รู้จัก ‘กลุ่มธุรกิจ TCP’ ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มที่เติบโตในตลาดกว่า 67 ปี กับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญความยั่งยืน

Share

แม้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะถูกพูดถึงกันมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะ ฝุ่น PM 2.5 น้ำเสีย หรือแม้กระทั่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ในยุคหลังโควิด-19 ประเด็นนี้กลับกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญ และรู้สึกกังวลมากยิ่งขึ้น

โดยผลสำรวจเรื่อง ‘10 อันดับแรกที่คนไทยวิตกกังวลมากที่สุด’ ของมาร์เก็ตบัซซ และวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า ในปี 2566 ปัญหาสิ่งแวดล้อมคือปัญหาที่คนไทยมีความกังวลใจสูงที่สุด

คิดเป็น 42 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการปรับราคาของสินค้าอุปโภคบริโภคด้วยซ้ำ อีกทั้งก็ 51 เปอร์เซ็นต์ก็ยังมองว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมในอีก 5 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มจะแย่ลงด้วย

แล้วความยั่งยืนสำคัญอย่างไร มีเรื่องไหนที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน และมีแนวทางไหนที่พอจะช่วยหยุดเรื่องนี้ได้บ้าง? บทความนี้ Future Trends จะพาดูแนวทางการให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของ ‘กลุ่มธุรกิจ TCP’ ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มที่เติบโตในตลาดกว่า 67 ปีกัน

เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมคือเรื่องที่ต้องทำทันที ส่อง 3 อันดับปัญหาใกล้ตัวที่จำเป็นต้องได้รับทางออก

ทั้งปัญหาขยะด้วยก็ดี ฝุ่น PM 2.5 และน้ำเสียด้วยก็ดี ต่างก็เป็นประเด็นที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยกันทั้งสิ้น แต่เรื่องที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ก็คงหนีไม่พ้น ‘เรื่องขยะ’

สอดคล้องกับผลสำรวจคนทำงานด้านความยั่งยืนในภาคธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มจากงานประชุมด้านความยั่งยืน TCP Sustainability Forum 2023 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ระบุว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ถัดมาคือ ปัญหาน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย

โดยผู้ตอบแบบสำรวจเห็นตรงกันว่า ‘การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero’ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทำทันที! ผ่านกิจกรรมช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้รถสาธารณะ การลดการใช้พลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน การลดการเผาไหม้ การปลูกต้นไม้ การเปลี่ยนมาใช้รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าให้มากขึ้น ตลอดจนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ก็เช่นกัน

สำหรับกลุ่มธุรกิจ TCP เองก็ได้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการเริ่มต้นเปลี่ยนที่องค์กร ทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค การยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้ยั่งยืน การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้รีไซเคิลได้

การร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เพื่อเก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่ระบบรีไซเคิล และบริหารจัดการปัญหาปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด ‘Circular Economy’ การออกแบบอาคาร และการทำงานที่ประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการจัดงานประชุมด้านความยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มด้วย

กลยุทธ์ที่ 1 Product Excellence กับแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริง

กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งหลักๆ แล้ว ประกอบไปด้วย 4 เป้าหมายหลัก ดังนี้

โดยกลยุทธ์แรกคือ ‘การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ (Product Excellence)’

กลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดี มีคุณภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค (Unmet need) ได้ อีกทั้งยังส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ด้วย ปัจจุบันบริษัทมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของพอร์ตผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เช่น น้องใหม่ล่าสุดอย่าง

[ ‘สปอนเซอร์ โก 0% น้ำตาล’ สปอร์ตดริงก์เบอร์ 1 ที่เข้าใจผู้บริโภคยุคนี้ ]

