จากตัวตนสู่ตัวงาน…เลือก e-F@ctory สู่อุตสาหกรรมที่ปรับแต่งได้
อนาคตคือการปรับแต่งได้ อุตสาหกรรมต้องปรับตามใจลูกค้า
รองเท้าของคุณ เสื้อของคุณ สมุดโน๊ตของคุณ แก้วกาแฟของคุณเป็นอย่างไร ในทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากสามารถตอบได้ว่าสิ่งของที่ตัวเองใช้ลักษณะเป็นอย่างไร รวมไปถึงมีความเกี่ยวข้องกับตัวเขาได้อย่างไร
ตลอดมาไลฟ์สไตล์ และตัวตนของเรามักจะถูกแสดงออกมาผ่านการแต่งกาย หรือข้าวของที่เราใช้ ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่าเราชื่นชอบอะไร ให้คุณค่ากับสิ่งใด ไม่ว่ามันจะเป็นรองเท้าแฟชั่น เสื้อกีฬาทีมโปรด หูฟังราคาแพง หรือแก้วกาแฟประทับเเบรนด์ร้านประจำของคุณ สิ่งเหล่านี้บ่งบอกตัวคุณไม่มากก็น้อย
ในโลกที่ผู้คนมองเห็นกันตลอดเวลาผ่านโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะ Facebook, Instragram หรือ Twitter ผู้คนมองของที่เขาใช้เป็นวิธีการแสดงออกถึงตัวตนของพวกเขามากขึ้น และผู้คนแสดงออกถึงสิ่งที่พวกเขากินดื่มใช้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟที่พวกเขานั่ง บาร์ที่พวกเขาไป เสื้อผ้าที่เขาใส่ ของที่เขาใช้ ผู้คนแสดงให้คนอื่นเห็นถึงสิ่งเหล่านี้เพื่อเล่าเรื่องราวของตัวเอง
แต่สินค้าแบบไหนที่จะช่วยเล่าเรื่องหรือบ่งบอกตัวตนของผู้ใช้ได้ดีที่สุด?
Customization & Personalization
การปรับแต่ง (Customization) และ ทำให้เป็นของส่วนตัว (Personalization) ในการบอกความเป็นตัวตนจะมีอะไรดีไปกว่าการใช้ของที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก เพื่อแสดงความเป็นตัวตนและบอกออกไปว่า “ตัวฉันนั้นไม่เหมือนใคร”
ที่จริงสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่มีมานานมากแล้ว เช่นการเสนอบริการปักชื่อเจ้าของลงไปบนรองเท้ากีฬา หรือการสลักชื่อลงบนปากกา ซึ่งส่วนมากแล้วบริการเช่นนี้มักเสนอมาควบคู่กับสินค้าราคาแพง
แต่ในปัจจุบันเราอาจได้เห็นสินค้าที่อนุญาตให้เราปรับแต่งได้ตามใจในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ตั้งแต่การเลือกลายสกรีนเสื้อได้เอง หรือบริการจากแบรนด์รองเท้ากีฬาที่ให้ลูกค้าเลือกได้ออกแบบรองเท้าของตัวเองตั้งแต่สีพื้นรองเท้า ไปจนถึงเชือกเลยทีเดียว และแม้ว่าการเพิ่มบริการในการออกแบบเช่นนี้เข้าไปจะทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นกว่าปกติ ผู้คนก็ยินดีที่จะจ่ายให้กับมัน
และเรานั้นต่างล้วนก็อยากใส่รองเท้าที่เราออกแบบเอง และใช้สิ่งของที่ออกแบบมาเพื่อเรา ในเชิงจิตวิทยาแล้วความรู้สึกเช่นนี้ก็ไม่แปลกเลย เพราะเรานั้นต่างก็ถูกขับเคลื่อนด้วยความปราถนาที่จะควบคุม (Dire To Control) ซึ่งทำให้เราค้นหาความพึงพอใจจากการที่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆรอบตัวได้
อนาคตต่อจากนี้ไปความต้องการในการควบคุม ความต้องการในการออกแบบนี้เองจะเป็นกลไกสำคัญทางการตลาด และบางทีมันอาจทำพลิกตำราการตลาดแบบเดิมๆกลับด้านเลยก็ได้
Brand Loyalty กลับด้าน
การสร้างลูกค้าที่ยึดมั่นกับแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกบัตรสะสมแต้มเพื่อให้ลูกค้าเลือกกลับมาใช้เพื่อยกระดับสิทธิพิเศษหรือเก็บแสตมป์ไปแลกของ
