LOADING

Type to search

ท่องเที่ยวไทยจะซบเซาถึงปี’69 ? : คุยเรื่องวิกฤตและความหวังรายได้หลักของประเทศ กับศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าฯ ททท.

ท่องเที่ยวไทยจะซบเซาถึงปี’69 ? : คุยเรื่องวิกฤตและความหวังรายได้หลักของประเทศ กับศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าฯ ททท.
Share

วันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ จะเป็น ‘ดีเดย์’ วันแรกสำหรับโปรเจกต์ ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หวังให้เป็นการปักธงครั้งสำคัญสำหรับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยงต่างชาติอีกครั้ง หลักจากที่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนัก เม็ดเงินหายไปหลายแสนล้านบาท เพราะถือเป็นสัดส่วนหลักในบรรดาเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยทั้งหมด เฉลี่ยแล้วรายได้จากท่องเที่ยวมากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี

หลังจากเกิดวิกฤตโควิด-19 หลายระลอก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและซัพพลายในส่วนอื่นๆ อย่างธุรกิจโรงแรมต่างก็ซบเซาลงไปตามๆ กัน มีแรงงานหลายสิบหลายร้อยชีวิตที่ต้องกลายเป็นคนว่างงานทันที ผู้ประกอบการรายย่อยจำใจปิดกิจการเพราะไปต่อไม่ไหว การเปิดประเทศครั้งนี้ จึงเป็นเหมือนความหวังครั้งใหม่ว่า ท่องเที่ยวไทยจะพลิกฟื้นกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อีกหรือไม่

ท่องเที่ยวเสมือนจริงผ่าน 'Virtual Tours' 10 ที่ 9  จังหวัดทั่วไทยช่วงระหว่างอยู่บ้านเพื่อหยุดเชื้อแบบไม่เบื่อ สยามรัฐ
ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

Future Trends ไปคุยกับศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในรอบปีที่ผ่านมา ความหวังและบทเรียนจากวิกฤตอันหนักหน่วง และอนาคตการท่องเที่ยวหลังจากนี้ รองผู้ว่าฯ ศิริปกรณ์มองการท่องเที่ยวไทยไว้อย่างไรบ้าง

ตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงครั้งนี้ สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ย้อนไปตั้งแต่เกิดเหตุระลอกแรก ครั้งนั้นสำหรับทุกประเทศเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิด เป็น new normal / now normal หวาดกลัวเกรงกลัวกันเองไปหมด การท่องเที่ยวเกิดกระแสเปลี่ยนรูปแบบเการเดินทางป็นกลุ่มเล็กลง เฉพาะคนรู้จัก หรือญาติพี่น้องกัน เปลี่ยนเป็นเดินทางภายในประเทศ ไม่ไปต่างประเทศ เดินทางใกล้ๆ บ้าน ระยะสั้นลง จากนั้น ระลอกสอง ตอนแรกทุกคนกำลังเตรียมกลับมาเพื่อจะเดินทางไกลขึ้น แต่พอเกิดขึ้นอีกก็ต้องหันมาโฟกัสการเดินทางภายในประเทศแทน แม้แต่เอกชนก็หันมามองเรื่อง domestic เป็นสำคัญ มาถึงระลอกสาม สถานการณ์เปลี่ยน วัคซีนเป็น ‘game changer’ หลายประเทศปูพรมได้ดี เริ่มผ่อนคลายล็อกดาวประเทศตัวเองแล้ว

ตอนนี้ทุกคนก็เริ่มคาดหวังว่า ถ้ามีการเปิดประเทศ ผ่อนคลายล็อกดาวน์ลง ก็จะโฟกัสต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวในประเทศของตนได้ กลับมาเที่ยวได้อีก ในทางกลับกัน ก็ต้องเป็นทูเวย์ด้วย คือถ้าต่างชาติเข้ามาได้คนของเราก็ต้องออกไปได้เช่นกัน ก็เริ่มเกิดกระแสท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น พอเริ่มฉีดวัคซีนได้ดีในบางพื้นที่ เราเลยคิดจะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเสริม จึงเกิดแนวทาง ‘city marketing’  การฉีดวัคซีนในบางพื้นที่ก็มีการนำร่องแล้ว ประเทศต้นทางก็อยากจะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกันด้วย บางส่วนก็เริ่มปล่อยคนของเขาออกมาบ้างแล้ว เราเองก็ได้ใช้ประโยชน์จากตรงนี้เช่นกัน

