ทำงานไม่ทัน จัดเวลาให้ตัวเองไม่ได้ รวม 9 เทคนิคบริหารเวลา แบบไหนที่เหมาะกับเรา
‘เวลาไม่เคยรอใคร’ เป็นความจริงที่มนุษย์อย่างพวกเราไม่สามารถแก้ไขได้ คุณไม่สามารถหยุดยั้งเวลาที่กำลังเดินหน้า และเพราะเหตุนั้น เวลาจึงเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับทุกคน หากคุณมีปัญหากับการจัดการเวลาที่ดี จงรู้ไว้ว่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่เผชิญปัญหานี้ ผู้คนจำนวนมากคิดว่าตนเองมีเวลาไม่เพียงพอ
หากคุณพบว่าตัวเองเหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา อาจเกิดจากปัญหาในการบริหารเวลา หรือ การผัดวันประกันพรุ่งก็เป็นอีกอาการหนึ่งของการบริหารเวลาที่ไม่ดี ทำให้เกิดความเครียดและอาจบ่งบอกถึงความจริงที่ว่าคุณไม่รู้ว่าควรจัดลำดับความสำคัญของเวลาอย่างไร
เมื่อคุณบริหารเวลาไม่ได้ อาจทำให้คุณเป็นคนไม่ตรงต่อเวลา และขาดเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้ไม่สามารถจัดการงานต่าง ๆ ให้ลุล่วงในเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังขาดการตัดสินใจที่เฉียบขาด เพราะลังเลกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวทำให้คุณไม่สามารถจัดการเวลาตามกำหนดการได้
อย่างไรก็ตาม มีกลยุทธ์การบริหารเวลาหลายแบบที่เหมาะกับแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์
Pareto Analysis
หรือ เรียกง่าย ๆ ว่า กฎ 80/20 เป็นแนวคิดที่หมายความว่า การกระทำ 20% สามารถทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ได้ถึง 80% ซึ่งแนวคิดนี้มันช่วยให้คุณเรียงลำดับความสำคัญของงานเพื่อแก้ปัญหาได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับนักแก้ปัญหา หรือนักคิดวิเคราะห์
Pomodoro Technique
หรือเทคนิคแบ่งเวลาแบบมะเขือเทศ โดยการใช้เครื่องจับเวลาเพื่อแบ่งงานของคุณออกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้คุณได้พักผ่อนเล็กน้อยและลุยงานต่อตามลำดับ โดยวิธีการนี้เหมาะสำหรับ นักคิดสร้างสรรค์ หรือบุคคลที่กำลังเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน
Eisenhower Matrix
เป็นกรอบการทำงานเพื่อแบ่งประเภทของงานให้จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการจัดเรียงงานเป็น 4 ส่วน แยกตามลำดับความสำคัญหรือไม่สำคัญ และเรื่องเร่งด่วนหรือไม่เร่งด่วน วิธีนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ตัดสินใจยาก และนักคิดเชิงวิจารณ์
Parkinson’s ‘s Law
กฎของพาร์กินสัน เป็นกฎที่ว่าอิงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงาน ยิ่งคุณมีระยะเวลาที่จะทำงานให้เสร็จมากเท่าไหร่ มันคือการใช้ระยะเวลาทั้งหมดที่คุณสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงได้ ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งหรือคนที่ทำงานได้ดีภายใต้แรงกดดัน
Time Blocking Method
เป็นการจัดเวลาไว้เป็นบล็อก ๆ เพื่อให้รู้ว่าเราควรทำอะไรเวลาไหน วางเวลาของแต่ละวันเอาไว้และใส่งานที่ต้องทำลงไป ซึ่งสามารถใส่ได้ทุกอย่างตั้งแต่เวลาอาหารเช้า เวลาทำงาน หรือเวลาว่าง วิธีนี้เหมาะกับนักเรียน-นักศึกษา ผู้ปกครอง และนักคิดวิเคราะห์
Getting Things Done Method
หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า GTD เป็นการจัดการงานให้สำเร็จ โดยการคิดงานลงบนแผนการทำงานแล้วบันทึกลงกระดาษ แล้วทำลิสต์แยกย่อยลงมาเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่เรียงเอาไว้ วิธีนี้เหมาะกับบุคคลที่มีความคิดฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ และคนที่ชอบทำงานตามลิสต์
Rapid Planning Method
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า RPM เป็นแนวทางการทำงานที่คิดค้นโดยนักแสดงชาวอเมริกัน ‘โทนี่ ร็อบบิ้น’ โดยใช้การปรับสภาพของสมองเพื่อให้คุณมีสมาธิจดจ่ออยู่กันผลลัพธ์ที่คุณต้องการ วิธีนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีเป้าหมายระยะยาว
Pickle Jar Method
การจัดการเวลาด้วยทฤษฎีขวดโหล เป็นทฤษฎีที่ช่วยให้คุณคิดออกว่าสิ่งไหนมีประโยชน์และสิ่งไหนไม่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน แนวคิดนี้จะช่วยให้คุณ จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำให้เสร็จในวันเดียว โดยวิธีนี้เหมาะกับบุคคลทั่วไป และนักคิดเชิงรูปธรรม
Eat That Frog Technique
เทคนิคการกินกบตัวนั้นซะ ! อาจฟังดูตลก แต่มันหมายถึงการกินสิ่งที่คุณไม่อยากกินนั่นก็คือ การเริ่มทำงานแรกของวันโดยเริ่มทำจากสิ่งที่คุณไม่ชอบก่อน ซึ่งมันจะมีประโยชน์ในการทำงานที่เหลือในแต่ละวัน วิธีนี้เหมาะกับนักคิดเชิงนามธรรม และบุคคลที่มีเป้าหมายระยะยาว
นี่เป็นเพียงเคล็ดลับและกลเม็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีจัดการเวลาได้ดีขึ้น เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนจำนวนมากได้พัฒนากลวิธีและกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเริ่มต้นความสามารถในการทำงานและการจัดการเวลา
โดยแต่ละเทคนิคก็เหมาะสมกับแต่ละบุคคล คุณควรพิจารณาตัวเองว่าเหมาะกับเทคนิคการจัดการเวลารูปแบบไหน และคุณจะค้นพบว่าเทคนิคเหล่านี้สามารถพาคุณบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ
Source: https://bit.ly/3QneAQE