“จงอย่าปล่อยให้ความกลัวขัดขวางความกล้าหาญของคุณ” บทเรียนจาก ‘Malala Yousafzai’ นักสิทธิมนุษยชนหญิงเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ

Share

“วันหนึ่งตอนอายุ 15 ปี ฉันและเพื่อนอีก 3 คน ถูกยิงโดยกลุ่มตาลีบัน ในขณะที่พวกเรากำลังเดินทางกลับบ้านจากโรงเรียน โชคดีที่พวกเราทุกคนปลอดภัย และนั่นทำให้ฉันยังยืนหยัดต่อสู้กับกลุ่มตาลีบันเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรีให้สามารถรับการศึกษาได้” Malala Yousafzai กล่าวใน Leadercast Live

[ ‘Malala Yousafzai’ บทเรียนจากผู้นำเยาวชนยุคใหม่ ]

‘Malala Yousafzai’ หญิงผู้ที่แอนโทเนีย โพซิ้ว อยากจะเป็น นักสิทธิมนุษยชนหญิงเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ ผู้ที่ต่อสู้กับกลุ่มตาลิบันเพื่อความต้องการที่จะเรียนหนังสือ 

เธอเกิดและโตในมินโกรา แคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน เป็นลูกสาวคนโตของนักเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษาและเจ้าของสถานศึกษาเอกชน Toor Pekai Yousafzai และ Ziauddin Yousafzai เธอชอบที่จะไปโรงเรียนกับผู้เป็นพ่อ ใช้ชีวิตอยู่ในแวดวงการศึกษาตั้งแต่จำความได้ จนกระทั้งการเข้ามาของกลุ่มตาลีบัน…

จุดเปลี่ยนนี้คือช่วงที่เธอมีอายุได้เพียง 10 ขวบเท่านั้น ตาลีบันยึดสิทธิของประชาชนไป ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การรับชมสิ่งบันเทิง หรือ การเล่นดนตรี เด็กผู้หญิงถูกสั่งห้ามไม่ให้ไปโรงเรียนอีกต่อไป 

“กลุ่มตาลีบันมีสิทธิอะไรที่มาพรากการศึกษาของฉัน?” เธอกล่าวผ่านรายการโทรทัศน์ของปากีสถาน ในปี 2009 เธอยกระดับการสื่อสารออกไปด้วยการเขียน ‘Blog’ ผ่าน BBC Urdu และเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษในภายหลัง เรื่องราวที่เธอบอกเล่าและสื่อสารออกไปถูกกลั่นออกมาจากฝันร้ายของสตรีภายใต้การปกครองของตาลีบันที่ถูกพรากสิทธิไปหมดสิ้น

“If we all want change, then who are we waiting for?” จงอย่ารอให้ใครสักคนมาเปลี่ยน เธอทำในสิ่งที่เธอต้องการคือการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องรอให้ใครมาทำ

เธอใช้เสียงในการยืนหยัดเพื่อเสรีภาพทางการศึกษาเพื่อสตรีและเด็กหญิงกว่า 130 ล้านคนทั่วโลก ตั้งแต่ที่เธอมีอายุได้เพียง 10 ขวบ ความมุ่งมั่นของเธอเต็มไปด้วยความหวาดกลัว ความรุนแรง และความอันตรายถึงชีวิต แต่ความกล้าหาญสั่งให้เธอยืนหยัดต่อสู่เพื่อความถูกต้อง

ผู้คนให้ความสนใจกับเธอมากยิ่งขึ้นพร้อมให้กำลังใจ ในปี 2011 เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล International Children’s Peace Prize และรางวัล National Youth Peace Prize ในปีเดียวกัน แต่สถานการณ์ในมินโกรากลับเต็มไปด้วยความตรึงเครียด กลุ่มตาลีบันไม่มีแม้แต่ความเห็นใจต่อข้อเรียกร้องทางการศึกษาของสตรี

นำมาสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ส่งผลให้เธอต้องเลือกระหว่าง “อยู่เงียบๆ กับชีวิตใหม่” หรือ “เปร่งเสียงออกมาอย่างกล้าหาญ”

เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ปี 2012 เธอมีอายุประมาณ 15 ปี ขณะที่เธอกำลังเดินทางกลับบ้านด้วยรถโรงเรียนกับเพื่อนอีก 3 คน

“ใครชื่อ Malala?” เป็นเสียงที่เปร่งมากจากชายปิดบังใบหน้า 2 คน เมื่อระบุตำแหน่งของเธอได้ ปลายกระบอกปืนก็หันไปยังทิศที่เธอนั่งอยู่และลั่นไกลทันที

