เราได้ยินกันมาตลอดว่า ‘พื้นที่สีเขียว’ เป็นสิ่งที่หลายคนเรียกต้อง โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ จากในช่วงก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา ในช่วงหาที่ผู้สมัครนำเสนอนโยบายของตนเอง จะเห็นได้ว่านโยบายเรื่องพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในประเด็นที่ผู้คนจับตามองและให้ความสนใจกันมากทีเดีย
และเมื่อลองย้อนกลับมาดูในกรุงเทพมหานคร พบว่าจำนวนพื้นที่สีเขียวทั้งหมดเฉลี่ยต่อจำนวนประชากร จะอยู่ที่ 7.6 ตารางเมตรต่อคน ขณะที่มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่า เมืองควรมีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยอย่างต่ำที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ดังนั้น ด้วยตัวเลข 7.6 นี้ถือว่า พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ นั้นต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐาน และยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษาของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ UDDC พบว่าตัวเลขพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยของชาวกรุงเทพฯ จริงๆ แล้วอาจน้อยกว่า 7.6 ด้วยซ้ำ เนื่องจากในตัวเลขที่นำมาคำนวณมีพื้นที่สีเขียวที่ไม่สามารถใช้ได้จริง อย่างเกาะกลางถนนหลายๆ แห่งถูกนับรวมอยู่ด้วย
นอกจากตัวเลข 7.6 ที่บ่งชี้ว่ากรุงเทพฯ จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว วันนี้ Future Trends อยากชวนทุกคนไปดูด้วยว่า เพราะอะไรเมืองของเราจึงต้องการพื้นที่สีเขียวมากขึ้น แน่นอนว่า คงไม่ใช่เพราะแค่ให้ตัวเลขพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยให้ผ่านมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเท่านั้น แต่เราจะพาไปดูด้วยว่า ปริมาณพื้นสีเขียวที่เพิ่มขึ้นจะสามารถสร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี และทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร
พื้นที่สีเขียวช่วยเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้ผู้คน
ด้วยสภาพความเป็นอยู่ในเมืองใหญ่ หลายๆ สถานที่ล้วนเต็มไปด้วยมลพิษทางอากาศ จากยานพาหนะ การก่อสร้าง หรือจากโรงงาน นอกจากนี้ยังมีมลภาวะทางเสียง ที่สร้างความรบกวนได้ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งการปลูกต้นไม้หรือมีพื้นที่สีเขียวเป็นตัวช่วยในการดูดซับมลพิษเหล่านี้ได้ แน่นอนว่าถ้ามลพิษในสภาพแวดล้อมลดลง ย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายของพวกเราทุกคนด้วยเช่นกัน อีกทั้งการมีพื้นที่สีเขียวอย่างสนามหญ้าหรือสวนสาธารณะยังทำให้ผู้คนได้มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ได้ส่งเสริมสุขภาพร่างกายกันมากขึ้นอีกด้วย
ในด้านสุขภาพใจ สีเขียวจากธรรมชาติและอากาศสดชื่นช่วยให้เราได้ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้า และยังมีงานวิจัยของประเทศเดนมาร์ก ที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences) บอกว่า การอยู่กับพื้นที่สีเขียวช่วยป้องกันโรคทางอารมณ์ (Mood Disorder) ภาวะซึมเศร้า (Depression) พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสาท (Neurotic Behavior) และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้อีกด้วย
พื้นที่สีเขียวช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเมือง
อีกมุมหนึ่งในด้านเศรษฐกิจ พื้นที่สีเขียวสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและดึงดูดให้เกิดการลงทุนได้มากขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างประเทศที่น่าสนใจอย่างสิงคโปร์ พื้นที่สีเขียวของสิงคโปร์ไม่ได้มีประโยชน์แค่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ หรือช่วยลดมลพิษเท่านั้น เพราะเมืองสีเขียวของสิงคโปร์ได้กลายเป็นจุดเด่นที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนได้จำนวนมาก จนกระทั่งส่งผลให้ GDP ของประเทศเติบโตขึ้น