อีกวิธีหนึ่งในการสร้าง Brand Loyalty ที่ถูกใช้มากในปัจจุบันนั้นคือการสร้าง Brand Story หรือการสร้างเรื่องราวของแบรนด์เพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น แบรนด์รองเท้าที่มีเรื่องราวของตัวเอง เรื่องราวเหล่านี้ผูกโยงกับเรื่องราวของผู้ใช้ ว่าคุณเป็น Adidas Nike หรือ Asics และแบรนด์เหล่านี้มักจะออกแบบสินค้าให้แสดงแบรนด์ของตัวเองให้เห็นชัด เพื่อให้ผู้ใช้เลือกบอกเล่าตัวตนของตัวเองผ่านแบรนด์ของพวกเขา
แต่ต่อไปความต้องการในการออกแบบและการแสดงออกของตัวตนอาจทำให้แนวเรื่อง Brand Loyalty เปลี่ยนไปจากที่เคย ผู้คนไม่ได้มองหาสิทธิพิเศษ หรือโอกาสในการสะสมแต้มแลกสินค้า แต่ต้องการบริการที่ออกแบบมาเพื่อเขาเเทน เช่นการผลิตสินค้าสำหรับเขาโดยเฉพาะ อาหารที่ปรุงขึ้นเพื่อเขาโดยเฉพาะ หรือสูตรกาแฟสำหรับตัวเขาเอง
ในขณะเดียวกันการสร้างเรื่องราวของแบรนด์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดึงดูดผู้คนให้แสดงตัวตนผ่านแบรนด์ อาจต้องพลิกกลับมาสู่การที่แบรนด์จะต้องสามารถเล่าเรื่องของพวกเขาได้
Brand Loyalty รูปแบบใหม่อาจไม่ใช่การนำแบรนด์ไปปรากฏอยู่บนตัวคน แต่จะเป็นการนำผู้คนมาปรากฏอยู่บนแบรนด์
Mass Customization ยุคต่อไปของการผลิต
เหตุผลที่ทำให้การออกแบบโดยเฉพาะเพื่อผู้ใช้มีราคาที่สูงก็เพราะการผลิตเพื่อคนคนเดียว หรือ Made To Order นั้นมีต้นทุนสูง ในขณะที่มาตรฐานหลักของอุตสาหกรรมคือการผลิตแบบ Mass Production ที่ทำให้สินค้าที่ออกมาไม่มีความหลากหลาย ไม่กี่สี ไม่กี่แบบ และผู้ใช้ก็เลือกได้แค่เท่าที่มีผลิตออกมาเท่านั้น
แต่มาตรฐานในการผลิตในอนาคต หรือในอุตสาหกรรมยุคใหม่การผลิตจะต้องขับเคลื่อนไปสู่ Mass Customization หรือการผลิตตามคำสั่งแบบจำนวนมาก
- Mass Customization คือรูปแบบการผลิตที่อาศัยความสามารถในการควบคุมกระบวนการผลิตมาช่วยให้สามารถปรับแต่งการผลิตได้ตามความต้องการมากขึ้น ซึ่งซับซ้อนกว่าการผลิตแบบ Mass Production ที่เป็นรูปแบบการผลิตที่ทำให้ยิ่งเยอะยิ่งถูก
- Mass Production จะต้องอาศัยระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถควบคุมการผลิตสามารถปรับแต่งการผลิตตามสั่ง Made To Order ได้โดยต้นทุนไม่สูงขึ้น หรือสูงขึ้นน้อย
ซึ่งแนวการผลิตแบบ Mass Customization ก็ได้ถูกยกให้เป็น The New Frontier in Business Competition หรือมาตรฐานใหม่ในการแข่งขันทางธุรกิจ
อุตสาหกรรม 4.0
4.0 เป็นตัวเลขที่เราได้เห็นคนพูดถึงกันอย่างมากมาย และแม้ว่าจะเป็นเลขที่ประมาณความหมายได้ยากแต่ก็เหมือนทุกคนสามารถเข้าใจร่วมกันได้ว่า 4.0 นี้หมายถึงยุคใหม่ และเทคโนโลยีที่เข้ามามากขึ้น
ปัจจุบันเรามองอุตสาหกรรมในไทยอยู่ในจุดไหน เราอาจมองได้ว่าไทยยังคงอยู่ที่ 2.0 ในอุตสาหกรรมที่ยังต้องใช้คนจำนวนมากในการจัดการงานพื้นฐานต่างๆในโรงงาน ในขณะที่ 4.0 คืออุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อน และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
ดังนั้นอุตสาหกรรมในยุค 4.0 จะต้องไม่เป็นแค่โรงงาน แต่คือโรงงานอัจฉริยะ
และการสร้างให้เกิดโรงงานอัจฉริยะขึ้นได้นั้นก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยเชื่อมโยงการทำงานอุตสาหกรรมเข้าสู่การควบคุมและดำเนินการผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งการทำเช่นนี้จะสร้างให้เกิดข้อได้เปรียบเนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงและสามารถจัดการควบคุมงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ไม่ต้องอยู่ในตัวโรงงาน และสามารถมอนิเตอร์ติดตามสายการผลิด และ Supply Chain ได้แบบ Real-Time
