LOADING

Type to search

ผ่าแนวคิด ‘Sustainable Business’ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้ทุกฝ่ายอยู่รอดแม้เกิดวิกฤต

ผ่าแนวคิด ‘Sustainable Business’ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้ทุกฝ่ายอยู่รอดแม้เกิดวิกฤต
Share

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ทำให้ทุกฝ่ายต้องเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จากเดิมก็ต้องรับมือกับ ‘digital disruption’ กันหนักหน่วงอยู่แล้ว ยิ่งเจอกับวิกฤตที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้ามาก่อน ก็ทำให้ภาคธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายทุกมิติที่กำลังเกิดขึ้น และคงจะดำเนินต่อไปในปี 2021 ที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้ด้วย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

โมเดลธุรกิจแบบหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในระยะหลังมานี้ และได้รับการตอกย้ำบ่อยๆ ในปี 2020 ได้แก่ การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) หมายถึง การที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับภาคธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ มีอัตราการจ้างงานสูง ยิ่งธุรกิจนั้นได้รับความนิยมและมีบทบาทสำคัญในตลาดมาก ธุรกิจนั้นก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกได้มากเช่นกัน

ยกตัวอย่าง ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ‘เทสโก้ โลตัส’ ที่ผนวกแผนกงานด้านความยั่งยืนเข้ากับแผนงานธุรกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนทั้งระบบ เทสโก้ให้ความสำคัญกับ 4 ด้านหลัก ทั้ง People (เพื่อนพนักงาน) Products (สินค้า) Places (ชุมชน) และ Planet (สิ่งแวดล้อม) และมีแผนการดำเนินงานระยะสั้น กลาง และยาว เมื่อเทสโก้ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ต้องเจอกับวิกฤตโควิด-19 ในปีนี้ บริษัทจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่วิกฤตดังกล่าวยังเข้ามาสร้างความท้าทายให้กับองค์กรด้วยว่า จะสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่ ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาก็พบว่า บริษัทยังคงบรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จ

หลัก ‘4P’ คืออะไร เทสโก้วางแผนยังไงบ้าง เราจะมาเล่าให้ฟังกัน

P – People (เพื่อนพนักงาน)

  • สนับสนุนการจ้างงานในท้องถิ่นทั้งพนักงานประจำและไม่ประจำ พร้อมสนับสนุนวัฒนธรรม Diversity & Inclusion สร้างการยอมรับความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมของพื่อนพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะมีที่มาอย่างไร
  • จ้างงานผู้เกษียณอายุจำนวนมาก รวมถึงโครงการ ‘60 ยังแจ๋ว’ ที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้ที่ดีให้คนวัยเกษียณ

P – Products (สินค้า)

  • รับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร 1,000 ราย สร้างรายได้ที่เป็นธรรม พร้อมกับให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ปลอดภัยไร้สารเคมีที่เป็นอันตรายตกค้าง
  • จัดหาสินค้าจากแหล่งที่ยั่งยืน (Sustainable Sourcing) พัฒนาสินค้าน้ำมันปาล์มบรรจุขวดโดยเป็นค้าปลีกเจ้าแรกของไทยที่ได้รับการรับรอง ‘Responsible Sourcing Palm Oil’ (RSPO) รับประกันปาล์มมาจากแหล่งที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่า
  • เพิ่มปริมาณไข่ไก่ที่มาจากแม่ไก่ไม่ขังกรง ซึ่งในปี 2020 มีการเปลี่ยนไข่ไก่แบรนด์เทสโก้ เป็นไข่ไก่ ‘cage-free’ และมีเป้าหมายที่จะจำหน่ายไข่ไก่ที่มาจากแม่ไก่ไม่ขังกรงทั้งหมดภายในปี 2028
  • ลดปริมาณขยะอาหารลงจากปีก่อน และมีเป้าหมายในการลดขยะอาหารลงให้ได้ 50% ภายในปี 2030 รวมถึงขยายการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดภายใต้โครงการ ‘กินได้ไม่ทิ้งกัน’ ไปสู่จังหวัดภูเก็ตด้วย
  • ยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล ทั้งหมดต้องสามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2025
  • ทดลองติดตั้งตู้รับคืนขวดพลาสติกในบางสาขา
  • โครงการ ‘ถังวนถุง’ รับถุงและฟิล์มพลาสติกสะอาด นำกลับมารีไซเคิล มีจุดรับ 40 จุด
  • จุดรับกล่องและลังกระดาษใช้แล้ว ติดตั้งที่สาขาขนาดใหญ่ทุกแห่ง เพื่อนำกระดาษกลับเข้าระบบมารีไซเคิล

P – Places (ชุมชน)

  • บริจาคอาหารครบ 1 ล้านมื้อ เพื่อช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และช่วยให้เยาวชนไทยได้รับโภชนาการที่ดี

P – Planet (สิ่งแวดล้อม)

  • ใช้พลังงานทดแทนจากเสงอาทิตย์ ด้วยการติดตั้งโซลาเซลล์ (Solar PV Rooftop) บนหลังคาไฮเปอร์มาร์เก็ต 47 สาขา และศูนย์กระจายสินค้า 6 แห่ง มีกำลังการผลิตต่อปี รวม 40 เมกะวัตต์
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 18%  เมื่อเทียบกับปี 2016 และมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงอีกในทุกๆ ปี

แม้ว่า ส่วนประกอบหลักที่ส่งเสริมให้ธุรกิจไปต่อได้จะเป็นเรื่องของรายได้และการเติบโต แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้ และมีส่วนช่วยเติมเต็มให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงมากขึ้นก็คือ การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมเป็นที่ตั้ง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในแบรนด์มากขึ้น ผู้ประกอบการเองก็สามารถเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เช่นเดียวกัน

Tags::

You Might also Like