Type to search

“สตาร์ทอัพไทยจะโตแบบก้าวกระโดด ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง” สรุปประเด็นสำคัญจากงาน National Digital CTO FORUM 2022

October 01, 2021 By Future Trends

AIS Business ร่วมกับ AIS The StartUp จัดงานเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘National Digital CTO FORUM 2022’ Co-creation SaaS Business with 5G and Cloud เมื่อวันพฤหัสบดี 23 กันยายน 2564 ที่รวบรวมผู้บริหารระดับโลกสายเทคโนโลยี หรือ CTO และกูรูด้านดิจิทัล มาร่วมแชร์ประสบการณ์เพื่อให้ StarUp ไทยก้าวไกลสู่ยุคดิจิทัล พร้อมแข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป

AIS The StartUp ตอกย้ำความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้เกิด Ecosystem ด้านการพัฒนาธุรกิจ การสร้างโอกาส และติดอาวุธทางดิจิทัลให้กับวงการ StartUp มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาส StartUp ไทยก้าวทันตลาดโลก

‘National Digital CTO FORUM 2022’ Co-creation SaaS Business with 5G and Cloud

ภายในงานอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจกว่า 5 หัวข้อ โดยจะมาอัปเดตเทรนด์การปรับใช้เทคโนโลยี 5G & Cloud Technology กับธุรกิจในยุคนี้ พร้อมทั้งแชร์ความรู้ และประสบการณ์ของสตาร์ทอัพที่เติบโตจาก Unicorn ไปสู่ Decacorn ผ่านการสร้าง Innovation ที่แข็งแกร่ง

มาดูสรุป 5 ประเด็นวำคัญจากงาน ‘National Digital CTO FORUM 2022’ Co-creation SaaS Business with 5G and Cloud กัน!

สิ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพเติบโตแบบก้าวกระโดดก็คือการมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง

ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้านเอไอเอส สตาร์ทอัพ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงภาพรวมของสตาร์ทอัพในปัจจุบัน และปัจจัยที่ทำให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตได้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ในฐานะที่เอไอเอสมีจุดแข็งด้านเครือข่าย 5G และเทคโนโลยี จึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ประเทศไทยพร้อมสู่คำว่าดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้านเอไอเอส สตาร์ทอัพ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

โดยคุณศรีหทัย พราหมณี เล่าว่านับตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปีนี้ ถือเป็นช่วงเวลาทองของสตาร์ทอัพตัวจริง ซึ่งปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้สตาร์ทอัพเติบโต คือสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทย ที่มีจุดกลยุทธ์สำคัญในเชิงภูมิศาสตร์ที่เชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ และอีกข้อคือไทยมีกลุ่มประชากรที่ใหญ่เพียงพอ ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดมีความหลากหลาย และมีการแตกแขนงได้มากเพียงพอ

“การเติบโตของสตาร์ทอัพ โมเดลทางธุรกิจคือสิ่งที่จะทำให้พวกเขาเติบโตไปข้างหน้า แต่สิ่งที่ทำให้เติบโตแบบก้าวกระโดดก็คือการมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง”

ดังนั้นนอกจากสตาร์ทอัพจะต้องมองไปข้างหน้า เพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น ก็ควรจะต้องหันกลับมามองข้างหลังเพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่เราสร้างขึ้นเป็นอย่างไร ซึ่งในเมืองไทยมีหลายองค์กรที่นอกเหนือจาก AIS และไมโครซอฟต์ ที่พร้อมสนับสนุนให้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

ธุรกิจเปลี่ยนรูปแบบจาก “On Premise” มาเป็น “On Cloud”

ด้านดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้พูดถึงสิ่งที่สตาร์ทอัพจะต้องพัฒนา และเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมโครงสร้างให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

โดยดร.ชินาวุธ กล่าวว่า ด้าน IMD Digital Competitiveness 2021 ไทยอยู่ในอันดับที่ 39 ของโลก หรืออันดับ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย และถือว่ายังมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป แต่รูปแบบเปลี่ยนไปจาก “On Premise” มาเป็น “On Cloud” แม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ไทยเริ่มมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาในเรื่องที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

“ในแง่การพัฒนาการแข่งขันด้านดิจิทัล ไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการให้ความรู้”

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการศึกษาที่รองรับการเติบโตด้านดิจิทัล การพิจารณาว่าโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่มีอยู่มีความเหมาะสมพอหรือไม่ กฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นมิตรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม การหา Risk Capital หรือเงินทุนที่รองรับความเสี่ยง ไทยมีการเตรียมความพร้อมมากเพียงใดในอนาคต และองค์กรต่าง ๆ มีความพร้อมที่จะปรับตัวเพียงใด

การพัฒนาและสร้างข้อมูล คือหัวใจหลักของ Grab

Philipp Kandal, Head of Engineer, GEO at Grab ได้มาแชร์มุมมองในการทำงานของ Grab ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้พวกเขาพัฒนาการขนส่งได้ โดยคุณ Philipp Kandal ระบุว่า

