ในช่วงที่ผ่านมา เราคงได้เห็นข่าวบริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศปลดพนักงานครั้งใหญ่กันหลายแห่ง ด้วยเหตุผลหลากหลาย ไม่ว่าจะเพื่อลดต้นทุนขององค์กร หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างพนักงานให้ตอบรับลูกค้าได้ดีขึ้นก็ตาม
แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง การปลดพนักงานออกสักคนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทันที และอาจไม่คุ้มกับต้นทุนที่ประหยัดลงไป ที่สำคัญคือไม่ว่าจะปลดพนักงานออก หรือจ้างพนักงานใหม่ ล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่องค์กรต้องแบกรับ
ยิ่งในช่วงนี้ ธุรกิจต้องเจอกับปัจจัยกดดันมากมาย ทั้งจากผู้บริโภค และสภาพเศรษฐกิจ ที่ทำให้รายรับลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปรับลดรายจ่ายลงจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องทำเพื่อเดินหน้าต่อ แต่ต้องดูผลที่ตามมาด้วยว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจได้จริง (Cost Efficency)
วันนี้ Future Trends จึงอยากชวนมาดูกันว่าในกรณีที่จำเป็นต้องมีการปลดพนักงานออกเพื่อลดรายจ่ายลง การดำเนินการแบบไหนที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพ และทำให้ธุรกิจก้าวเดินไปข้างหน้าได้ต่อแบบไม่สะดุด
คำตอบหนึ่งที่อยากชวนมาดูกัน คือ การจ้าง ‘ฟรีแลนซ์’ เพราะอะไร? Future Trends ขอสรุปให้แบบนี้
ต้นทุนลดลง
เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้ว เพราะการจ้างฟรีแลนซ์นั้น คือการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นรายชิ้นงาน ต่างจากพนักงานประจำที่ธุรกิจต้องดูแลเงินเดือนของพวกเขา รวมไปถึงสวัสดิการต่างๆ ซึ่งหมายถึงต้องรับผิดชอบตลอดระยะเวลาที่พวกเขายังอยู่ในองค์กร ไม่ว่าพนักงานคนนั้นจะทำงานได้มากน้อยแค่ไหนก็ตาม
ไม่มีข้อจำกัดในการเลือกคนให้ ‘ตรงกับงาน‘
การเฟ้นหาพนักงานสักคนที่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรได้ครอบคลุมนั้นใช้เวลามหาศาล และมีค่าใช้จ่ายตามมาด้วยเช่นกัน การจ้างฟรีแลนซ์ จึงเป็นหนึ่งช่องทางที่ทำให้ธุรกิจสามารถเลือกคนทำงานให้เหมาะสมกับแต่ละโปรเจกต์ได้อย่างยืดหยุ่น ด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น
การสำรวจจาก Upwork กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ฟรีแลนซ์ในสหรัฐฯ มีศักยภาพ และทักษะในการทำงานสูงขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรม หรือให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ที่สำคัญ 58% ของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่อยู่ในงานประจำมองว่าอยากเริ่มรับงานอิสระกันมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ รายงานจาก Harvard Business School ยังกล่าวอีกว่า 40% ของธุรกิจที่ได้ทำงานร่วมกับฟรีแลนซ์ที่มีทักษะสูง สามารถนำสินค้าตัวใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และมีคุณภาพสูงขึ้น
คน Gen-Z และ Millennials ชอบเป็นฟรีแลนซ์ มากกว่าพนักงานประจำ
การสำรวจของ Deloitte ทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่คนทั้งสองกลุ่มชื่นชอบ และให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ‘ความยืดหยุ่น’ ในการทำงาน และการเป็นฟรีแลนซ์นั้นตอบโจทย์เป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเลือกได้ว่าจะรับงาน หรือไม่รับงาน และเลือกวันเวลาทำงานได้อย่างอิสระ
ในปี 2021 ทาง Business Wire ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคน Gen-Z ในสหรัฐฯ พบว่ากว่า 50% ของคนจำนวนนี้กำลังทำงานฟรีแลนซ์อย่างเต็มรูปแบบ และเมื่อดูย้อนกลับไปในปี 2016 เป็นต้นมา การเติบโตของจำนวนฟรีแลนซ์จะอยู่ที่ 0.6-4.2% ซึ่งหากอัตราการเติบโตนี้ยังคงที่ ในปี 2028 สหรัฐฯ จะมีคนทำงานฟรีแลนซ์ สูงถึง 90.1 ล้านคน
เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าในยุคนี้ คน Gen-Z และ Millennials นั้นเป็นกลุ่มกำลังซื้อหลัก การดำเนินธุรกิจโดยมีพวกเขาเป็นฟันเฟืองสำคัญ จะทำให้ธุรกิจสามารถเข้าใจ และตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น
เมื่อวันนี้การจ้าง ‘ฟรีแลนซ์’ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว
สำหรับที่ไทยเอง แม้แนวคิดแบบ Cost Efficiency จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การจ้างฟรีแลนซ์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าต่างประเทศ เพราะพื้นที่การว่าจ้างงานสำหรับฟรีแลนซ์โดยเฉพาะยังมีน้อยอยู่
Fastwork จึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ธุรกิจ และฟรีแลนซ์ได้คุยกันถึงจุดประสงค์ของงานได้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น แถมทาง Fastwork ยังมีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาในการเลือกจ้างฟรีแลนซ์จากทั้งหมดกว่า 150,000 คน จาก 100 หมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น งานเขียน งานกราฟิก หรือการเขียนโปรแกรม ให้เหมาะสมกับงาน และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ยังมีการรับประกันการจ้างงาน โดยเงินค่าจ้างจะได้รับความคุ้มครองจนกว่าจะได้งานที่พอใจจากฟรีแลนซ์
สำหรับฝั่งฟรีแลนซ์เอง สามารถยืนยันตัวตน และคุณภาพของผลงานกับทาง Fastwork ได้ด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความน่าเชื่อถือของตัวเอง เพื่อให้เข้าตาธุรกิจมากขึ้น
สำหรับ Fastwork จะทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนด้านทรัพยากรบุคลลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
Sources: https://bit.ly/3lez0jz