Type to search

โลกที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอยู่ที่ไหน? ว่าด้วยชีวิตในอุดมคติที่อาจสวนทางกับความเป็นจริง

April 25, 2022 By Chompoonut Suwannochin

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเผยว่า ตลอด 9 ปีที่ผ่านมาปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัด เฉลี่ยอยู่ที่ 24 ล้านตันจากทั้งหมด โดยในปี 2556-2563 มีจำนวนขยะมากถึง 20 ล้านตัน ในทางกลับกัน พบว่า จำนวนขยะในปี 2564 มีเพียงแค่ 1 ล้านตันเท่านั้น

ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนว่า แม้ปีล่าสุดจะมีปริมาณขยะที่น้อยกว่าปีก่อนหลายเท่าตัว แต่หากดูสัดส่วนการกำจัดแล้ว จะพบว่า การกำจัดขยะอย่างไม่ถูกต้องมีสัดส่วนมากถึง 44.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับการกำจัดอย่างถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

อีกทั้งปริมาณเฉลี่ยโดยรวมที่หากเทียบกับ 10 ปีก่อน ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านตัน เรียกได้ว่า ทุกวันนี้คนไทย ‘สร้างขยะกันแทบทุกวัน ทุกวินาที’ แถมยังขยันสร้าง ขยันทิ้ง ทำให้เกิด ‘วิกฤตขยะตกค้าง’ มีปริมาณเท่ากับ 3 สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานที่เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในไทย จนถึงขั้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ระบุว่า คนไทยสร้างขยะ 70 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เป็นประเทศที่ติดอันดับ 5 ของโลกที่สร้างขยะพลาสติกต่อประชากร และครองแชมป์อันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน

นอกจากนี้ รายงานสถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2559-2563 ของสำนักงานประกันสังคมยังเผยอีกว่า กรุงเทพมหานครขึ้นแท่นอันดับ 1 พื้นที่ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงสุด โดยเฉลี่ย 5 ปี มีลูกจ้างประสบอันตรายมากถึง 118,458 ราย รวมไปถึงผลพวงจากวิกฤตการแพร่ระบาดที่ผ่านมา เคสลูกจ้างที่ติดโควิด-19 แล้วโดนลดค่าจ้าง-สวัสดิการอย่างไม่เป็นธรรม ผนวกกับประเด็นสุดคลาสสิกอย่างโรงงานปล่อยน้ำเสีย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

หรืออย่างในเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนพิการที่ถูกโก่งค่าจ้างโดยการไม่ปรับเงินเดือน และสวัสดิการ แม้ทำงานมาหลายปีแล้วก็ตาม ผลงานวิจัยจากทีดีอาร์ไอ (TDRI) สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทยที่ระบุว่า ถึงแม้ระดับการศึกษาจะเท่ากัน แต่ฐานเงินเดือนของผู้หญิงก็น้อยกว่าผู้ชายถึง 5,000 บาทเลยทีเดียว

ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ ถูกพัฒนาให้ก้าวล้ำมากขึ้นทุกวัน มีนวัตกรรมใหม่ๆ ไอเดียเจ๋งๆ เกิดขึ้นมากมาย แม้สิ่งเดิมอาจจะดีอยู่แล้ว และไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ผู้คนก็จะคอยถามหาถึงสิ่งที่ดีกว่า โลกที่น่าอยู่ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือชีวิตในอุดมคติเสมออยู่ดี

ซึ่งหากไล่เรียงไปที่ประเด็นทั้งหมดด้านบนที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ก็ดูจะสวนทาง และย้อนแย้งพอสมควร แนวคิด ESG จึงเป็นประเด็นคำตอบที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในฐานะการดำเนินธุรกิจเพื่อ ‘สร้างโลกที่ดีกว่า’ โดยคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ควบคู่กันไป

ESG มาจากคำว่า Environmental, Social และ Governance ที่เป็นจุดยืนหลักในการดำเนินธุรกิจผ่าน ‘ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม’ ซึ่งก็ไม่ใช่แค่เพียงการตักตวงแต่ผลประโยชน์ กำไรจากสิ่งรอบตัวเหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไป แต่เป็นการยึดโยงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลเข้ามาใช้แสวงหาผลประโยชน์ใน ‘ระยะยาว’ ทั้งแนวคิดรักษ์โลก การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กลไกที่มีความเป็นธรรม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าองค์กร และลูกค้า แต่เป็น ‘พนักงาน ชุมชน รัฐบาล หรือแม้กระทั่งองค์กรงานเพื่อสังคมต่างๆ’ ก็เช่นกัน

แนวคิด ESG คืออะไร จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมและโลกธุรกิจได้ยังไงบ้าง? Future Trends จะพาทุกคนไปทำความรู้จักทุกแง่มุมของหลักคิด ESG ที่กำลังถูกพูดถึงตลอดทั้งเดือนเมษายนนี้กับ ‘ESG The Series by Future Trends’

Sources: https://bit.ly/3Orb5Yn

https://bit.ly/3jYVi55

https://bit.ly/3K3iGsT

https://bit.ly/3k18CWu

https://bit.ly/3v3iMMw

https://bit.ly/3ExawHQ

https://bit.ly/3jYVsJJ

Trending

Chompoonut Suwannochin

Chompoonut Suwannochin

อดีตเด็กฝึกงาน และ Content Creator ประจำเพจ Future Trends จบเอก Creative และการจัดการวัฒนธรรมจากรั้วเหลืองแดง ชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ มี ‘Sarah Salola กับ Jixgo’ เป็นศิลปินคนโปรด เวลาว่างชอบชุบชูใจด้วยการกิน และการไปติ่ง