Type to search

ประเทศไทยจะแข่งขันด้านเทคโนโลยีได้อย่างไร? สรุปประเด็นสำคัญจากงานเปิดตัวโครงการ ‘KBTG Kampus’ KBTG ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ยกระดับทั้ง Tech Ecosystem ด้วยการพัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยี

October 27, 2022 By Future Trends

ในวันนี้ คำว่า Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ในบ้านเราก็เริ่มปรับตัว วิ่งไปตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่หากพูดถึงความสามารถในการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยถือว่า ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ตาม เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหนึ่งในความท้าทายสำคัญคือ องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และ Skill Gap ของบุคลากรนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หากสามารถพัฒนาทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีได้ เราจะสามารถคว้าโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้เช่นกัน เพื่อไม่ให้โอกาสนี้หลุดลอยไป บริษัทด้านเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘KBTG’ (KASIKORN Business-Technology Group) จึงได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนสิ่งนี้ 

เมื่อปีที่ผ่านมาเขาได้จัดทำโครงการ Tech Kampus โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาและบุคลากรทั่วไป หลังจากที่ได้เสียงตอบรับดีเยี่ยม ปีนี้ KBTG ได้ยกระดับโครงการสู่บทใหม่ที่จะมาช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านเทคโนโลยี (Tech Education) ของไทยให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืนและครบวงจรยิ่งขึ้น

‘KBTG Kampus’ เป็นโครงการที่เพิ่งเผยโฉมอย่างทางการเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม โดย KBTG ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ ‘KMITL’ ด้วยวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือต้องการผลักดันเทคโนโลยีในไทยให้เติบโตไปพร้อมๆ กันทั้ง ‘Ecosystem’ และภายในงานเปิดตัว ได้มีการนำเสนอถึง 3 โปรแกรม ซึ่ง Future Trends ได้สรุปมาให้ทุกคนได้ติดตามกันด้วย ใครที่สนใจด้าน Tech Education หรืออยากจะอัพสกิล รีสกิลด้านเทคโนโลยีจะพลาดไม่ได้เลย

3 โปรแกรม จาก KBTG Kampus ที่จะช่วยยกระดับทั้ง Tech Ecosystem ของไทย

1. KBTG Kampus ClassNest

โปรแกรมนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร Bootcamp โดยล่าสุด KBTG, KMITL และ Thrive Venture Builder ได้ร่วมกันออกพัฒนาหลักสูตร Bootcamp ให้กับเหล่า Developer ที่สนใจทักษะด้านภาษา Go กับ Go Software Engineering Bootcamp ด้วยระยะเวลาเรียน 2 เดือนเต็ม และที่น่าสนใจคือ เมื่อเรียนจบผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิตเป็น Nano Credit เพื่อใช้สมัครเรียนปริญญาโทได้ด้วย หรือผู้ที่กำลังเรียนปริญญาตรีกับ KMITL ก็สามารถนำไปนับเป็นหน่วยกิตได้เช่นกัน ก่อนหน้านี้ทาง KBTG ได้มีการทดลองออกหลักสูตร Java Software Engineering และ Cyber Security ซึ่งผู้มาลงทะเบียนรวมกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ ความพิเศษในหลักสูตรของที่นี่ คือการเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากโจทย์จริง และยังมีการแนะแนวเส้นทางอาชีพและสร้างเป็นคอมมูนิตี้สำหรับคนที่สนใจต่อยอดในอาชีพสายนี้อีกด้วย

2. KBTG Kampus Apprentice

โปรแกรมนี้ เรียกได้ว่าเป็นไฮไลต์ของโครงการเลยก็ว่าได้ เพราะมันคือ ‘Future of Internship’ เป็นโปรแกรมฝึกงานกับ KBTG ที่นักศึกษาชั้นปี 3-4 จะสามารถนำเครดิตจากการทำงานไปใช้ทดแทนการเรียนได้ ช่วยลดระยะเวลาการเรียนในห้องเรียน และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง ยกตัวอย่างที่ผ่านมา KBTG มีการทดลองใช้โปรแกรมนี้ กับนักศึกษาปี 4 สาขา Data Science และ Software Engineering คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ KMTIL มาแล้ว และหลังจากนี้ หากมีโอกาสได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรกับทางสถาบันการศึกษาอื่นๆ ถือว่าเป็นมิติใหม่ในการเรียนรู้งานที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนและองค์กร

3. KBTG Kampus Co-Research

ในโปรแกรมนี้ KBTG ได้มีโอกาสส่งตัวแทนไปร่วมทำวิจัยกับ MIT Media Lab ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งยังได้ทำงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงภาครัฐและเอกชน ซึ่งงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ และจะถูกนำไปต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจ ทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานอย่างแท้จริงต่อไป  

ทั้ง 3 โปรแกรมนี้ เป็นสิ่งที่ KBTG และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังตั้งใจพัฒนาร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการสร้าง Tech and Research Ecosystem ในไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งการจะทำเป้านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา สตาร์ตอัพด้าน EdTech หรือเป็นองค์กรที่สนใจ ถ้าอยากมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และยกระดับวงการเทคโนโลยีของประเทศไทยไปกับ KBTG Kampus สามารถติดต่อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยที่ www.kbtgkampus.tech หรือ [email protected]