วัฒนธรรมองค์กรดี ก้าวต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก : ค่านิยม SPIRIT ที่ทำให้ปตท.พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

Share

เขียน : P.ratchanida

แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี กับบริษัทด้านพลังงานของไทย ในชื่อเรียกว่า ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือเรียกสั้นๆว่า ปตท. 

ปตท.เกิดจากการร่วมกิจการกันระหว่าง 2 องค์กร คือ องค์กรเชื้อเพลิงและองค์กรก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมอย่างครบวงจร 

โดยก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2521 ปัจจุบันมีอายุครบ 40 ปีแล้ว แต่ความนิยมยังไม่เคยลดลงไปเลย ปตท.ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 95 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก อีกทั้งยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้สูงสุดของไทย มูลค่ารายได้ 1,930,852 ล้านบาท (ปี พ.ศ.2555) อีกด้วย

ค่านิยมกลุ่ม ปตท. อ้างอิงจาก http://www.pttngd.co.th

หลัก SPIRIT เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในขณะนั้น ปตท.เองก็มีคู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เชลล์ เอสโซ่ โทเทล บีพี ซึ่งเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดใหญ่ของปตท. ได้กล่าวว่า “ถ้าต้องไปแข่งขันกับบริษัทอื่นที่ใหญ่ ซึ่งเขามีภาครัฐสนับสนุน ในขณะที่เทียบกับ ปตท.เป็นบริษัทที่เล็กกว่าเยอะ แถมยังมีคนคอยดึง ทำอะไรไม่ได้ แบบนี้จะไปหวังให้ปตท.ทำอะไรคงลำบาก..”

แต่มีสิ่งหนึ่งที่เทวินทร์มั่นใจ ว่าปตท.แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ เขาจึงหยิบยกจุดเด่นตรงนั้นขึ้นมา ดังคำกล่าวของเทวินทร์ที่ว่า

“ผมเชื่อว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งจะทำให้เราเดินต่อไปได้”

เทวินทร์ได้มีมีโอกาสไปช่วยรัฐบาลในหลายๆเรื่อง และสังเกตเห็นว่าประเทศกับ ปตท. มีอะไรที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือการเติบโตท่ามกลางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป เมื่อวัฒนธรรมเปลี่ยนไป ทำให้คนเราเคารพกันและกันได้น้อยลง ส่งผลเกิดความขัดแย้งตามมา

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

เทวินทร์มีความคิดที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นกลางเพื่อควบคุมปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับปตท.ในอนาคต ซึ่งอาจทำให้บริษัทของเขาประสบปัญหาได้ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ปตท.ได้สร้างหลัก SPIRIT ขึ้นมา

ซึ่งหลัก SPIRIT นั้น ได้ปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึก สร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน โดยการปฏิบัติตาม หลักค่านิยม GC SPIRIT 4 Core Behaviors ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน ประกอบไปด้วย

  1. กล้าคิด กล้าทำ กล้าสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า
  2. พัฒนาตน ทำงานเป็นทีม
  3. ทำงานเชิงรุก ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  4. มุ่งปฏิบัติงานส่วนรวม มากกว่าส่วนตน

อีกทั้งในคำว่า SPIRIT ของปตท.นั้น ยังสามารถแยกความหมายในแต่ละตัวอักษรได้เป็น

  • S คือ Synergy หมายถึง การสร้างพลังร่วมอันยิ่งใหญ่
  • P คือ Performance exellence หมายถึง ร่วมมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
  • I คือ Innovation หมายถึง ร่วมสร้างนวัตกรรม
  • R คือ Resonsibility for society หมายถึง ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
  • I คือ Integrity and ethics หมายถึง ร่วมสร้างพลังความดี
  • T คือ Trust and respect หมายถึง ร่วมสร้างความเชื่อมั่น

ปตท.มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของคนและให้ความสำคัญต่อบุคลากรเป็นอย่างมาก เพราะบุคลากรนั้น มีส่วนร่วมในการผลักดันให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จและเป็นเลิศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการผลิตให้ยั่งยืนอีกด้วย การปลูกฝังและพัฒนาจากภายในจุดเล็กๆจะค่อยขยาย จนกลายเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ยั่งยืนในอนาคตด้วย

แน่นอนว่าค่านิยมที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีนั้น ไม่เพียงสามารถใช้ได้ในแค่บุคลากรของปตท.เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ในองค์กรทั่วไปอีกด้วย 

การทำงานร่วมกันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงานนั้นสำคัญกว่า มันแสดงออกถึงความรับผิดชอบจากเรื่องเล็กๆนำไปสู่เรื่องที่ใหญ่กว่านี้ได้ และเราจะสามารถพัฒนางานของเราไปพร้อมๆกับเพื่อนร่วมงานของเราได้อย่างยั่งยืน ตามสโลแกนของ ปตท.เลยค่ะ 

ที่มา  pttgcgroup.com/th/about/beliefs-culture
        pttplc.com/TH/About/pages/Vision-Mission-Values
        wikipedia.org/wiki/ปตท.
        posttoday.com/politic/report/423641