วัฒนธรรมองค์กรดี ก้าวต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก : ค่านิยม SPIRIT ที่ทำให้ปตท.พัฒนาได้อย่างยั่งยืน
เขียน : P.ratchanida
แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี กับบริษัทด้านพลังงานของไทย ในชื่อเรียกว่า ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือเรียกสั้นๆว่า ปตท.
ปตท.เกิดจากการร่วมกิจการกันระหว่าง 2 องค์กร คือ องค์กรเชื้อเพลิงและองค์กรก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมอย่างครบวงจร
โดยก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2521 ปัจจุบันมีอายุครบ 40 ปีแล้ว แต่ความนิยมยังไม่เคยลดลงไปเลย ปตท.ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 95 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก อีกทั้งยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้สูงสุดของไทย มูลค่ารายได้ 1,930,852 ล้านบาท (ปี พ.ศ.2555) อีกด้วย
หลัก SPIRIT เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ในขณะนั้น ปตท.เองก็มีคู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เชลล์ เอสโซ่ โทเทล บีพี ซึ่งเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดใหญ่ของปตท. ได้กล่าวว่า “ถ้าต้องไปแข่งขันกับบริษัทอื่นที่ใหญ่ ซึ่งเขามีภาครัฐสนับสนุน ในขณะที่เทียบกับ ปตท.เป็นบริษัทที่เล็กกว่าเยอะ แถมยังมีคนคอยดึง ทำอะไรไม่ได้ แบบนี้จะไปหวังให้ปตท.ทำอะไรคงลำบาก..”
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เทวินทร์มั่นใจ ว่าปตท.แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ เขาจึงหยิบยกจุดเด่นตรงนั้นขึ้นมา ดังคำกล่าวของเทวินทร์ที่ว่า
“ผมเชื่อว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งจะทำให้เราเดินต่อไปได้”
เทวินทร์ได้มีมีโอกาสไปช่วยรัฐบาลในหลายๆเรื่อง และสังเกตเห็นว่าประเทศกับ ปตท. มีอะไรที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือการเติบโตท่ามกลางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป เมื่อวัฒนธรรมเปลี่ยนไป ทำให้คนเราเคารพกันและกันได้น้อยลง ส่งผลเกิดความขัดแย้งตามมา
เทวินทร์มีความคิดที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นกลางเพื่อควบคุมปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับปตท.ในอนาคต ซึ่งอาจทำให้บริษัทของเขาประสบปัญหาได้ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ปตท.ได้สร้างหลัก SPIRIT ขึ้นมา
ซึ่งหลัก SPIRIT นั้น ได้ปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึก สร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน โดยการปฏิบัติตาม หลักค่านิยม GC SPIRIT 4 Core Behaviors ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน ประกอบไปด้วย
- กล้าคิด กล้าทำ กล้าสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า
- พัฒนาตน ทำงานเป็นทีม
- ทำงานเชิงรุก ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- มุ่งปฏิบัติงานส่วนรวม มากกว่าส่วนตน
อีกทั้งในคำว่า SPIRIT ของปตท.นั้น ยังสามารถแยกความหมายในแต่ละตัวอักษรได้เป็น
- S คือ Synergy หมายถึง การสร้างพลังร่วมอันยิ่งใหญ่
- P คือ Performance exellence หมายถึง ร่วมมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
- I คือ Innovation หมายถึง ร่วมสร้างนวัตกรรม
- R คือ Resonsibility for society หมายถึง ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
- I คือ Integrity and ethics หมายถึง ร่วมสร้างพลังความดี
- T คือ Trust and respect หมายถึง ร่วมสร้างความเชื่อมั่น
ปตท.มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของคนและให้ความสำคัญต่อบุคลากรเป็นอย่างมาก เพราะบุคลากรนั้น มีส่วนร่วมในการผลักดันให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จและเป็นเลิศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการผลิตให้ยั่งยืนอีกด้วย การปลูกฝังและพัฒนาจากภายในจุดเล็กๆจะค่อยขยาย จนกลายเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ยั่งยืนในอนาคตด้วย
แน่นอนว่าค่านิยมที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนั้น ไม่เพียงสามารถใช้ได้ในแค่บุคลากรของปตท.เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ในองค์กรทั่วไปอีกด้วย
การทำงานร่วมกันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงานนั้นสำคัญกว่า มันแสดงออกถึงความรับผิดชอบจากเรื่องเล็กๆนำไปสู่เรื่องที่ใหญ่กว่านี้ได้ และเราจะสามารถพัฒนางานของเราไปพร้อมๆกับเพื่อนร่วมงานของเราได้อย่างยั่งยืน ตามสโลแกนของ ปตท.เลยค่ะ
ที่มา pttgcgroup.com/th/about/beliefs-culture
pttplc.com/TH/About/pages/Vision-Mission-Values
wikipedia.org/wiki/ปตท.
posttoday.com/politic/report/423641