‘Cheerleader Effect’ แยกกันเราสวย แต่รวมกันเราสวยกว่า

Share

คุณเคยสงสัยไหม? ทำไมเราถึงรู้สึกว่ากลุ่มคนที่อยู่กันเป็นกลุ่ม ‘ดูดี’ กว่าการแยกกันอยู่ ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘Cheerleader Effect’ หรือ ปรากฏการณ์หน้าตาดีขึ้น เป็นการนิยามคนที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ว่าพวกเขามีหน้าตาที่ดูดีขึ้น

[ ‘Cheerleader Effect’ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาว่าด้วยความดูดี ]

จุดเริ่มต้นของ ‘Cheerleader Effect’ ไม่มีการระบุอย่างแน่ชัดว่าถูกคิดค้นขึ้นโดยผู้ใด แต่มีการคาดการณ์ว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลมาจากทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม (Social Comparison Theory) และทฤษฎีความดึงดูดใจทางสังคม (Social Attraction Theory)

ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม มีแนวคิดว่า “เรามักจะเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นเพื่อหาข้อดีหรือข้อเสียของตัวเอง ทำให้เมื่อเราเห็นกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันแล้วมีหน้าตาดี เราจะเปรียบเทียบกับตัวเองและมีความรู้สึกว่าตัวเองก็เทียบเท่ากลุ่มคนหน้าตาดีนั้นได้” ส่งผลให้เรามีความรู้สึกว่าหน้าตาดีขึ้นมา

ทฤษฎีความดึงดูดใจทางสังคม มีแนวคิดว่า “เรามักจะถูกดึงดูดด้วยคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรา เนื่องจากคนที่เหมือนกันกับเราจะชอบทำสิ่งอะไรเหมือนกัน ส่งผลให้พบเจอกันได้ง่าย และเมื่อคุณเห็นคนที่เหมือนกับตัวเองคุณจะมองว่าพวกเขามีสเน่ห์ที่น่าดึงดูด” 

จากทั้ง 2 ทฤษฎีนี้เป็นข้อสันนิษฐานว่าทำให้กำเนิด ‘ปรากฏการณ์หน้าตาดีขึ้น’ ขึ้นมา ซึ่งนิยามของมันก็ตรงตัวเลยคือปรากฏการณ์ที่เรารู้สึกว่ากลุ่มคนตรงหน้ามีความดูดี หน้าตาดี สวยหล่อ เมื่ออยู่รวมกัน มากกว่าการเดินแยกออกมาทีละคนสองคน

ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะมีรูปแบบที่หลากหลายหลักๆ 4 ลักษณะด้วยกัน 

รูปแบบที่ 1

คนในกลุ่มมีรูปร่างหน้าตาดี เป็นรูปแบบที่พบเจอได้มากที่สุดโดยนิยามของคำว่าหน้าตาดีไม่ได้หมายถึงเพียงแต่คำว่าหล่อสวย ที่เป็นบรรทัดฐานของสังคม แค่มีลักษณะหน้าตาที่สมส่วนก็สามารถสร้างปรากฏการณ์ได้

รูปแบบที่ 2

คนในกลุ่มมีบุคลิกภาพที่ดี เป็นรูปแบบที่พบเจอได้หากกลุ่มนั้นเขาแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ที่บ่งบอกถึงความมีบุคลิกภาพที่ดี เช่น ร่าเริง มั่นใจ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ก็จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่หน้าตาดีเช่นกัน

รูปแบบที่ 3

คนในกลุ่มมีการแต่งกายที่โดดเด่น การแต่งกายตามเทรนด์แฟชั่นที่เป็นอยู่ ณ ตอนนั้นก็สามารถสร้างโอกาสการเกินปรากฏการณ์ได้เช่นกัน

รูปแบบที่ 4

คนในกลุ่มมีการแสดงออกที่มั่นใจ อินเนอร์ความมั่นใจที่แสดงออกมาจากการยิ้มแจ่มใส เดินตรง เดินกระฉับกระเฉงเหมือนอยู่บนเวทีเดินแบบ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการเกิดปรากฏการณ์ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ตำแหน่งของคนในกลุ่มที่มีลักษณะทั้ง 4 แบบข้างต้นยังสามารถส่งเสริมความหน้าตาดีได้เพิ่มขึ้นไปอีก ถ้าเกิดว่าคนที่มีรูปร่างหน้าตาดี มีบุคลิกภาพที่ดี มีการแต่งกายที่โดดเด่น หรือมีการแสดงออกที่มั่นใจ อยู่ตรงกลางในกลุ่มเพื่อนจะส่งผลต่อปรากฏการณ์มากที่สุด แต่ถ้าคนๆ นั้นอยู่ริมซ้ายหรือริมขวา ปรากฏการณ์จะแสดงผลน้อยลงไปเรื่อยๆ

