]

ลองนึกภาพ…คุณเลื่อน Instagram และเห็นเซเลบริตี้คนหนึ่งกำลังโพสต์ภาพนั่งจิบค็อกเทลริมสระว่ายน้ำที่ Four Seasons Koh Samui พร้อมแคปชันว่า

“Living my White Lotus dream 💕✨ #LuxuryTravel #FourSeasons”

มันอาจจะสามารถเรียกร้องความสนใจ และกระตุ้นให้คุณรู้สึกว่าโรงแรมนี้คือจุดหมายที่ต้องไปให้ได้

นี่คือพลังของ FOMO (Fear of Missing Out) และ Aspirational Branding

🔹 Four Seasons ใช้กลยุทธ์นี้อย่างไร?

✅ สร้างความรู้สึก ‘Exclusive’ – ทำให้โรงแรมดูเหมือนเป็นที่ที่คนพิเศษเท่านั้นที่สามารถเข้าพักได้

✅ ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางโปรโมทหลัก – อินฟลูเอนเซอร์และแขกที่เข้าพักช่วยโปรโมทผ่าน Instagram และ TikTok

✅ จำกัดจำนวนแพ็กเกจ White Lotus Experiences – ทำให้คนต้องรีบจองก่อนหมด

🎯 ผลลัพธ์? โรงแรมถูกจองเต็มเร็วขึ้นกว่าปกติ และลูกค้ายอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้รับประสบการณ์แบบซีรีส์

[ 4. กลยุทธ์ Cross-Promotion เมื่อแบรนด์โรงแรมและซีรีส์ร่วมมือกันสร้างกระแส ]

Four Seasons ใช้ความนิยมของ The White Lotus ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจับมือกับ HBO และแพลตฟอร์มบันเทิงอื่นๆ

🔹 วิธีที่พวกเขาใช้

✅ ให้สื่อต่างๆ พูดถึง Four Seasons ในฐานะ ‘The White Lotus Hotel’

✅ ใช้ Influencers และ Celebrities ที่เป็นแฟนซีรีส์มาพักจริง เพื่อสร้างกระแสไวรัล

✅ โปรโมทผ่านช่องทางของ HBO – เชื่อมโยงเนื้อหาซีรีส์กับโรงแรม

🎯 ผลลัพธ์?

✅ Four Seasons ไม่เพียงแต่ได้ฐานลูกค้าประจำ แต่ยังได้ลูกค้าใหม่ที่มาจากฐานแฟนซีรีส์

✅ คนที่ไม่เคยสนใจโรงแรมมาก่อน กลายเป็นลูกค้าเพราะพวกเขาต้องการสัมผัสประสบการณ์ของ White Lotus

[ กุญแจสำคัญ Four Seasons ใช้ The White Lotus สร้างแบรนด์ได้อย่างไร? ]

✅ Publicity ฟรี → ได้โฆษณาจากซีรีส์โดยไม่ต้องจ่ายเงิน

✅ เปลี่ยนกระแสเป็นรายได้จริง → เปิดตัว ‘White Lotus Experiences’

✅ ใช้ Emotional Branding → ทำให้คนรู้สึกอยากสัมผัสชีวิตแบบตัวละครในซีรีส์

✅ สร้าง FOMO และ Cross-Promotion → กระตุ้นให้เกิดยอดจองจริง

🔥 The White Lotus ไม่ใช่แค่ซีรีส์ แต่เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ Four Seasons ใช้ได้อย่างชาญฉลาญ

สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ได้รับชมซีรีส์ The White Lotus ก็สามารถเข้าไปรับชมทุกซีซันได้ที่ Max แต่ถ้าใครดูแล้ว สามารถมาพูดคุยกับ Future Trends หรือ แชร์ทฤษฎีที่คิดไว้ก็ได้นะ ว่าแท้จริงแล้ว ‘น้องมุก’ จะเป็นคนดีหรือไม่?

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์