สปอนเซอร์ โก 0% น้ำตาล คือเครื่องดื่มสปอร์ตดริงก์อันดับ 1 ในไทยที่กลุ่มธุรกิจ TCP ตั้งใจผลิตออกมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงผ่านรสชาติที่อร่อยตามแบบฉบับสูตรออริจินัล และมีเกลือแร่ที่จำเป็น แต่ขณะเดียวกัน ก็สอดคล้องกับเมกะเทรนด์การดูแลสุขภาพที่กำลังมาแรง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ด้วย

[ ‘ฟาร์มซ่า และแพลนเนต’ โซดาน้องใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพ]

ฟาร์มซ่า (FarmZaa) แบรนด์น้องใหม่ เพื่อสนับสนุนสินค้าเกษตรกรไทย นำร่องด้วย ‘มะปี๊ด’ ในสไตล์เครื่องดื่มโซดา และแพลนเนต (Planett) เครื่องดื่ม floral soda ไม่มีน้ำตาล และแคลอรี่ 0 เปอร์เซ็นต์

[ ‘เรดบูล เอเนอร์จี้โซดา’ อร่อยซ่า กลิ่นผลไม้ ]

เรดบูล เอเนอร์จี้โซดา (Red Bull Energy Soda) เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตั้งใจผลิตตามแนวทางของเป้าหมายการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ โดยสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี อร่อยซ่า และมีกลิ่นผลไม้ที่จะเติมเอเนอร์จี้ให้สุดกับทุกกิจกรรม

กลยุทธ์ที่ 2 Circular Economy กับพันธกิจการพัฒนาทุกบรรจุภัณฑ์ให้รีไซเคิลได้ 100% ในปี 2567

นอกจากเหนือจากเรื่องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศแล้ว กลุ่มธุรกิจ TCP ก็ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย โดยตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ได้ภายในปี 2567

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท ได้แก่ ลดความหนาของตัวกระป๋องอลูมิเนียมลง 10 เปอร์เซ็นต์ ฝากระป๋องอลูมิเนียมลง 7 เปอร์เซ็นต์ ขวดแก้วลง 21 เปอร์เซ็นต์ และขวดพลาสติกลง 9 เปอร์เซ็นต์

รวมไปถึงก็ยังมีการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ และสมาคมการค้าในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์มารีไซเคิลใหม่ ทั้งอลูมิเนียม แก้ว และพลาสติกด้วย เช่น โครงการ Aluminium Loop กับ TBC หรือการเข้าร่วมเป็นองค์กรเครือข่ายความร่วมมือ กับ TIPMSE (ทิป-เอ็ม-เซ่)

นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจ TCP ก็ยังจัดโครงการต่างๆ ตามแนวทางของการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเสมอด้วย เช่น

[ ‘TCP Spirit คณะเศษสร้างปี 2’ เจาะลึก ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ แบบครบลูป ]

นับเป็นหนึ่งในโครงการงานอาสาดีๆ กับ TCP Spirit คณะเศษสร้างปี 2 “แอ่วเหนือขึ้นดอย ตามรอยวิถีไร้ขยะ” มุ่งหน้าสู่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรียนรู้การจัดการ “เศษ” ขยะและ “สร้าง” มูลค่าใหม่ผ่านการลงมือแบบครบวงจร พร้อมเรียนรู้ความเชื่อมโยงในระบบนิเวศ  สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ “เรียนรู้-ลงมือทำ-ส่งต่อ” เพื่อให้เหล่าอาสาเป็นอีกหนึ่งพลังดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อไป

กลยุทธ์ที่ 3 Low Carbon Economy กับพันธกิจความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608

จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสภาวะโลกร้อนที่โลกเรากำลังเผชิญในทุกวันนี้ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจ TCP มีการตั้งเป้าหมายให้ทุกกระบวนการทำงานมี ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)’ ภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2608 ผ่านการจัดโครงการต่างๆ ตามแนวทางของการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ได้แก่

[ ‘โครงการส่งเสริมภาคธุรกิจ ลดก๊าซเรือนกระจก’ หนทางสู่องค์กร Net Zero Emissions ]