กล่าวคือ การจะสร้างปรากฏการณ์หน้าตาดีขึ้นได้นั้นต้องให้คนที่มีลักษณะตามทั้ง 4 แบบยืนอยู่ตรงกลางเป็น Center ของกลุ่ม เพื่อขยายรังสีความหน้าตาดีออกมาได้

นอกจากจะส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันแล้วปรากฏการณ์นี้ยังมีผลต่อ Marketing อีกด้วย

[ ‘Cheerleader Effect’ จิตวิทยาที่นักการตลาดต้องรู้ ]

ปรากฏการณ์หน้าตาดีขึ้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลักการตลาดได้ ด้วยเหตุผลที่แนวคิดต้นกำเนิดของปรากฏการณ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคมและทฤษฎีความดึงดูดใจทางสังคม ส่งผลให้มีผลกับจิตวิทยาการตลาดได้ในหลายรูปแบบ

การตลาดรูปแบบที่ 1

การใช้คนหน้าตาดีในโฆษณาสินค้าและบริการ เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ของศิลปินกลุ่ม(เพราะตรงกับเงื่อนไงปรากฏการณ์) นักการตลาดเชื่อว่าเมื่อผู้บริโภคเห็นความหน้าตาดีของกลุ่มคนนั้น มันส่งผลให้สินค้าและบริการที่ได้รับการโฆษณามีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น กรณีตัวอย่างของรูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดกับศิลปิน ไอดอล ที่มีกลุ่มแฟนคลับชัดเจน

การตลาดรูปแบบที่ 2

การจัดแสดงสินค้าคู่กับกลุ่มคนหน้าตาดี จะมีความคล้ายคลึงกันกับรูปแบบที่ 1 แต่ในรูปแบบนี้ไม่จำเป็นที่จำต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก็ได้ อาจจะใช้เพียงแค่คนหน้าตาดีคนเดียวแล้วล้อมรอบด้วยสินค้าเพื่อการขายและความดึงดูดอย่างชัดเจนได้เช่นกัน นอกจากความถึงดูดแล้วจะยังได้รับความน่าเชื่อถืออีกด้วย

การตลาดรูปแบบที่ 3

การใช้สีสันที่ตัดกันเพื่อดึงดูดความสนใจ เมื่อผู้บริโภคเห็นสีสันหรือการตกแต่งที่สดใสหรือสะดุดตา พวกเขามักจะมองว่าสินค้าและบริการนั้นน่าดึงดูดใจมากขึ้น

โดยภาพรวมแล้วปรากฏการณ์หน้าตาดีขึ้น นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการตลาดได้หลากหลายวิธี ซึ่งนักการตลาดมักจะใช้วิธีการเหล่านั้นในการขายสินค้าอยู่เป็นประจำ 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ‘Cheerleader Effect’ ผู้อ่านคนไหนเคยประสบพบเจอกับปรากฏการณ์นี้ด้วยตัวเองไหม หรือผู้อ่านอาจจะเป็นกลุ่มคนหน้าตาดีที่สร้างปรากฏการณ์นี้ก็ได้เช่นกันนะ เพราะฉนั้นแล้วอ่านบทความนี้จบก็นัดเพื่อนออกไปเดินให้โลกรู้ว่าเราคือ ‘กลุ่มคนหน้าตาดี’ 😀

เขียนโดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์

Sources: https://www.scientificamerican.com/article/the-cheerleader-effect/

https://theconversation.com/yes-the-cheerleader-effect-is-real-and-you-can-make-it-work-in-your-favour-92501

https://www.nature.com/articles/s41598-018-20784-5

https://tactics.convertize.com/definitions/cheerleader-effect

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/psychology-and-marketing/202110/using-the-cheerleader-effect-shine-social-media

https://www.verywellmind.com/what-is-the-social-comparison-process-2795872

https://study.com/academy/lesson/attraction-theory-definition-measurements-effects.html