“ศีรษะฝั่งซ้ายและคอของเธอถูกทะลวงด้วยกระสุนปืน” นี่คือผลลัพท์ที่เธอต้องพบเจอเมื่อเรียกร้องสิทธิทางการศึกษาให้กับสตรี ด้วยความโชคดี หรือ จิตใจอันมุ่งมั่น ไม่อนุญาตให้เธอตายในวันนั้น 

เธอได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทหารของปากีสถานในเมืองเปชวาร์ และถูกส่งต่อไปที่หอผู้ป่วยหนักในเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ การผ่าตัดผ่านไปได้ด้วยดี เธอได้รับชีวิตใหม่ ถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ

ระหว่าง “อยู่เงียบๆ กับชีวิตใหม่” หรือ “เปร่งเสียงออกมาอย่างกล้าหาญ”

ความกลัวไม่สามารถขัดขวางความมุ่งมั่นได้ เธอเลือกที่จะ “เปร่งเสียงออกมาอย่างกล้าหาญ” ต่อสู้เพื่อให้ได้รับมาซึ่งสิทธิทางการศึกษาที่ทุกคนควรได้รับ เป็นบทเรียนชีวิตของผู้นำเยาวชนยุคใหม่ที่ “จะไม่ยอมปล่อยให้ความกลัวขัดขวางความกล้าหาญของเธอ”

“There was fear, but I never let that fear overcome my courage. I let my courage win,”

ชีวิตใหม่ของเธอกับความกล้าหาญที่ชนะความกลัว ส่งผลให้เธอได้รับการสนับสนุนจากผู้คนทั่วทุกมุมโลก และพร้อมที่จะเดินทางเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน เพราะทุกๆ วินาทียังมีสตรีและเด็กหญิงที่เจ็บปวดจากการถูกริดรอนสิทธิอยู่

“This is our world, and we all are living here together, so it’s important that we think of each other,”

หลังจากที่เธอได้รับชีวิตใหม่ เธอเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีอย่างเต็มที่ เพราะการศึกษาควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้คนควรได้รับ ด้วยความพยายามอย่างเต็มที่ ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ ส่งผลให้เธอเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุน้อยที่สุด

“รางวัลนี้ไม่ใช่เพื่อฉันแค่คนเดียว แต่มันเพื่อเด็กผู้หญิงทุกคนที่ต้องการเข้าถึงการศึกษา และเรื่องราวของฉันมันเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงอีกหลายคน”


ชื่อเสียงจากรางวัลโนเบลเป็นหนึ่งเครื่องมือที่เธอใช้ในการประกาศจุดยืนต่อโลก ในประเด็นการศึกษาและสิทธิมนุษยชน เธอและพ่อได้ก่อตั้งองค์กรการกุศลชื่อว่า ‘Malala Fund’ เพื่อหวังว่าเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยผลักดันให้การศึกษาเข้าถึงทุกคน

“ถ้าสิ่งที่คุณทำมันถูกต้อง ก็จงต่อสู้เพื่อมัน” 

“Brave are the people who fight for what is true, what is just”

[ สรุป 4 บทเรียนที่ได้รับจาก ‘Malala Yousafzai’ ]

เป็นบุคคลที่น่านับถือทั้งด้านการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเข้มแข็งในจิตใจ เธอมีโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่เงียบสงบ แต่ความกล้าหาญและจิตวิญญาณนักสู้ของเธอมองเห็นความเจ็บปวดมากมายในโลกใบนี้ 

‘Malala Yousafza’ นักสิทธิมนุษยชนหญิงเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ และบทเรียนความเป็นผู้นำเยาวชนยุคใหม่ 

1.อย่าปล่อยให้ความกลัวขัดขวางความกล้าหาญของคุณ

2.อย่ารอให้ใครสักคนมาเปลี่ยนแปลง

3.คุณไม่ได้สู้อยู่คนเดียว มีอีกหลายคนที่สู้ไปพร้อมกับคุณ

4.สู้เพื่อความยุติธรรม

“I truly believe the only way we can create global peace is through not only educating our minds, but our hearts and our souls.” Malala Yousafzai

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์

Sources: หนังสือ The People เรื่องเล่า ‘คน’ เปลี่ยนโลก เขียนโดย ทีมนักเขียน The People สำนักพิมพ์ Loupe

https://www.nobelprize.org/prizes/peace/2014/yousafzai/biographical/