ทำงานแบบ Agile ดียังไง? รู้จัก ‘Agile’ ตามแบบฉบับ Thoughtworks ทุกมุม ผ่านคนทำงานจริง!

Share

ในยุคที่ธุรกิจสตาร์ตอัปเติบโตจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยแบบนี้ ไม่แปลกที่หลัก ‘Agile’ หรือกระบวนการทำงานแบบเน้นผลลัพธ์ ไม่เน้นขั้นตอน นำคนจากหลายๆ ทีมมาทำงานร่วมกัน ไม่สนแผนก ไม่สนตำแหน่ง เพื่อให้สามารถส่งงานได้อย่างรวดเร็ว รู้จุดพลาด และพัฒนาได้ทันทีจะกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทย

แต่จริงๆ แล้วหลายคนอาจจะยังมองภาพไม่ออก ว่าการทำงานด้วย ‘Agile’ มันดียังไง แล้วดีกว่าการทำงานแบบ ‘Waterfall Model’ ตรงไหน วันนี้เราชวน 2 คนเก่งจาก Thoughtworks บริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของโลก ที่ผ่านประสบการณ์การทำงานแบบ Agile มายาวนาน อย่าง ‘ดีน-Salah Chalermthai’ และ ‘หน่อง-อนุชิต ประเสริฐสังข์’ มาแชร์ประสบการณ์ตรง เปิดทุกมุมให้เห็นว่า ‘ทำไมต้อง Agile?’

รู้จัก ‘Agile’ คีย์ความสำเร็จของงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

หลายๆ คนอาจจะคิดว่า จะอยู่ในองค์กรที่ใช้ Waterfall Model ทำงาน หรือใช้ Agile Organization นั่นไม่เห็นจะต่างกันสักเท่าไร แต่จริงๆ แล้วมีความต่างกันมาก! โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรที่ทำงานด้านเทคโนโลยีหรือว่าองค์กรที่ทำงานกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

‘ดีน’ ที่เริ่มทำงานเป็น IT Developer มาตั้งแต่ยี่สิบปีก่อน ในยุคที่ Agile ยังไม่เป็นที่รู้จัก เล่าให้เราฟังว่า การทำซอฟต์แวร์เหมือนกับ ‘การขับรถ’ ในเส้นทางใหม่ๆ คือแม้จะพอรู้จุดหมายปลายทางอยู่บ้าง แต่ไม่รู้ว่าตลอดเส้นทางจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะต้องเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวากี่ครั้ง ดังนั้น คนทำงานจะต้องตัดสินใจตลอดเวลา เพื่อไปให้ถูกทาง โดยไม่มีเส้นทางสำเร็จรูปมาให้

รูปแบบการทำงานแบบ Waterfall Model เป็นเหมือนกับการเดินทางด้วยเครื่องบินที่มีแบบแผนตั้งแต่ต้นเลยว่า จะต้องทำอะไรบ้าง ตั้งแต่ A-B-C-D-E ไปจนถึง F จนจบกระบวนการ เหมือนกับน้ำตกที่ไหลจากบนลงล่าง โดยจะกินระยะเวลาค่อนข้างยาวนานจากต้นไปจนท้าย กว่าลูกค้าจะได้ใช้โปรดักส์คือขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการแล้ว

ข้อเสีย คือ เพราะเป้าหมายของ Waterfall Model คือพยายามจะปิดความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด แต่กระบวนการสร้างซอฟต์แวร์ข้อผิดพลาด ความไม่รู้ สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมากและตลอดเวลา ทำให้เมื่อขั้นตอนไหนมีปัญหา ไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ทำให้การแก้ไข ใช้เวลา และค่าใช้จ่ายสูงมาก

หรือถ้าพูดให้เห็นภาพ คือ เหมือนกับการประกอบรถยนต์ 1 คัน แต่ประกอบเสร็จแล้วถึงรู้ว่า ลืมใส่ชิ้นส่วนสำคัญ จนทำให้ต้องรื้อออกมาใหม่ทั้งหมด

