ช่วงนี้พอพวกเราอยู่บ้านกันนาน ๆ ทั้ง Work From Home ทั้งกิจกรรมต่าง ๆ นานา จนบางทีเราก็อาจลืมไปเลยว่า โลกภายนอกของเราตอนนี้มันเป็นยังไงบ้าง แน่นอนว่าบางคนอาจจะคิดว่าช่วงวิกฤตโควิด 19 แบบนี้ ที่คนไม่ค่อยออกมาสัญจรกัน มันน่าจะทำให้สภาพแวดล้อมแลดูสวยงามขึ้นไม่น้อย…แต่ในความเป็นจริง มันจะเป็นอย่างงั้นหรือเปล่านะ?
เราคงเคยได้เห็นข่าวภาพถ่ายดาวเทียมขององค์การนาซ่าในประเทศจีน ที่แสดงปริมาณมลภาวะที่ลดลงในช่วงเวลาเพียง 1 เดือนกันไปบ้าง แต่ว่าอันที่จริงแล้วสถานการณ์วิกฤตโลกร้อนของเรานั้นยังไม่หายไปไหน ในทางกลับกันการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอาจถูกลดความสำคัญลงในช่วงระยะการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตและจะยิ่งซ้ำเติมให้วิกฤตโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีก
ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ต่อให้เราอยู่บ้านไม่ได้ออกไปไหน ปัญหาโลกร้อนก็ยังอยู่ติดตัวเราอยู่ดี วันนี้เราก็เลยชวนมาดู วิธีดูแลโลกใบน้อย ๆ ของเรา สู่การแก้ไขระดับโลกเพื่อส่วนรวม พร้อมกับส่องนวัตกรรมจาก SCG เพื่อก้าวสู่วิถีรักษ์โลกอนาคต สู่เทรนด์ ‘Net Zero’ เซตอัพโลกสีเขียวเพื่อคนรุ่นใหม่ต่อไป
เปลี่ยนที่บ้าน – ประหยัดพลังงานใกล้ตัวแบ่งเบาภาระให้โลก
ช่วงนี้หลายบริษัทคงให้พนักงาน Work From Home ซึ่งต้องยอมรับจริง ๆ ว่า มันทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งยังลดมลพิษทางอากาศที่อันตรายบางตัว แต่ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มขึ้นของปริมาณการสัญจรบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและดิจิทัลดาต้าก็ขึ้นสูงตามไปด้วยในช่วงการกักตัว ไม่ว่าจะเป็นการชมซีรีส์เรื่องโปรด ฟังเพลงเพลิน ๆ หรือจะวิดีโอคอลประชุมอยู่บ่อย ๆ สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ที่ต้องอาศัยไฟฟ้ามหาศาล
เมื่อพลังงานถูกใช้มาก ๆ เข้า มันก็เร่งให้วิกฤตโลกร้อนแย่ลงในระยะยาวเช่นกัน ฉะนั้นการประหยัดพลังงานแม้ตัวจะอยู่บ้านก็เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นปิดสวิตช์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน ตลอดจนการไม่เปิดตู้เย็นบ่อยเกินไป รวมถึงการตั้งอุณหภูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25-27 องศา หรือการใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายเหงื่อและไม่ยับง่ายหลังซัก ก็จะช่วยให้เราอยู่บ้านได้อย่างสบายและไม่ต้องรีดผ้ามากนัก แถมยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย
ทีนี้ในโลกยุคใหม่ที่ดูเหมือนปัจจัยการใช้พลังงานดูจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเราจะมีอะไรมาเป็นตัวช่วยในการลดพลังงานจากที่บ้านเราได้บ้างนะ?
