ตามปกติแล้ว ธุรกิจมักมีเป้าหมายหลัก คือการสร้างผลกำไรจากการดำเนินการและปันผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น แต่ทุกวันนี้ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจจะเห็นโอกาสก่อนใคร หรือรอกฎหมาย จนเป็นความเสี่ยง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจ/ลงทุนใดที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้รับเสียงตอบรับที่ดี จากสังคม และมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากคนรุ่นใหม่
ปัจจุบัน สถาบันตัวกลางในตลาดทุน เริ่มเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินการเรื่องความยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยง ประกอบกับแนวทางและกฏเกณฑ์ใหม่ของหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อสร้างระบบนิเวศตลาดทุนไทยที่สื่อสารเรื่องนี้ผ่านการเปิดเผยข้อมูลอย่างไรให้ตรงจุด ได้มาตรฐาน ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน
Greater Governance เพิ่มคุณค่าและศักยภาพธุรกิจไทยในเวทีโลก
ปัจจุบันตลาดทุนไทยต้องเผชิญกับเหตการณ์ท้าทายที่ทำลายความเชื่อมั่นจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น ตลอดจนประชาชนทั่วไป กล่าวคือการบริหารจัดการธุรกิจที่ควรต้องให้ความสำคัญในการเรื่องการกำกับดูแลที่ดี การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
[Governance สำหรับธุรกิจ]
หากธุรกิจมีการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) นั้นหมายถึงธุรกิจมีความสามารถและศักยภาพในการบริหารจัดการและรับมือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ความสามารถด้านนวัตกรรม รวมถึงศักยภาพในการแข่งขันในเวที โลกอีกด้วย
[Governance สำหรับผู้ลงทุน]
เพื่อให้การตัดสินใจลงทุนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และจัดการกับความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ลงทุนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดแนวทาง และสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ ผ่านการสื่อสารและมีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่า ‘ESG Engagement’ เช่น การตั้งคำถาม ด้าน ESG ในการประชุมผู้ถือหุ้น การทำ Proxy Voting หรือการสื่อสารผ่าน Investor Relations เป็นต้น
ตัวชี้วัดมิติ Governance ที่ผู้ลงทุนระดับโลกใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนยั่งยืน
[การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG)]
คือ การลงทุนยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยให้ความสำคัญกับประเด็น ESG และใช้ข้อมูลนี้ประกอบการพิจารณาลงทุนควบคู่กับผลการดำเนินงานทางการเงิน ถ้าบริษัทมีโครงสร้าง กระบวนการหรือระบบที่แข็งแรงเพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย และที่สำคัญคือสามารถสร้าง Visibility ของธุรกิจไทยในเวทีโลกอีกด้วย
Trust, Transparency, Accountability สื่อสารอย่างไรด้วยข้อมูลไหน….ให้ตอบโจทย์
[Decarbonization VS Reality]
จากประเด็นการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์หรือ Net-Zero Emission ที่ไม่สอดคล้อง กับการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงของหลายๆบริษัท จึงทำให้สังคมตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการดำเนินการซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของบริษัทได้
[Regulatory Landscape Changing]
จึงทำให้หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกปรับปรุงกฎเกณฑ์ มาตรฐาน หรือแนวทางการเปิดเผยข้อมูลและการรายงาน (Regulatory) ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งฝั่งของบริษัทจดทะเบียนและผู้ลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้กับธุรกิจและตลาดทุน (Trust) โดยให้ความสำคัญกับมิติธรรมาภิบาล (Governance) ดังนี้
1. ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อตนเอง (Accountability)
2. ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ/ลงทุน (Transparency)
3. ความสุจริตของผู้บริหาร/คณะกรรมการ (Integrity)
[Two-Way Communication: Responsible Data]
ผู้ให้ข้อมูลหรือบริษัทจดทะเบียนควรให้ความสำคัญเรื่องธรรมาภิบาลมากกว่าแค่ Compliance สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน
ผู้ใช้ข้อมูลหรือผู้ลงทุนเอง ควรศึกษาตัวบริษัทให้ถี่ถ้วน เลือกบริษัทที่มีการกำกับดูแลที่ดี มีความมั่นคง และมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เพราะจุดประสงค์หลักของการลงทุนคือ Alternative Savings หากธุรกิจสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดี ผลของการดำเนินการจะสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนคืนสู้ผู้ลงทุนนั้นเอง
ส่องแนวทาง ก.ล.ต.กับการตอบสนองความคาดหวังของ Stakeholder ของตลาดทุนไทย
[Substance Over Form!]
ปัจจุบันมีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน หรือ ESG มากมายให้เลือกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือ/แนวทางในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น Substance Over Form! และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยองค์กรควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละองค์กร โดยมีแบบ 56-1 One Report เป็นมาตรฐานพื้นฐาน
[Sustainability Ecosystem for All]
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนตลาดทุนไทย อาทิ ESG Data Platform เพื่ออำนวยความสะดวกและรวมศูนย์ข้อมูล ESG กับผู้ให้ข้อมูลอย่างบริษัทจดทะเบียน และผู้ใช้ข้อมูลอย่างผู้ลงทุน ในการเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพ สามารถเปรียบเทียบได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุน
[Make Capital Market Works for Everyone]
ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวด้านความยั่งยืน/ESG สำหรับธุรกิจได้ที่