Philipp Kandal, Head of Engineer, GEO at Grab

‘แผนที่’ คือส่วนสำคัญสำหรับ Grab เพราะทำให้สามารถระบุตำแหน่งของลูกค้า หรือวิเคราะห์ได้ว่าปกติลูกค้าจะเดินทางไปสั่งอาหารที่ใด รวมทั้งระบบแผนที่ยังทำให้ทราบถึงสถานที่ในการรับและส่งอาหาร การค้นหาร้านอาหาร และการเสนอแนะร้านที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ยัง ช่วยในการประเมินระยะทางในการขนส่งที่มีผลต่อค่าบริการ รวมทั้งแผนที่ยังมีประโยชน์ในด้านการนำทาง การแนะนำเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับผู้ส่ง ทั้งยังช่วยให้ลูกค้าได้ทราบถึงร้านอาหารที่อยู่ใกล้เคียง ร้านที่กำลังได้รับความนิยม หรือร้านที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษ

“การพัฒนาและสร้างข้อมูลที่ช่วยให้ Grab สามารถพัฒนาการขนส่ง ด้วยการใช้ภาพถ่าย และ Machine Learning”

ปัจจุบัน Grab ใช้ภาพถ่าย และ Machine Learning เพื่อให้เห็นภาพว่าสภาพแวดล้อมโดยรอบเส้นทางเป็นอย่างไร หรือมีอุปสรรคใดบ้าง โดยผลิตภัณฑ์ที่ Grab มีอยู่ในตอนนี้ อาทิ Parking finder หรือสถานที่จอดรถใกล้ร้านอาหาร และที่พักอาศัยของลูกค้า, Grab Venue หรือข้อมูลสถานที่เพื่อให้ลูกค้าและผู้ส่งอาหารมี Guidance โดยใช้รูปภาพ และ Multi Model Routing เพื่อให้ผู้ส่งอาหารมีทางเลือกในการเดินทาง

ความคิดที่เรียกว่า “learn-it-all” จะเข้ามาแทนที่ “know-it-all”

ภูผา เอกะวิภาต CTO Microsoft Thailand ได้แชร์มุมมองของบทบาท CTO รวมถึง Mindset ในอนาคตที่จะต้องเปลี่ยนตาม

ภูผา เอกะวิภาต CTO Microsoft Thailand

Job Description ของ CTO ในระดับองค์กรขนาดเล็ก Co-founder เพียงคนเดียวก็เพียงพอต่อการสร้างผลิตภัณฑ์และเปิดตัวสินค้าในช่วงแรก เมื่อพัฒนาขึ้นเป็นบริษัทใหญ่ CTO มีความสำคัญมากกว่าแค่การพัฒนาสินค้า แต่ยังควรหันมาให้ความสำคัญในด้านธุรกิจ การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร การขับเคลื่อนพนักงาน การสร้างเครือข่ายมากขึ้น อีกด้วย

“ความคิดที่เรียกว่า “learn-it-all” จะเข้ามาแทนที่ “know-it-all” ทำให้เกิด mindset ใหม่”

ไมโครซอฟท์มองว่า ทุกธุรกิจคือธุรกิจดิจิทัลที่ส่งผลในวงกว้างต่อหลาย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ IT culture transformation เพราะเกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทุกเรื่องคือเรื่องใหม่ที่ควรเรียนรู้ เช่นการสัมมนาด้านเทคโนโลยีที่มีคนเข้าร่วมมากขึ้น สื่อออนไลน์ หรือ ผู้ผลิตสื่อด้านการศึกษาที่มากขึ้น

โอกาสของสตาร์อัพ สู่ตลาดทุน และ LiVE Acceleration Platform

ด้านประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กล่าวว่า ทางเอ็ม เอ ไอ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบซื้อขาย LiVEe Exchange ระบบซื้อขาย Live Exchange จะช่วยทำให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ สามารถระดมทุนและจะเป็นการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้

ประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ พยายามส่งเสริมเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพผ่านกลไกตลาดทุน โดยการพัฒนาผู้ประกอบการผ่าน LiVE Platform ที่ช่วยเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนสำหรับผู้ประกอบการ เช่นการจัดทำ E-Learning เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานและเชิงลึก การให้บริการ Business Coaching ผ่านโครงการ LiVE Acceleration Program และ LiVE Incubation Program

ระบบต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขีดความสามารถและมีความเข้มแข็ง และทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการช่วยเตรียมพร้อมให้แก่สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี ก่อนที่จะเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

โดยที่ผ่านมา เอ็ม เอ ไอ ได้ร่วมพูดคุยกับ AIS และไมโครซอฟท์ในการพัฒนา LiVE Platform ซึ่งเป็น แพลตฟอร์มเปิด ที่ ประกอบด้วย Education Platform ที่มุ่งสร้างความรู้, Scaling Up Platform ที่มุ่งสร้างความแข่งแกร่งให้กับผู้ประกอบการที่พร้อมจะเติบโต และมีความตั้งใจที่จะเข้าสู่ตลาดทุน และ LiVE Acceleration Platform