เราคงเคยได้ยินโซลาร์รูฟ หรือการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน นั่นทำให้ใครหลายคนหันมาให้ความสนใจในการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ทาง SCG ก็ได้มีนวัตกรรม ‘SCG Solar Roof Solutions’ ที่เข้ามาตอบโจทย์ในการผลิตไฟโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ที่ช่วยให้สามารถลดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 60% แถมยังติดตั้งแบบไม่ต้องเจาะหลังคาให้เสี่ยงรั่วด้วยนวัตกรรม ‘Solar FIX’
SCG ยังพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับที่อยู่อาศัย ภายใต้ฉลากสินค้า ‘SCG Green Choice’ ที่มีสินค้านำไปสร้างบ้านได้ทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุส่วนโครงสร้างที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, หลังคาที่ปราศจากแร่ใยหิน, ฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลช่วยลดความร้อนภายในตัวบ้าน, ฝักบัวที่ลดการใช้น้ำไปจนถึงระบบระบายอากาศที่ทำให้บ้านอยู่เย็นสบายไร้มลพิษ (Active AirFlow system) และอื่น ๆ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าแต่ละชิ้นให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลัก ไม่ว่าจะเป็น
1. ประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน (Climate Resilience)
2. ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และยืดอายุการใช้งาน (Circularity)
3. ส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี (Well-Being)
เท่านี้กิจวัตรหรือและกิจกรรมต่าง ๆ ตอนเราอยู่บ้าน ก็น่าจะลดจะภาระเพื่อไม่ให้ต้องเกิดภาวะโลกร้อนได้มากเลยทีเดียวล่ะ
เปลี่ยนความคิด – ใช้ให้คุ้มค่า หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์
อีกกิจกรรมยอดฮิตช่วงกักตัวอยู่บ้านในวิกฤตการณ์โควิด 19 คงหนีไม่พ้นฟู้ดดิลิเวอรี ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ ขยะจากภาชนะและพัสดุ หนึ่งออเดอร์ของการสั่งฟู้ดดิลิเวอรี อาจประกอบไปด้วย ภาชนะมากมาย ทั้งกล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติก ซองแยกน้ำจิ้ม และช้อน-ส้อมพลาสติก
ทั้งนี้เราก็สามารถลดการสั่งฟู้ดดิลิเวอรี่ โดยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยลดจำนวนขยะและลดคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่ง แถมยังเป็นกิจกรรมในการสร้างช่วงเวลาดี ๆ ร่วมกันภายในครอบครัว แต่ถ้ามีความจำเป็นก็แจ้งทางร้านว่า ไม่รับช้อน-ส้อม ตะเกียบ หลอด หรือเครื่องปรุง ที่มีที่บ้านอยู่แล้ว เป็นการลดขยะที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้การเก็บภาชนะพลาสติกมารียูสเพื่อใช้สอยใหม่ในบ้านและการแยกขยะเพื่อให้พลาสติกถูกนำไปรีไซเคิลได้ ก็เป็นการจัดการพลาสติกได้ด้วยตัวเองที่ดีเลยล่ะ
อันที่จริงพลาสติกเปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติดีเด่นมากมาย เพราะมันทั้งเหนียว ทนทาน แข็งแรง ป้องกันน้ำซึมผ่าน น้ำหนักเบา ทนความร้อนได้สูงโดยไม่เสื่อมสภาพ แถมบางชนิดทนต่อสารเคมี ช่วยในกระบวนการฆ่าเชื้อโรค และสามารถขึ้นรูปในแบบต่าง ๆ ได้ จึงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญยังช่วยในเรื่องการรักษาสุขอนามัย และความปลอดภัยได้สูงมากกว่าวัสดุชนิดอื่น โลกอนาคตต่อจากนี้ จึงเป็นการออกแบบพลาสติกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคิดหาวิธีที่จะใช้พลาสติกอย่างคุ้มค่าและนำมาจัดการให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบัน SCG ได้ร่วมมือกับ ยูนิลีเวอร์ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค โดยทั้งสองได้เริ่มนำพลาสติกจากครัวเรือน เช่น ขวดแกลลอน ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดแชมพู หรืออื่น ๆ ที่ไม่ใช้แล้วมาคัดแยก และนำมารีไซเคิลเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) ภายใต้แบรนด์ เอสซีจี กรีน พอลิเมอร์ (SCG Green PolymerTM) ที่ช่วยให้เราได้ใช้พลาสติกอย่างคุ้มค่า พร้อมลดปัญหาโลกร้อน และเพื่อตอบสนองการใช้และหมุนเวียนทรัพยากรให้ได้อย่างคุ้มค่า SCGP ก็ยังได้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ‘R1’ บรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัวที่ผลิตจากฟิล์มประกบหลายชั้น โดยแต่ละชั้นจะทำหน้าที่ต่างกัน เช่น การพิมพ์ กันความชื้น และกันแรงกระแทก แต่ผลิตด้วยพอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน ทำให้สามารถรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมี ‘Flairosol’ บรรจุภัณฑ์แบบสเปรย์ที่ให้ฟองละเอียดระดับนาโน และสามารถนำกลับมาบรรจุใหม่ได้หลายครั้ง ออกแบบให้มีรูปทรงและขนาดที่เหมาะสม จับถนัดมือ ใช้งานได้กับของเหลวหลากหลายประเภท ช่วยทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์อัดความดันแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และด้วยนวัตกรรมทั้งหมดก็จะสามารถช่วยลดโลกร้อนจากการลดใช้พลาสติก ลดพลังงานในการผลิต การขนส่งและการกำจัดได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรต่าง ๆ หากเราเริ่มคิดที่จะใช้มัน การคิดว่าจะคัดแยกและนำกลับมาใช้ใหม่อย่างไร ให้คุ้มค่า สิ่งเหล่านี้ต่างหาก ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเราและโลกอนาคตต่อไป