ยิ่งถ้าบวกเข้ากับรูปแบบการบริหารแบบบนลงล่างของบางองค์กร เพราะหลายองค์กรที่ใช้ Waterfall Model ก็มักจะจัดแผนกตามโครงสร้างของน้ำตก ทำให้การทำงานยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะมักจะเกิดวัฒนธรรมสนใจแต่งานของแผนกตัวเอง เมื่อเกิดข้อผิดพลาดก็โยนความผิดใส่กันไปมา ยากจะทำงานร่วมกันได้ดี

‘หน่อง’ ยกตัวอย่างว่า หากต้องการทำแอปพลิเคชัน 1 ตัว ฝั่งธุรกิจบอกว่าอยากได้อะไรบ้างจบ แล้วฝั่ง IT ถึงรับมาพัฒนาต่อ กระบวนการค่อนข้าวยาวนาน อาจจะยาวถึง 6 เดือน โดยไม่ได้นำโปรดักส์ออกไปให้ลูกค้าทดลองใช้เลย ไม่ได้รับฟีดแบคเลยสักครั้ง แต่ยังไม่ทันเสร็จ ตลาดเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน แอปฯ ที่คิดมาตอนแรกใช้ไม่ได้แล้ว แต่จะทิ้งก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะลงทุนไปมหาศาลแล้ว

ต่างกับ Agile Organization ที่ยอมรับว่า “การเปลี่ยนแปลงหลีกเลี่ยงไม่ได้” จึงคิดค้นวิธีการอยู่ร่วมกับสถานการณ์ที่พลิกผัน ที่เปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้าตลอดเวลา โดยการวางแผนแบบไม่มากไปไม่น้อยไปและพร้อมจะปรับแผนหากไม่เป็นไปตามที่คิดไว้

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว โครงสร้างองค์กรจะเปลี่ยนไป Agile ต้องการโครงสร้างทีมที่คนจะแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกัน และต้องการทักษะที่หลากหลาย จึงมักจะเห็นการดึงคนจากหลายสายงานมานั่งทำงานร่วมกันเป็นทีม จะได้ สื่อสาร ประสานงาน ได้อย่างคล่องตัว เมื่อทีมมีทักษะครบสมบูรณ์และมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว ก็จะสามารถจัดการและตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาได้

ส่วนกระบวนการทำงานจะต้องกำหนดเป้าหมายระยะสั้นแต่ถี่ ๆ กัน เพื่อให้ทีมรู้ว่าเรามาถูกทางหรือไม่ ต้องปรับแก้วิธีการทำงาน หรือต้องปรับตัวโปรดักส์อย่างไรบ้างให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือตลาดที่เปลี่ยนไป

“แทนที่จะใช้เวลาชาร์จกระสุนนัดเดียวนานๆ แลัวค่อยยิงออกไปโดยไม่รู้ว่าจะถูกไหม การเปลี่ยนมาใช้ Agile ก็เหมือนเปลี่ยนมาใช้ปืนกลที่เราสามารถยิงไปหลายๆ นัด แล้วค่อยดูว่ามันตรงเป้าไหม คอยขยับศูนย์มันไปเรื่อยๆ ให้มันใกล้เคียงที่สุด” ดีนบอก

บรรยากาศที่เข้าใจ เคารพ และให้เกียรติ สิ่งที่ได้จากการทำงานแบบ ‘Agile’

เพราะการทำงานแบบ Agile ทำให้คนทำงานได้เห็นปัญหาและความกังวลของคนในบทบาทอื่นๆ คนทำงานจึงมีความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น พร้อมๆ กับ ‘ความเคารพ’ ในตัวคนที่ทำงานด้วยเพิ่มขึ้น