มีรายงานของสภาพัฒน์ฯ ล่าสุดที่บอกว่า ท่องเที่ยวไทยจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีก จนถึงปี 2569 มองเรื่องนี้ไว้อย่างไร

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีทั้ง direct และ indirect แชร์ต่อจีดีพีเคยสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์  ถึงวันนี้ทุกคนทราบดีว่าโลกจะไม่เหมือนเดิม โควิด-19 จะอยู่กับเราตลอดไปเหมือนไข้หวัดใหญ่ อนาคตเปลี่ยนแน่นอนสำหรับพฤติกรรมการท่องเที่ยว โจทย์ใหญ่ คือเราต้องการโฟกัสแชร์ในประเทศให้มากขึ้น แต่ก่อนท่องเที่ยวในประเทศมีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์ วันหนึ่งต้องขยายไปเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ให้ได้ และถามว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะเข้ามาตามที่สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ไหม อันนี้เป็นเรื่องเทรนด์ของ ‘tourism organized’ อาจจะท่องเที่ยวน้อยลง แต่ไม่ได้หมายถึงลดวันเวลาสั้นลง

สมมติเคยเที่ยว 5 ครั้ง อาจจะเหลือเพียง 2 ครั้ง แต่ครั้งหนึ่งใช้เวลาเที่ยว 1 เดือน คือยาวนานกว่าเดิม เพื่อมั่นใจว่าไม่ต้องเดินทางไปหาความเสี่ยงบ่อยๆ ในส่วนเป้าหมายของททท. เอง เราจะโฟกัสที่รายได้มากกว่าจำนวน จำนวนอาจจะน้อยลงแน่นอน อนาคตการนั่งเครื่องบินอาจจะไม่เต็ม มีที่ว่าง ราคาตั๋วสูงขึ้นตามกลไกตลาด คนที่มีกำลังซื้อ เก็บหอมรอมริบเพื่อจะท่องเที่ยวเขาก็พร้อมจะใช้จ่ายเงินมากขึ้น แต่ถ้าถามว่าฟื้นปีไหนคงตอบไม่ได้

ในฐานะที่ท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวสำคัญ หลังจากนี้จะเปลี่ยนแปลงไปไหม ท่องเที่ยวจะสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศได้เหมือนเดิมหรือเปล่า

มี 2 ฝั่ง คือ demand และ supply แต่เราอยากจะมาโฟกัสที่ฝั่ง supply ตอนนี้ไทยแทบจะ over supply ในบางส่วน เช่น การสร้างโรงแรมมากมายมหาศาลเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว บางจุด over supply เกิดการแข่งขันด้านบริการ ซึ่งในความยั่งยืนมันจะเป็นประเด็นแล้วตรงนี้ ทุกคนจะถูกแชร์มาเก็ตออกไป ถ้าไม่มีสายป่านกระแสเงินสดยาวพออาจจะต้องปรับเปลี่ยนกิจการ หรือถูกควบรวมไป เรามีโอกาสที่กำลังจะคลายล็อกดาวน์ ถ้ายังพอไหวต้องมีการเทรนด์ Upskill/Reskill บุคลากรให้พร้อมรองรับมาตรฐานใหม่ บางส่วนอาจจะต้อง Reskill ให้กว้างขึ้น

ถ้าเศรษฐกิจเราเป็น L-Shape แย่เลย  U-Shape ก็ยังดีหน่อย แปลว่าอีก 1-2 ปีก็จะค่อยๆ ดีขึ้น ถ้าเป็น V-Shape ก็จะเด้งกลับมาบวกเลย แต่เรากลัว K-Shape ที่ตกลงมา ส่วนที่มีสายป่านแข็งแรงยังพอเด้งกลับได้ แต่ K ด้านขวาที่จะดิ่งลง แล้วไปสู่การปิดกิจการ แล้วเลิกจ้างแรงงานตรงนี้น่าเป็นห่วง ซึ่งเราจะพยายามไม่ให้ใครต้องไปถึงจุดนั้น

