“ในขณะที่บางบริษัทกำลังใช้อำนาจในการข่มขู่พนักงานพร้อมยื่นคำขาดให้กลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศโดยไม่มีการพูดคุยหาทางออกกับกลุ่มพนักงาน บางบริษัทก็กำลังจูงใจพนักงานด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อให้พวกเขากลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ”
แม้แต่ Zoom แพลตฟอร์มการสื่อสารด้วยวิดีโอ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์ของการทำงานจากระยะไกล ดูเหมือนจะออกนโยบายใหม่ที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก
พวกเขาบังคับให้พนักงานที่อยู่ในรัศมีพื้นที่กว่า 80 กิโลเมตรต้องกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ เกิดเป็นกระแสในโลกออนไลน์ที่ตั้งคำถามว่า “แพลตฟอร์มการสื่อสารออนไลน์ แต่พนักงานไม่สามารถทำออนไลน์ได้นี่มันแปลกไปหน่อยไหม?”
Zoom เป็นเพียงหนึ่งในธุรกิจล่าสุดที่บังคับให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศถึงแม้จะย้อนแย้งในผลิตภัณฑ์ของตัวเองก็ตาม ในขณะที่บริษัทหลายแห่งกำลังบังคับพนักงานอย่างไม่ฟังความคิดเห็นใดๆ ก็มีบริษัทไม่น้อยที่เลือกจะ “ใช้ความสำคัญกับการพูดคุยกับพนักงานและหาทางออกร่วมกัน” หลายบริษัทบอกว่ากลยุทธ์ที่อ่อนโยนกว่าการบังคับได้ผลดีกว่า
แต่การจะสร้างกลยุทธ์ที่อ่อนโยนได้นั้นต้องมีการสอบถามความต้องการของบริษัทและพนักงานร่วมกัน
[ ฟังเสียงพวกเขา ]
James Arnall ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Perkbox ในลอนดอน พยายามบังคับให้ทีมงาน 15 คนทั่วสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียกลับเข้าออฟฟิศ
“เราคิดว่าจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นทั้งฝ่ายขาย การตลาด ลูกค้า และบัญชี เพราะเราได้เข้าออฟฟิศมาพูดคุยกัน” Arnall กล่าวให้กับนโยบายการเข้าออฟฟิศ 4 วันต่อสัปดาห์ ก่อนที่เขาจะพบเจอกับความจริงที่น่าผิดหวัง
“มันเลวร้ายมาก” เขากล่าว พนักงานมองว่ามันเป็นการลงโทษ มากกว่าที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจไว้ Arnall ถูกถาถมด้วยคำถามและข้อร้องเรียน ทันที ทำให้นโยบายในฝันของเขาต้องหยุดลง
จากประสบการณ์ที่เขาได้เจอ แทนที่จะยื่นคำขาด แนวทางของเขากลับเข้มงวดน้อยลง “เราผ่อนคลายมากขึ้นเกี่ยวกับการเข้าออฟฟิศ และสิ่งที่ฉันพบก็คือ ยิ่งเราผ่อนคลายมากขึ้น ผู้คนก็ปฏิบัติตามนโยบายนี้มากขึ้นเท่านั้น” เขากล่าว หลังจากเปลี่ยนนโยบายเป็นการเข้าออฟฟิศเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าพนักงานของเรามีประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น
[ การเข้าออฟฟิศถือว่าคุณได้ทำในสิ่งที่ดีนะ? ]
บางธุรกิจกำลังมุ่งเน้นความสนใจในการเข้าออฟฟิศไปที่การใช้สิ่งจูงใจที่น่าดึงดูดมากขึ้นเพื่อดึงดูดผู้คนให้กลับมาทำงานอีกครั้ง อย่าง Salesforce
Salesforce เสนอที่จะบริจาคเงิน 10 ดอลลาร์ (ประมาณ 350 บาท) ให้กับองค์กรการกุศลในท้องถิ่นทุกครั้งที่พนักงานเข้ามาในสำนักงานในช่วงระยะเวลาสองสัปดาห์ในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจใหม่ในการกลับมา (อย่างน้อยก็ชั่วคราว)
[ แต่ก่อนที่จะพิจารณาสิทธิประโยชน์เหล่านี้ได้ ]
ผู้นำองค์กรจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและสื่อสารวัตถุประสงค์ของนโยบายองค์กรออกมาเสียก่อน “หากทุกคนเข้าใจว่าเหตุใดการกลับมาถึงคุ้มค่า พวกเขาก็ยินดีที่จะหารือเกี่ยวกับมัน”
[ วิธีการแก้ไขปัญหามีมากมาย ]
1.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมให้อยู่ในระบบเสมือนจริง เพื่อที่จะให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเราอยู่ในสถานที่เดียวกัน มันเป็นเรื่องง่ายแล้วเทคโนโลยีสามารถทำให้มันเกิดขึ้นมาได้
2.ผลการวิจัยบางแห่งบอกว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ โดยมีวันหยุดคั่นกลางระหว่าง 4 วันทำงาน สร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น หากคุณต้องการให้พนังงานกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศจริงๆ คุณสามารถปรับเปลี่ยนวันเวลาการทำงานได้
3.การออกนโยบายแบบ Top-Down Policy ที่เบื้องบนเป็นคนกำหนดอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกแล้วในยุคนี้ คุณต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกนโยบายด้วย
[ บทส่งท้าย ]
มุมมองขององค์กรและพนักงานมักจะขัดแย้งกันอยู่เสมอ แต่การแก้ไขปัญหาด้วยการบังคับย่อมทำให้เกิดผลลัพธ์ 2 ฝั่ง ฝั่งที่รับได้ และ ฝั่งที่ตั้งคำถาม ในบางทีคนในฝั่วงที่ตั้งคำถามอาจจะเป็นกลุ่มคนที่เดินออกจากบริษัทไป
อย่างไรก็ตาม การทำงานใช้สิ่งที่น่าสนใจ หรือ สิทธิพิเศษในการจูงใจให้พนักงานกลับมาทำงานอาจจะเป็นกุญแจที่สำคัญของการบริหารองค์กรในยุคหลังจากโควิดก็ได้
เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์
Source: https://www.bbc.com/worklife/article/20230907-the-perks-and-incentives-coaxing-workers-back-to-the-office