ทั้งนี้ สิงคโปร์ไม่ได้แค่ปลูกต้นไม้ให้เยอะเท่านั้น แต่ยังอาศัยการวางกลยุทธ์เป็นอย่างดี ตั้งแต่ปี 1975 สิงคโปร์วางแผนเรื่องการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างจริงจัง โดยยกให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ มีการวางตำแหน่งให้กระทรวงการพัฒนาแห่งชาติคอยดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งยังออกนโยบายที่สนับสนุนให้ประชาชนปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า เพียงทั้ง 2 ด้านที่เล่ามานี้ มันชัดเจนมากแล้วว่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นประโยชน์กับผู้คนและเมืองมากแค่ไหน เพราะฉะนั้นเราจึงควรลงมือทำเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งตอนนี้เอง ถือเป็นเรื่องน่าดีใจ ที่ล่าสุดกรุงเทพหมานครได้มีนโยบาย “ปลูกต้นไม้ล้านต้น” ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว เมือวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยการปลูกต้นไม้ครั้งนี้ มีการตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านต้น โดยจะทำการปลูก 400 ต้น/เขต/สัปดาห์ ภายในระยะเวลา 4 ปี
ปตท. ร่วมส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนเมือง ผ่าน “โครงการลมหายเพื่อเมือง”
เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนนโยบายและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนเมือง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้จัดโครงการ “ลมหายใจเพื่อเมือง” ร่วมปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น ในพื้นที่ของ ปตท. และกทม.
โครงการนี้ เพิ่มจัดไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยนำร่องในพื้นที่ของ ปตท. ที่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 นอกจากนี้ ยังร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่สวนสาธารณะ อย่างสวนจตุจักร สวนรถไฟ และอีกหลายพื้นที่ที่สำคัญทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียวให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่ร่มรื่นน่าอยู่สำหรับทุกคน
นอกจากโครงการนี้ ก่อนหน้า ปตท. ได้มีการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในบริเวณอื่นๆ มาโดยตลอด อย่างโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้มาเป็นสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ขณะเดียวกัน โครงการทั้งหมดนี้ ล้วนสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero Emission ของ ปตท. ที่กำลังมุ่งดำเนินการและร่วมมือกับทั้งภาครัฐและชุมชนเพื่อลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่เช่นเดียวกัน
จากโครงการที่เล่าไปจะเห็นได้ว่า ภาคธุรกิจเองก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่าง ปตท. เองนอกจากจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมืองในโครงการลมหายใจเพื่อเมือง ก่อนนี้เขาก็ยังได้ระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนผู้ประสบวิกฤตการศึกษา ผ่านโครงการ “ลมหายในเพื่อน้อง” โดยรวบรวมเงินสนับสนุนและมอบให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ไปได้ทั้งสิ้น 171 ล้านบาท
วันนี้ ทุกภาคส่วนต้องก้าวไปพร้อมกัน เพื่อพวกเราทุกคน
ทั้งโครงการลมหายใจเพื่อเมืองและโครงการลมหายเพื่อน้อง ล้วนเป็นตัวอย่างที่ทำให้เราได้เห็นว่า การจะผ่าวิกฤตที่โลกกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ หรือสังคม เราต่างต้องไปด้วยกัน อย่างตัวอย่างของ ปตท. ในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งมุมที่ทำให้เราได้เห็นการภที่เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนนโยบายและเข้ามาร่วมสร้างเมืองของภาคธุรกิจ ดังนั้น เราเชื่อว่าทุกภาคส่วนต่างมีกำลัง มีศักยภาพในการของตนเอง และท้ายที่สุดเราจะสามารถฝันฝ่าทุกวิกฤตไปได้ด้วยกันจากการร่วมมือกัน
Sources: https://bit.ly/3SWsMBf