เปลี่ยนเป้าหมาย – พุ่งเป้าเพื่อหยุดยั้งก๊าซเรือนกระจกด้วย ‘Net Zero’
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด คงต้องย้ำกันอีกสักรอบว่า แม้จะอยู่ในช่วงโควิด 19 แต่ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาโลกร้อนจางหายไป นั่นทำให้การก้าวเข้าสู่ New Normal อาจยังไม่พอ แต่ต้องก้าวเข้าสู่ยุค ‘Green New Normal’ ที่ดูแลรักษ์โลกไปพร้อม ๆ กัน ‘Net Zero’ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งจุดมุ่งหมายสำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ
Net Zero คือการตั้งเป้าเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศที่เป็นประเด็นเร่งด่วนและมีมานานในยุคของเรา
ทั่วโลกทั้งรัฐบาล เมือง และบริษัทต่าง ๆ ต่างมีจุดมุ่งหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ดังนั้นพันธกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และภาวะความเป็นผู้นำ
การที่จะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้นั้น อาจเริ่มต้นมาจาก การกำหนดนโยบายต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเทคโนโลยี และพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการปล่อยก๊าซนั้น ๆ ที่จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง SCG เองก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญและมี passion ในแก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามความตกลงปารีส เพื่อควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2593
นี่น่าจะทำให้เราเห็นภาพในอนาคตได้ชัดเจนขึ้นว่า การให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนยังคงเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ในปัจจุบันและมันก็กำลังก่อเกิดเป็นเทรนด์ใหม่ที่เราไม่ใช่แค่พยายามจะแก้ปัญหาเรื่องการทำงานหรือเศรษฐกิจ แต่ต้องแก้ปัญหาเรื่องโลกไปพร้อม ๆ กัน
ในส่วนของพวกเราเองก็ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้นะ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงานหรือการใช้สิ่งของต่าง ๆ ให้คุ้มค่า รู้จักประหยัดน้ำ เพราะระบบการผลิตน้ำประปาต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด ลองหันมาบริโภคเนื้อให้น้อยลง หรือทานอาหารประจำถิ่นเพื่อลดการขนส่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และลองมาปลูกต้นไม้สักต้น เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ …ไม่ว่าจะวิธีไหน ๆ แค่เราลองพยายามเท่าที่เราทำได้ มันก็พอช่วยโลกได้แล้วล่ะ
ร่วมกันเปลี่ยนเพื่อเซตโลกให้น่าอยู่ ส่งต่อให้คนรุ่นใหม่
“ปี 2048 จะไม่มีพื้นที่ใดปลูกเมล็ดโกโก้ได้”
“ปี 2050 สนามฟุตบอลอังกฤษจะน้ำท่วมทุกปี”
“สัตว์ทะเลจะสูญพันธ์ เพราะออกซิเจนในมหาสมุทรต่ำลง”
“ฝุ่น PM 2.5 ทำให้เสี่ยงแท้งลูก 16%”
ข้อความข้างต้นทั้งหมดดังกล่าว เป็นข้อความจากงานวิจัยและผลการศึกษาโดยองค์กรชั้นนำระดับโลก ที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์โฆษณาตัวล่าสุดจากทาง SCG ซึ่งมันทำให้เราเห็นภาพที่น่าเป็นห่วงสำหรับอนาคตของคนรุ่นต่อไป ที่จะเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยง และการทวีคูณเรื่องของปัญหาที่ท้าทายตามมาเรื่อย ๆ
หนึ่งในอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจ นอกเหนือจากเรื่องกล้าแสดงออก นิยามเรื่องเพศสภาพและเชื้อชาติที่เปลี่ยนไป คือการให้คุณค่ากับสังคมมากกว่าคุณค่าทางเศรษฐกิจ การมองหาสิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสนใจแบรนด์ที่ใส่ใจโลกมากกว่าการแสวงหาผลกำไร นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ เริ่มที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงที่พวกเราได้เห็นจากคนรุ่นใหม่ คือพวกเขาเริ่มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น และนั่นก็คงเพราะพวกเขามีสิ่งที่ตนเองรัก แล้วเราก็ต่างมีโลกของตัวเองที่เราแคร์ และถ้าหากไม่เริ่มที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง อนาคตที่จะได้รักได้แคร์ในสิ่งนั้น ๆ ก็คงจะดับสูญสลายไปกับมัน เพราะฉะนั้นสำหรับคนรุ่นใหม่แล้ว ปัญหาโลกร้อนจึงไม่ใช่แค่เรื่องของงานหรือเศรษฐกิจ แต่มันเป็นเรื่องของความฝันที่พวกเขายังอยากมีโลกที่ดีเป็นทางเดินให้เขาได้ก้าวต่อไป
พอเราได้ยินว่า โลกในอนาคตจะไม่น่าอยู่ต่อไปแบบนี้แล้ว ก็ดูเป็นอะไรที่ใหญ่เกินตัวกว่าที่เราจะแก้ไขเหมือนกันเนอะ แต่จริง ๆ แล้ว แค่เราหันมาใส่ใจ มองเห็นถึงความสำคัญกับสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราแคร์ ซึ่งเปรียบเสมือนโลกทั้งใบของเรา ความรักความใส่ใจที่ต่างให้กัน แค่นี้การปรับเปลี่ยนที่ว่า มันก็ช่วยโลกทั้งใบให้น่าอยู่ขึ้นแล้วล่ะ
ยังมีวิธีร่วมดูแลโลกใบนี้ ด้วยวิธี ‘เปลี่ยน’ แบบง่ายๆ โดยเริ่มจากโลกใบที่คุณแคร์ ได้ที่ https://bit.ly/3uONMNg