LOADING

Type to search

ชวนดูโมเดล ‘3 Business Impacts’ จาก ‘AIS The StartUp’ เปิดประตูสู่ทุกโอกาสให้ธุรกิจรายย่อย

ชวนดูโมเดล ‘3 Business Impacts’ จาก ‘AIS The StartUp’ เปิดประตูสู่ทุกโอกาสให้ธุรกิจรายย่อย
Share

‘การเป็นเจ้าของธุรกิจ’ อาจเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่โลกธุรกิจในวันนี้ เรียกได้ว่า มีความดุเดือดอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยความเปลี่ยนแปลง (Disruption) ที่เกิดขึ้น ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจกำลังก้าวเข้าสู่บทใหม่ ที่ใครเร็วกว่า ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะไป โดยเรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยี นับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเกิดการ ‘แทนที่’ ขึ้น ในช่วงนี้เราจะเห็นธุรกิจเกิดใหม่มากมาย เข้ามาแทนที่ธุรกิจดั้งเดิมจนต้องเปลี่ยนรูปแบบไป หรือปิดกิจการไปเลยก็มี 

เมื่อโลกธุรกิจไม่เหลือพื้นที่ให้ลอง ‘ผิดพลาด’ อีกต่อไป

หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้การเติบโตของเทคโนโลยี คือ ‘พฤติกรรมของผู้บริโภค’ ที่เปลี่ยนแปลงไปเสมอในแต่ละยุค ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจในยุคนี้ต้องเปลี่ยนแปลงตามเพื่อให้ทันกับผู้บริโภคให้ได้

ข้อมูลจากการสำรวจผู้คนกว่า 9,069 คน จาก 25 ประเทศ โดย PwC ระบุว่า

  • มากกว่า 50% ของผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนมาซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์มากขึ้น นั่นหมายความว่าธุรกิจที่ยังไม่ปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ในวันนี้ จะเสียฐานลูกค้าเหล่านี้ไป 
  • ผู้บริโภคชาวไทยกว่า 47% หาตัวเปรียบเทียบในสินค้าประเภทเดียวกันมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าจากร้านประจำก็ได้ ทำให้ธุรกิจไม่สามารถพึ่งพาแนวคิดการตลาดแบบ ‘ความภักดี’ (Loyalty) ของลูกค้าได้เหมือนเมื่อก่อน แต่ต้องใส่ใจกับคุณภาพของสินค้าให้มากขึ้น

นอกจากนี้ ข้อมูลแนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2565-2567 จากธนาคารกรุงศรียังระบุอีกว่า แม้สถานการณ์ของ Covid-19 จะเริ่มคลี่คลายลง แต่ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่การผลิตขึ้น เพราะวัตถุดิบเริ่มขาดแคลนจากการหยุดชะงักของภาคขนส่ง ทำให้ธุรกิจต้องหันมาพึ่งทรัพยากรจากแหล่งเดียวกันมากขึ้น การแข่งขันในตลาดจึงยิ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว

เห็นได้ว่าสถานการณ์ในโลกธุรกิจนั้นดุเดือดมาก โดยอาจเรียกได้ว่า ‘ไม่มีพื้นที่ให้ผิดพลาด’ สำหรับธุรกิจเกิดใหม่อย่าง Startup เพราะการพลาด หรือล้มแค่ครั้งเดียว อาจสร้างความเสียหายอย่างมากให้ธุรกิจได้ กว่าจะเสียเวลา และเงินทุนในการฟื้นตัว ธุรกิจคู่แข่งอาจจะแซงหน้าเราไปไกลแล้ว

รู้จัก ‘พันธมิตรทางธุรกิจ’ เพื่อนร่วมเส้นทางแห่งการเติบโตในทุกสถานการณ์

เมื่อเส้นทางบนโลกธุรกิจก้าวไปคนเดียวได้ยาก การมีเพื่อนร่วมทางที่มีความเชี่ยวชาญ และมีกำลังที่มากกว่าจะช่วยให้เส้นทางธุรกิจนั้นปลอดภัยขึ้น ทำให้ทุกวันนี้ธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจเกิดใหม่หันหน้าหา ‘พันธมิตรทางธุรกิจ’ (Business Partnership) กันมากขึ้น โดยรูปแบบของการทำธุรกิจร่วมกับพันธมิตรนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของเราต้องการแรงสนับสนุนในรูปแบบไหน ซึ่งการสนับสนุนจากพันธมิตรที่แข็งแกร่งในแต่ละด้านที่แตกต่างกันออกไป ก็เหมือนเป็น ‘สูตรโกง’ ที่ทำให้ธุรกิจโตได้ไวขึ้น

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราขอสรุปประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจร่วมกับพันธมิตรเอาไว้ ดังนี้

  • ลดต้นทุนในการดำเนินงานจากการสร้างทุกอย่างขึ้นใหม่ 
  • เพิ่มความได้เปรียบในตลาดการแข่งขัน จากการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น
  • เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
  • เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเพิ่มความน่าเชื่อถือจากการจับมือกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง

จะเห็นได้ว่าการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นกลยุทธ์สำคัญของธุรกิจขนาดเล็กในยุคนี้ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน สำหรับตัวองค์กรขนาดใหญ่เองก็ยังมีส่วนที่ขาดหายไปซึ่งองค์กรขนาดเล็กสามารถเข้ามาเติมเต็มได้ จึงสามารถสร้างผลประโยชน์ร่วมกันแบบ ‘Win-Win Situation’ ได้