กลุ่มธุรกิจ TCP ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 บริษัท ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมภาคธุรกิจ ลดก๊าซเรือนกระจก โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ‘ทุกกระบวนการ’ และเดินหน้าสู่การเป็น ‘องค์กร Net Zero Emissions’ ในอนาคตต่อไป

ตลอดจนมีการปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.9% (3,357.21 tCO2e) เมื่อเทียบกับปี 2563 การดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงาน เช่น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop System) และการสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานตามแนวทาง ‘การปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า’ ก็ด้วย

กลยุทธ์ที่ 4 Water Sustainability กับการคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในปี 2573

ท่ามกลางปัญหาน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสียที่ไทยเราประสบซ้ำซากทุกปี กลุ่มธุรกิจ TCP ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยังมีการตั้งเป้าหมายการคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติ และชุมชนให้ได้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ภายในปี 2573 โดยที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดโครงการต่างๆ ตามแนวทางของการส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ได้แก่

[ ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ โมเดลต้นแบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ]

TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกมิติ ทั้งน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อสร้างความยั่งยืน และผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม โดยสามารถคืนน้ำให้ชุมชนได้แล้วถึง 17 ล้านลูกบาศก์เมตร มีผู้รับประโยชน์กว่า 42,000 ครัวเรือน (ตัวเลขสะสมระหว่างปี 2562-2566) นอกจากพัฒนาความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ชุมชนและสังคมด้วย

ไม่ใช่แค่ธุรกิจเติบโต แต่ต้องดีต่อโลก และสังคมด้วย กลุ่มธุรกิจ TCP กับแนวทาง ‘ความห่วงใยสังคม’

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักแล้ว กลุ่มธุรกิจ TCP ยังมีการจัดทำโครงการอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับสังคม และชุมชนด้วย

ไม่ว่าจะเป็นโครงการปันหน้ากากสู้ PM2.5 โครงการ Power of giving กิจกรรมภายในที่ให้พนักงานมีส่วนร่วมเสนอชื่อโรงพยาบาลที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อพัฒนาชุมชนในทุกที่ที่มีธุรกิจตั้งอยู่ และโครงการเกษตรอินทรีย์สู่อาหารกลางวันก็เช่นกัน

แม้กลุ่มธุรกิจ TCP จะไม่ใช่บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่จำเป็นจะต้องมีการแจ้งข้อมูลเรื่องความยั่งยืนต่างๆ เป็นสาธารณะ แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใสไม่แพ้กัน โดยมีการจัดทำรายงานความยั่งยืน และเผยแพร่บนเว็บไซต์ขององค์กรตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> https://bit.ly/3RBu1Hs

ในวันนี้ ผลจากการลงมือทำ และความตั้งใจดีของกลุ่มธุรกิจ TCP องค์กรที่ได้รับโล่เกียรติคุณ ‘หนึ่งในองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ระดับโดดเด่น’ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กลุ่มธุรกิจ TCP ไม่ได้มุ่งปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ตามการเติบโตของธุรกิจเพียงอย่างเดียว

แต่แท้จริงแล้ว พยายามมองหาจุดร่วมระหว่างสิ่งที่จะต้องการเปลี่ยน และทิศทางการเติบโตของธุรกิจ ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบเชิงลบ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อม และสังคมในการ ‘ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า’ ไปด้วยกัน

Sources: 

https://bit.ly/3taXn69

https://bit.ly/47QF2dB

https://bit.ly/4acIjFO

https://bit.ly/3uTH8eg

https://bit.ly/3RiufBP

https://bit.ly/3uT9q8E

https://bit.ly/48dstsv

https://bit.ly/3RBu1Hs

https://bit.ly/46RkXme

https://bit.ly/3NhUJ5t

https://bit.ly/3uVFWHh

https://bit.ly/3Tj5Izq

https://bit.ly/4abrH13

https://bit.ly/3NlpB59

https://bit.ly/3RfYU2P