ครั้งนี้ต่างจากวิกฤตโรคซาร์ส หรือไข้หวัดนกไหม

ตอนโรคซาร์สผมทำงานอยู่ที่ฮ่องกง เป็นพื้นที่ระบาดหนักเลย แต่ช่วงปีนั้นต้องยอมรับว่า มันเกิดการพัฒนากลายพันธุ์ของสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ อยู่ๆ ก็หยุดไปได้ ตายไป ไม่มีการแพร่ระจายทางอากาศ โควิด-19 เหมือนกับซาร์สอย่างหนึ่งคือเป็นโรคอุบัติใหม่ แต่ครั้งนี้เป็นวิกฤตที่แตกต่างอย่างชัดเจน หนึ่งคือระยะเวลายาวนานมาก เกิดอุบัติใหม่ตลอด ไม่เหมือนซาร์สที่ดรอปลงไป เฟดลงไปเอง

หมุดหมายของ ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ มีที่มาที่ไปอย่างไร และตอนนี้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว

เป็นแนวคิดของการบริหารประเทศในเชิงสาธารณสุข ควบคู่กับการพิจารณาเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักอันหนึ่งของประเทศ ต้องดูบาลานซ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์จะเป็นพื้นที่นำร่อง เป็นพื้นที่ที่พึ่งพิงตลาดต่างประเทศ เดินทางเข้าถึงด้วยสายการบินและการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ได้ง่าย มีการรองรับเพียงพอ จากประกาศล่าสุดมีพื้นที่ที่เข้าเกณฑ์ ได้แก่ ภูเก็ต พังงาน สมุย สุราษฎร์ธานี พัทยา เชียงใหม่ และกระบี่ โดยนักท่องเที่ยวที่มาต้องมาจากประเทศเสี่ยงต่ำ ฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งพวกนี้เมื่อมาถึงเขาไม่อยากกักตัวกันแล้วเอาตรงๆ ทีนี้ ก็ต้องมาดูบาลาานซ์กัน ถ้าเขาฉีดวัคซีนครบโดส ผลตรวจเป็นลบ มาจากประเทศเสี่ยงต่ำก็มั่นใจระดับหนึ่งแล้ว

ทีนี้ก็ต้องดูฝั่งเราว่าจะมีแผนอะไรรองรับบ้าง จึงมาลงที่ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้เรียนรู้ต่อ ตอนหลังมีการอนุมัติเพิ่มเติมเป็นกรุงเทพฯ ชะอำ และบุรีรัมย์ ถ้าภูเก็ตไม่ทดลองแล้ววันหนึ่งถ้าเราเปิดประเทศพร้อมไม่กักตัว อาจจะเกิดความไม่มั่นใจ จึงต้องมีแซนด์บ็อกซ์สักอันที่เป็นแบบอย่างให้พื้นที่อื่นๆ ต้องมีแผนวัคซีนเตรียมความพร้อม พัฒนาเมืองใหม่ และปรับปรุงแผนการตลาด

ตอนนี้ภูเก็ตฉีดได้เป็นไปตามแผน ลงทะเบียนรับวัคซีนเกิน 70-80 เปอร์เซ็นต์แล้ว ภายในสิ้นเดือนนี้ได้รับวัคซีนเกิน 70 เปอร์เซ็นต์แน่นอน เตรียมแผนเข้าออกอย่างดี ไม่ให้หลุดออก ไม่ให้มีประชากรแฝง มี ‘Better Phuket’ กลับมา คราวนี้สวยกว่าเดิม จัดการเรื่องขยะ น้ำเสีย รวมถึงความยุติธรรมของราคาร้านขายของต้องถูกแก้ไข มีกระบวนการตรวจตรงกลางอีกเพื่อยืนยันว่า 1 กรกฎาคมเราจะยังเปิดเหมือนเดิม และมีการทบทวนรายละเอียดบางข้อให้มั่นใจ

โควิด-19 ที่ผ่านมา ให้บทเรียนอะไรกับภาคการท่องเที่ยวบ้าง

ผมว่าเป็นการให้โอกาสกับเรามากกว่า เหมือน ‘VUCA World’ เป็นการ Resilience ปรับตัว เราจะไปคาดหวังให้เหมือนอดีตได้ยังไง หน้าที่เราคือต้องปรับตัวเองว่าจะเพิ่มหรือเปลี่ยนอะไร บางอย่างดูยากแต่เป็นโอกาสที่ทำให้เขาตัดสินใจมาา ด้วยการใช้อะไรก็ตามที่ดีขึ้น แล้วก็เป็นไปตามมาตรการ

เขียนโดย Piraporn Witoorut

Tags::

You Might also Like