ยิ่งในยุคเทคโนโลยีแบบนี้ แน่นอนว่าพื้นที่สนามแข่งขันทางธุรกิจย่อมเป็นโลกออนไลน์เสียส่วนใหญ่ ธุรกิจที่ไม่สามารถดึงตัวเองเข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์ได้ ก็เรียกได้ว่าเสียโอกาสไปกว่าครึ่งแล้ว การมองหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีออนไลน์ จึงเป็นโจทย์สำคัญของธุรกิจที่อยากโตในยุคนี้ อย่าง ‘AIS’ เอง เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไทย ที่มีเทคโนโลยีด้านออนไลน์ดิจิทัลคอยช่วยเหลือสนับสนุนธุรกิจพันธมิตรให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เติบโตไปพร้อมกัน ด้วยโมเดล ‘3 Business Impacts’ จาก ‘AIS The StartUp’

สำหรับที่ ‘AIS The StartUp’ นั้นให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมขีดความสามารถด้าน IT Infrastructure ของ SME และ Tech Start up โดยสร้าง Partnership Model ออกมาในรูปแบบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทั้ง AIS The StartUp และองค์กรพันธมิตร ทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่

Revenue Impact (ผลกระทบในเชิงรายได้)

ทาง AIS The StartUp จะร่วมกันออกแบบโครงสร้างรายได้แบบใหม่ และรูปแบบการจัดสรรรายได้ของทั้งสององค์กร (Revenue Sharing) ผ่านการรวมสินค้า และบริการของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน เพื่อขยายประตูสู่ฐานลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มโอกาสในการเติบโตทางการค้าให้สูงขึ้น โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น

  • นำบริการของ Startup มาเสริมบนบริการเดิมของ AIS เพื่อยกระดับการให้บริการ โดยทาง Startup สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าบนเครือข่ายของ AIS รวมกับฐานลูกค้าของบริษัท AI กว่า 50 ล้านราย
  • นำ IT Solution ต่างๆ ของ AIS The StartUp ไปเสริมรูปแบบการทำงานของ Startup เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในด้านต่างๆ
  • นำบริการของทั้งสององค์กรมาออกแบบเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่เป็นธุรกิจร่วมกัน ในลักษณะ Startup-as-a-Partner 

ขึ้นอยู่กับการตกลงกันตั้งแต่ต้นว่าทาง Startup จะดำเนินธุรกิจร่วมกันกับ AIS The Startup อย่างไร แล้วจึงวางแผนโมเดลธุรกิจพันธมิตรขึ้น 

Productivity Impact (ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต และการทำงาน)

เพราะการเริ่มทุกอย่างจากศูนย์อาจช้าเกินไปสำหรับการดำเนินธุรกิจในยุคนี้ การจับมือกับ AIS ธุรกิจ Startup จึงสามารถนำเทคโนโลยี และ  IT Solution ต่างๆ เข้าไปเสริมการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดยในกลุ่มนี้ จะสามารถแบ่งความร่วมมือออกได้เป็นสามประเภท ได้แก่

  • Startup-as-a-Vendor/Supplier: ความร่วมมือที่ AIS The Startup เป็นลูกค้า
  • Startup-as-a-partner: ความร่วมมือที่ AIS The Startup เป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกัน
  • AIS-as-an-InfraPartner: โมเดลความร่วมมือที่ AIS The Startup นำ AIS Digital Solution ต่างๆ เข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ SME และ Tech Startup ซึ่งก็มีอยู่มากมาย ได้แก่ Cloud Service (Local Cloud และ Global Cloud), Cyber Security Service ที่มาพร้อมกับการให้บริการ Cloud, ICT Service, IoT Service และ Data Center Service 

เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ก็เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อได้ในยุคดิจิทัลแบบนี้ และการที่ธุรกิจ Startup หรือ SME ต้องลงทุนเองคนเดียวทั้งหมด ก็อาจต้องใช้ทรัพยากรทั้งเงินทุน เวลา และบุคคลที่มากเกินกำลังได้

Customer Experience Impact (ผลกระทบต่อการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า)

และสำหรับกลุ่มสุดท้าย ที่มุ่งเน้นไปยังการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกลุ่มลูกค้า โดย AIS The StartUp และธุรกิจพันธมิตร จะนำบริการของตนมาเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลในรูปแบบที่แตกต่างออกไปให้กับลูกค้า ด้วยโครงการต่างๆ ได้แก่

  • AIS Privilege: สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วไป 
  • AIS BizUp: สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าองค์กร

ความร่วมมือในลักษณะนี้เป็นในรูปแบบ Startup-as-a-Partner ที่ตัว Startup ได้ทดสอบการให้บริการในตลาดจริงๆ เพื่อคิดหาแนวทางการเข้าถึง และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในรูปแบบต่างๆ 

จะเห็นได้ว่า การจับมือร่วมกันกับพันธมิตรทางธุรกิจ ก็เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจในยุคนี้ ที่ทุกอย่างต้องรวดเร็ว และไม่มีพื้นที่ให้ผิดพลาด ด้วยโมเดล ‘3 Business Impacts’ จาก AIS The StartUp จะมีบทบาทอย่างมากในการเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจ SME และ Tech Startup ได้เติบโตขึ้นจนสามารถแข่งขันในตลาดธุรกิจได้

โดยผู้ประกอบการธุรกิจ SME และ Tech Startup ที่สนใจอยากจับมือร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ AIS The StartUp สามารถศึกษาดูรายละเอียดของความร่วมมือ และดูรายละเอียดการ Pitching ได้ที่ https://www.ais.th/thestartup/index.htm 

Sources: https://pwc.to/3KlI9PV

https://bit.ly/3QRxyyv

https://bit.ly/3KrBZOk

Tags::