การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงหรือโอกาส การปรับตัวและการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าเท่านั้น ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
การปรับตัวและการพัฒนาโดยคำนึงถึง ‘ความยั่งยืน’ ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม คือกระบวนการในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนตลอดไป
การ Disrupt ครั้งใหญ่ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. อีกหนึ่งองค์กรระดับประเทศที่วางแผนกลยุทธ์และเดินหน้าสร้างสมดุลพลังงานอย่างยั่งยืน เป็นอย่างไร ไปดูกัน
ทำไมถึงต้องสร้างความยั่งยืน
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา องค์กรหลายแห่งให้ความสำคัญกับคำว่า ‘Sustainability’ หรือ ‘ความยั่งยืน’ มากขึ้น เนื่องด้วยการเล็งเห็นถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน รวมทั้งยังมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนนั้น จะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งต่อการช่วยเสริมสร้างให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง
เช่นเดียวกับ กฟผ. ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรระดับมหภาคที่ให้ความสนใจกับประเด็นด้านความเป็นอยู่ของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยการนำความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรับมือกับภาวะโลกรวนและวิกฤตพลังงาน
สำหรับการก้าวเข้าสู่ปีที่ 54 นี้ กฟผ. มุ่งตอบรับเทรนด์คาร์บอนเป็นศูนย์ ช่วยลดภาวะโลกรวนด้วยการเร่งเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่พึ่งพาทรัพยากรภายในประเทศ ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาสูง เน้นพลังงานสะอาด รวมถึงนโยบายส่งเสริมความยั่งยืนต่าง ๆ อาทิ โครงการ ‘Energy Solutions Provider’ ที่ประกอบไปด้วยธุรกิจรายย่อยหลายภาคส่วน ‘EGAT Carbon Neutrality’ โครงการสังคมปลอดคาร์บอนเพื่อรับมือวิกฤตพลังงาน หรือการมุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการพลังงานครบวงจรอย่างยั่งยืนในฐานะ ‘EGAT for ALL’ หรือ กฟผ. เพื่อทุกคน
‘Energy Solutions Provider’ เปิดกลยุทธ์สร้างความยั่งยืน พร้อมบริการพลังงานครบวงจรของ กฟผ.
ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแหล่งพลังงานกลายเป็นวิกฤตการณ์ด้านพลังงานโลกที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเตรียมรับมือ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel-Based Energy) เป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy) กฟผ. ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย ประกาศทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางวิกฤตพลังงานและทิศทางการเปลี่ยนผ่านของพลังงานโลก มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจร หรือ ‘Energy Solutions Provider’ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หลากหลายได้มากขึ้น ผ่านการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วย
1. EGAT EV Business Solutions ธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. สร้างการเปลี่ยนผ่านให้กับพลังงานและการคมนาคมของไทย ร่วมสร้างคุณภาพอากาศที่ดีให้กับคนไทย ลดการปล่อยคาร์บอน กับ 4 ผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่
- สถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT ที่ชาร์จไฟได้เร็ว แรง และปลอดภัย เพื่อให้บริการกับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการเดินทาง โดยเร่งขยายสถานีในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 120 สถานี ภายในสิ้นปีนี้
- Mobile Application Platform “EleXA” แอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในทุกขั้นตอนให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ตั้งแต่การค้นหา การจอง ชาร์จไฟ และการจ่ายเงิน ไม่ใช่เพียงเฉพาะผู้ให้บริการชาร์จไฟเฉพาะของ กฟผ. เท่านั้น แต่ยังรวมข้อมูลของผู้ให้บริการอื่น ๆ อีกด้วย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน
- เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า “EGAT Wallbox” และ “EGAT DC Quick Charger” EGAT Wallbox เป็น Home Charger ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สวยงาม และราคาเข้าถึงได้ ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานยุโรป เพื่อความสะดวกสบายสำหรับการชาร์จไฟที่บ้าน โดยมี Application Wallbox ที่สามารถบริหารจัดการการชาร์จไฟได้อย่างสะดวกสบายพร้อมฟังก์ชั้น Eco Smart สามารถเลือกใช้พลังงาน Green Energy มาชาร์จได้ ซึ่งแอปพลิเคชันนี้รองรับการใช้งานของธุรกิจได้อีกด้วย และตู้อัดประจุไฟฟ้า EGAT DC Quick Charger สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้
- ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN หรือ Backend EGAT Network Operator Platform” ที่เชื่อมโยงระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งระบบผลิตและส่งไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้า และผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เข้าด้วยกันซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการในภาพรวมเกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีเสถียรภาพ และมั่นคง ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐานและระบบวิเคราะห์ทางเทคนิค
2. LNG ธุรกิจจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลวของ กฟผ. ที่เร่งจัดหาและนำเข้า LNG แบบตลาดจร เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งยังเตรียมโครงการก่อสร้างคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งที่ 2 ของประเทศ เพื่อเป็นการขยายโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติและความมั่งคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว
3. บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด เป็นอีกหนึ่งธุรกิจของ กฟผ. ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีแห่งอนาคต หรือที่เรียกว่า ‘New S-curve’ อาทิ เทคโนโลยีการทำตลาดซื้อขายไฟฟ้า และการซื้อขายคาร์บอนเครคิต เป็นต้น
ขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยนโยบาย ‘EGAT Carbon Neutrality’
เพราะการที่จะไปสู่เป้าหมายสังคมปลอดคาร์บอนนั้น ต้องทำให้ครบกระบวนการ เพื่อสร้างระบบนิเวศของการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบาย ‘EGAT Carbon Neutrality’ ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ ‘Triple S’ เพื่อร่วมสร้างสังคมปลอดคาร์บอนให้กับประเทศและคนไทย ดังนี้
1. S-Sources Transformation
จัดการปัญหาตั้งแต่ต้นกำเนิดด้วยการกำหนดสัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายใต้โครงการหลักอย่าง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับเขื่อนพลังน้ำ (Renewable Energy) และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ การลงทุนพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเตรียมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและพลังงานทางเลือกที่สะอาด มาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในอนาคต (Future Technology)
2. S-Sink Co-Creation
ดูดซับเก็บกักคาร์บอนอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ผืนป่า ทั้งป่าชายเลน ป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ รวมทั้งยังมีแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอนที่เรียกว่า ‘ซีซียูเอส’ หรือ Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) อีกด้วย
3. S-Support Measures Mechanism
กลไกการสนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่ง กฟผ. ได้ดำเนินโครงการเพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าและช่วยหลีกเลี่ยงการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้ามาโดยตลอด อาทิ โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 การให้คำปรึกษาด้านพลังงาน และส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้น
‘EGAT FOR ALL’ ความยั่งยืนที่ได้กับคนไทย สังคมไทย
หากมองย้อนกลับ จะเห็นได้ว่า กฟผ. เป็นอีกหนึ่งองค์กรภาครัฐ ที่มีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าในการดำเนินงาน เพื่อพร้อมรับมือในทุก ๆ สถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อนจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาอุทกภัย ไฟป่า พายุ และแผ่นดินไหว ปัญหามลพิษทางอากาศอย่าง PM 2.5 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และแน่นอนพลังงานไฟฟ้า หนึ่งในพลังงานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของพวกเราทุกคน
กฟผ. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลรักษาความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘Carbon Neutrality’ ภายในปี 2050 ผ่านมาตรการหลักด้านการจัดหาแหล่งพลังงานต่างๆ เพื่อเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานสู่พลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นโครงการ ‘โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด’ (Hydro-Floating Solar Hybrid) พร้อมด้วยเทคโนโลยีไฮโดรเจน มาตรการหลักด้าน Sink ที่เข้ามาสนับสนุนในรูปแบบของการปลูกป่าล้านไร่ เทคโนโลยี CCUS หรือมาตรการ Support ที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจร พัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดควบคู่กับการสร้างสมดุลพลังงานภายใต้แนวคิด EGAT for ALL กฟผ. เป็นของคนไทยทุกคนและทำเพื่อทุกคน
Sources: https://bit.ly/2Cjoa2U