‘ดีน’ อธิบายว่า บรรยากาศการทำงานใน Thoughtworks ที่ใช้หลัก Agile เป็นแกนการทำงานในองค์กร ทำให้ทุกคนเคารพกันและกัน เพราะทำให้แต่ละคนได้เห็นและใช้เวลาทำความเข้าใจ ‘บทบาทหน้าที่’ ของคนอื่นๆ ที่ต่างกัน แต่ต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้สามารถส่งมอบงานดีๆ ให้กับลูกค้าได้

นอกจากนั้น ‘หน่อง’ ยังบอกว่า Agile ในแบบของ Thoughtworks ยังทำให้องค์กรอยู่ร่วมกันในแนวราบ ถึงแม้แต่ละคนจะมีอายุงานและความชำนาญที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า คนที่อายุมากกว่าจะต้องเป็นหัวหน้างานของคนที่อายุน้อยกว่าเสมอไป

“อย่างโปรเจกต์ล่าสุด หน่องได้เป็น Tech lead พี่ดีนเป็น Developer ทั้งๆ ที่พี่ดีนอยู่มานานกว่าหน่องนะ มันเป็นเพราะว่าทุกคนเห็นว่าโปรเจกต์นี้หน่องเอาอยู่ พี่ดีนก็พร้อมสนับสนุน เราทำงานกันเป็นทีม ซัพพอร์ตกันและกันแบบไม่ต้องมีหัวหน้า แม้แต่ GM จะสั่งมอบหมายงานให้หน่อง เขาก็ต้องทำให้หน่องยินดีทำ เพราะเชื่อว่างานนั้นทำไปแล้วมีคุณค่าอะไร มีประโยชน์อะไร และหน่องก็เลือกจะทำหรือไม่ทำก็ได้” หน่องบอก

เรียกง่ายๆ ว่า องค์กรที่ใช้ Aglie มักจะมีไดนามิคมากกว่า เพราะทำให้ทุกคนได้ทำงานร่วมกันแบบข้ามบทบาท ข้ามแผนก บางครั้งถ้ามองจากข้างนอกเข้ามาอาจจะรู้สึกว่าโกลาหล แต่เป็นความโกลาหลที่กำลังดี เป็นสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดความร่วมมือและความสร้างสรรค์มากขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะชอบ ‘Agile’ ตั้งแต่เริ่ม แต่แก้ได้ด้วยการเรียนรู้-ปรับตัว

แม้ว่า Agile จะเป็นที่นิยมในวงกว้างและถูกใช้ในองค์กรระดับโลกหลายๆ องค์กร แต่หลัก Agile เองก็พอจะมี ‘จุดอ่อน’ อยู่บ้าง จากคำบอกเล่าของ ‘ดีน’ ที่อธิบายว่า รูปแบบการทำงานแบบ Agile เป็นรูปแบบการทำงานที่ทุกสิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อย ๆ และไม่สามารถควบคุมได้มากนัก เพราะมีตัวแปรในระบบเยอะและมีส่วนที่กำกวมอยู่บ้าง คนที่ชินกับการวางแผนละเอียดยิบทุกขั้นตอน แล้วเดินตามแผนเป๊ะๆ อาจจะไม่ชอบ เพราะรู้สึกว่าไม่แน่นอน ควบคุมไม่ได้

แต่เพราะคุณลักษณะนี้เหมือนกันที่ทำให้ Agile เหมาะกับงานที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างงาน ‘ซอฟต์แวร์’ หรืองานอื่นๆ ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะไม่ใช่ Agile ไม่วางแผน แต่ศาสตร์ของการวางแผนแบบ Agile คือ คิดล่วงหน้า แต่จะชะลอการตัดสินใจออกไปอย่างเหมาะสม สุดท้ายจะได้ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด

ในช่วงแรกๆ คนที่ไม่เคยมาก่อนอาจจะยากสักหน่อยที่จะต้องเปลี่ยนแปลงและละทิ้งสิ่งที่ทำไปแล้วบ่อยๆ แต่องค์กรที่ใช้หลัก Agile อย่าง Thoughtworks ย่อมต้องจัดช่วงเวลาเรียนรู้ โมเดลสำหรับเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับการทำงานให้กับทุกคน อย่างเช่นการจับคู่ทำงานร่วมกันระหว่างคนจากต่างตำแหน่งหน้าที่

‘หน่อง’ เสริมว่า หนึ่งในสิ่งที่หน่องเซอร์ไพรซ์ตอนมาทำงานกับ Thoughtworks คือ เครือข่ายของ Thoughtworks ที่มีอยู่ทั่วโลกมีคนแบบที่เรียกว่า ‘จอมยุทธ’ ของ Agile อยู่มากมาย เป็นผู้ที่เข้าใจและเชี่ยวชาญในกระบวนการปรับใช้ Aglie ให้เข้ากับกระบวนการออกแบบซอฟต์แวร์ การจัดการภายในองค์กร การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า รวมถึงการให้คำปรึกษาเพื่อนร่วมงานด้วย เรียกว่า ใช้กระบี่ที่เรียกว่า Agile คล่องแคล่วเชี่ยวชาญแบบ “กระบี่อยู่ที่ใจ” ของจริง

บอกหน่อย ทำไมต้อง ‘Agile’ ไปกับ Thoughtworks !

สุดท้ายแล้ว ‘ดีน’ ฝากถึงเพื่อนๆ ร่วมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีว่า “ณ วันนี้มันมีปัญหา IT Developer ขาดแคลน แต่ไม่ใช่การขาดแคลนปริมาณ แต่เป็นการขาดแคลนคุณภาพ จากปัญหาทักษะและมายด์เซ็ตที่ไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นมืออาชีพ ทั้งความรับผิดชอบ คำพูด หรือวิธีการทำงาน”

“แต่ Thoughtworks จะช่วยให้เรามีความเป็นมืออาชีพขึ้นได้ ผมเลยเชื่อว่าคนที่เข้ามาอยู่ใน Thoughtworks นอกจากจะได้รับการปูทักษะที่ดีแล้ว เค้าจะเป็นคนที่ดีขึ้นในด้านของจิตใจด้วย เพราะใส่ใจ เคารพกัน เคารพความแตกต่างและเข้าใจในใจเขาใจเรา แล้วสุดท้ายเราจะเป็นคนที่สมบูรณ์มากขึ้นด้วย”

ฝั่ง ‘หน่อง’ บอก “หลายๆ คนคิดว่า Thoughtworks เข้ายาก สอบยาก ผมไม่เก่งพอที่จะอยู่ Thoughtworks หรอก แต่หน่องจะบอกว่าไม่จริง เพราะ Thoughtworks เขาไม่สนใจหรอกครับว่าคุณจะด้อยในด้านไหน แต่เขาสนใจว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่คุณทำได้ดี คุณโอบอ้อมอารีไหม คุณเข้าใจคนอื่นรึเปล่า แล้วมีแนวคิดที่อยากเติบโต อยากเรียนรู้ไหม ถ้าอยากเก่งเพิ่มมากขึ้นผมว่า Thoughtworks เหมาะเป็นก้าวที่ดีก้าวแรกของการพัฒนาตัวเองครับ”

สำหรับใครที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในที่ทำงานที่จะได้พัฒนาตัวเองในทุกวันแบบที่ ‘ดีน’ และ ‘หน่อง’ บอก ตอนนี้ Thoughtworks กำลังมองหาเพื่อนร่วมทีมที่อยากเก่งขึ้น อยากทำงานในองค์กรที่เป็นต้นเเบบของการใช้หลัก Agile ในกระบวนการทำงานอย่างลื่นไหล สมัครงานได้ที่: https://thght.works/3yK8Eud