ปัจจุบันนี้หนึ่งในผู้นำด้านระบบที่ช่วยปรับโรงงานอุตสาหกรรมให้กลายเป็น Smart Factory อย่างเต็มรูปแบบ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น หรือแบรนด์ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค (Mitsubishi Electric) ที่เราคุ้นเคยกันนั้นเอง
e-F@ctory คือโซลูชั่นในการช่วยสร้างโรงงานอัจฉริยะสำหรับยุคอุตสาหกรรม 4.0 จากมิตซูบิชิ อีเล็คทริค (Mitsubishi Electric) ที่ผสมผสานระหว่าง Factory Automation และ IT โดยมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของข้อมูลแบบ Real-time ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจัดการสายงานการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี 3 องค์ประกอบอัจฉริยะ
- iQ platform: Shop floor optimizing solution
เพิ่มกำลังการผลิต และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการโดยรวม ด้วย iQ platform ที่ผสานการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆในระบบอัตโนมัติเข้าด้วยกัน และเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดในไลน์การผลิตด้วยเครือข่าย CC-Link IE ที่รองรับอุปกรณ์หลากหลายแบรนด์และมีความเร็วสูงถึง 1Gbps ที่ทำให้สามารถดูข้อมูลได้แบบ Real-time
- Energy Saving Solution
โมดูล Power measuring ที่สามารถวัดปริมาณการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำแบบ Real-time และสามารถติดตั้งโมดูลลงบน PLC ได้โดยตรง จึงประหยัดพื้นที่ ลดการเดินสายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันที่สามารถระบุอุปกรณ์และระยะเวลาที่มีการใช้พลังงานสูง ทำให้สามารถวางแผนปรับปรุงระบบการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Edge computing (FA-IT integration)
เทคโนโลยี Edge Computing ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจักรในระบบอัตโนมัติและระบบสารสนเทศ ทำให้การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยโมดูล MES Interface ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลการผลิตไปสู่ระบบ Manufacturing Execution System (MES) ได้โดยตรงแบบ Real-time โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเพิ่มเติมหรือคอมพิวเตอร์เกตเวย์ และยังมีฟังก์ชันที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้แม้ขาดการเชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลและระบบควบคุม หรือโมดูล High speed data logger ที่สามารถรวบรวมข้อมูลการผลิตจากอุปกรณ์ต่างๆได้โดยตรงด้วยความเร็วสูง โดยที่ไม่ต้องการอุปกรณ์ใดๆเพิ่มเติม ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่ม reliability ของระบบ
การปรับเปลี่ยนสู่ระบบโรงงานอัจฉริยะอย่าง e-F@ctory ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้โรงงานสามารถจัดการสายการผลิตและควบคุม Supply Chain รวมถึงติดตามผลได้แบบ Real-Time ซึ่งทำให้การผลิตแบบ Mass Customization สามารถเกิดขึ้นได้
และสำหรับใครที่อยากเห็นรูปแบบการทำงานของอนาคตที่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยปลดล็อกอุตสาหกรรมให้ขึ้นไปสู่อีกระดับ ก็สามารถสัมผัสประสบการณ์จริงกับ e-F@ctory โซลูชั่นสำหรับยุค Industry 4.0 ได้ที่งาน Manufacturing Expo 2019 ณ ไบเทค บางนา ฮอลล์ 99 บูธ 9D01 วันที่ 19-22 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00 น. – 18.00 น.