“พลาสติก” มีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก เพราะถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังถูกนำมาผลิตเป็นสินค้าหลากหลายรูปแบบ ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน เพิ่มความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์
วันนี้ Future Trends จะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับบริษัทผู้คิดค้น และพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ หรือพลาสติก อย่าง “เอสซีจี เคมิคอลส์ ”หรือ SCGC ให้มากขึ้นกัน
SCGC นำโดย คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์คุณภาพสูงเพื่อผู้บริโภค โดยมีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ “ESG” อีกทั้งยังนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม รวมถึงนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต
เพื่อตอกย้ำการเป็น “ผู้นำเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน” SCGC จึงได้เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อทุกความเป็นไปได้ ภายใต้แคมเปญ “INNOVATION THAT’S REAL” ที่สะท้อนถึงการไม่หยุดพัฒนาค้นหาโซลูชันใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก และสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ
นอกจากนี้ SCGC มีทีมงานที่เชี่ยวชาญทั้งด้านวัสดุศาสตร์ การออกแบบ และการขึ้นรูป พร้อมร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ทั้งในและต่างประเทศ พัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนอย่างรวดเร็ว ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการแข่งขันที่แข็งแกร่งของ SCGC ในด้านนวัตกรรมอันเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ
รู้จักหลัก ESG และการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล
SCGC มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำธุรกิจระดับภูมิภาค สร้างการเติบโตโดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือที่เรียกกันว่า ESG (Environmental, Social and Governance) ธุรกิจต้องก้าวไปพร้อมกับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมถึงการดำเนินงานที่โปร่งใส เป็นธรรม จึงจะถือเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน นับได้ว่าเป็นแนวทางที่ SCGC ยึดถือในการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง
แนวทางและเป้าหมายด้าน ESG ทั้ง 3 มิติ
สิ่งแวดล้อม (E = Environmental)
- มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการขายรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Polymer) เป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 ผ่านโซลูชันตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่
(1) Reduce ลดการใช้ทรัพยากร : ด้วยเทคโนโลยี SMX™ ทำให้สามารถผลิตเม็ดพลาสติกที่มีความแข็งแรงมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดความหนาของชิ้นงานแต่คงความแข็งแรงได้ดังเดิม ลดการใช้ทรัพยากรอย่างเม็ดพลาสติกลง
(2) Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ : พัฒนา Recyclable Packaging Solution ที่ช่วยให้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวสามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด
(3) Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ : พัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: PCR) จากกระบวนการ Mechanical Recycling และเม็ดพลาสติก Certified Circular Resin จากกระบวนการ Advanced Recycling
โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา SCGC ได้เข้าซื้อหุ้นกว่า 70% ของซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส เพื่อขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) 9,000 ตันต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 25% ของกำลังการผลิตรวม ณ ปัจจุบัน ส่งผลให้ซีพลาสต์จะมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลรวมกว่า 45,000 ตันต่อปี ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในยุโรปและแอฟริกาที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(4) Renewable การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน : โดยการพัฒนาเม็ดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio-Compostable Compound Resin) พร้อมให้นำไปขึ้นรูป ผลิตเป็นถุงย่อยสลายได้ นอกจากนี้ SCGC ยังได้ร่วมมือกับ Braskem เพื่อศึกษาแนวทางการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio-Based Polyethylene) จากผลผลิตทางการเกษตรซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอีกด้วย
- มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593
SCGC ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% (ปีฐาน 2564) ให้ได้ภายในปี 2573 ด้วยแนวทาง ‘Low Carbon Low Waste’ ได้แก่
– การปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการ และอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น
– การใช้พลังงานสะอาดทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
– การพัฒนาและลงทุนในเทคโนโลยีที่ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
– การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (carbon offset) เช่น การปลูกป่าในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงป่าชายเลน
- ลดปริมาณของเสียที่ส่งไปกำจัดลง 75% ภายในปี 2568 (ปีฐาน 2557)
- ลดปริมาณการใช้น้ำจากภายนอก 5% ภายในปี 2568 (ปีฐาน 2557)
สังคม (S = Social)
ไม่เพียงแต่สิ่งแวดล้อม แต่ SCGC ยังดำเนินงานโดยให้ความสำคัญกับชีวิต ทั้งพนักงาน และผู้คนในสังคม ผ่านหลักการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
- ตั้งเป้าหมายลดการเจ็บป่วยจากการทำงาน หรืออุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์
- ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม มีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมกับชุมชน และเปิดรับการประเมินความพึงพอใจจากชุมชนผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น จำลองเหตุการณ์อุบัติภัยร้ายแรง ไปจนถึงการจัดทำมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบ จัดทำโครงการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย ตั้งจุดคัดกรองโรคติดเชื้อโควิด 19 เป็นต้น
- มุ่งสร้างวิถีสังคมคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บรรษัทภิบาล (G = Governance)
การดำเนินงานต้องโปร่งใส และตรวจสอบได้ โดย SCGC มีหลักในการดำเนินการ ดังนี้
- มุ่งดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และเป็นธรรม ภายใต้กรอบจรรยาบรรณ SCGC
- จะไม่เกิดการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย และตั้งเป้าการหยุดชะงักทางธุรกิจเป็นศูนย์
- ด้านนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน มีเป้าหมายนำมาปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยต้องเห็นผลจริง จึงจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ และกำหนดให้พนักงานทุกระดับต้องมีความเข้าใจ และผ่านการทำแบบทดสอบด้านจริยธรรม (Ethics e-Testing) 100%
- กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และไซเบอร์ตามมาตรฐานสากล (ISO 27001 และ IEC 62443)
- ดำเนินการตามกรอบมาตรฐาน National Institute of Standards and Technology (NIST) พร้อมทั้งมีคณะกรรมการกำกับดูแลและเฝ้าระวังความเสี่ยงจากภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงซักซ้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นทุกเมื่อ
และนี่คือเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานทั้ง 3 มิติ ESG ของ SCGC ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน
SCGC ผนึกกำลังพาร์ตเนอร์ระดับโลก ขับเคลื่อนนวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน
SCGC สร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และโซลูชันมากมายมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงมีการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกมากมายผ่านเครือข่ายนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) กับสถาบันชั้นนำทั่วโลก และผ่านการร่วมลงทุน ล่าสุด SCGC ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Denka Company Limited หรือ Denka ประเทศญี่ปุ่น เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายอะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene Black) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนแบล็กชนิดพิเศษที่เป็นวัสดุนำไฟฟ้า ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดย SCGC และ Denka ถือหุ้นร้อยละ 40 และ 60 ตามลำดับ โดยการร่วมทุนนี้จะช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ SCGC ที่มุ่งผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือ HVA (High Value-Added Products & Service) เพื่อรองรับเมกะเทรนด์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มความต้องการของตลาดเพิ่มสูงขึ้น